ตำนานมหาฤาษี
วัดเขาไกรลาศ
๕๕๕ ม.๒ ต.บ้านโข้ง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ๗๒๑๖๐
(คาถาบูชาเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก)
*คาถาว่า...
"โอมฤฤา มหาฤฤา อิทธิฤทธิ มหาปรเมศวะโก ทิพจักขุง มหาไตรโลกานัง พุทธะอรหังอะ นะมะพะทะ
จะพะกะสะ ยะธาพุทโมนะ พุทธะ พุทโธ วิโสธายิ อิติ อิติ สุคะโต หุลุ หุลู สวาหายะ."
---องค์ฤาษีพรหมเป็นฤาษีชั้นสูงสุดใน ๗ ชั้นฤาษี มีอิทธิฤทธิ์ อิทธิเดช อำนาจมากมายมหาศาลตำราว่าเป็นพระพรหมแบ่งภาคลงมาบำเพ็ญบารมีจนได้บรรลุญาณ สมาบัติชั้นสูง อีกนัยหนึ่ง วรรณะพราหมณ์เป็นวรรณะสูงสุด จึงนับถือฤาษีชั้นครูที่มีอำนาจสูงสุดด้วยบารมี ของพระพรหมฤาษี จะครอบคลุมคุณธรรมหลักในพระพุทธศาสนาในตำนานสมุดสมเด็จได้กล่าว สรรเสริญคุณของพระพรหมฤาษีว่ามีมากมาย พรหมวิหารครบถ้วนสมบูรณ์ เมตตา กรุณา ของฤาษีพรหมบรมครู มีมากมายจนทนมองเหล่าพุทธศาสนิกชนผู้ที่เคารพศรัทธาองค์ท่านตกทุกข์ได้ยาก ย่ำแย่ ระกำ ช้ำทรวงไม่ได้ ด้วยฤทธิ์ที่สั่งสมมานาน
---นามขององค์เสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก ทรงโปรดระงับดับทุกข์ภัยอันตรายทั้งหลายให้สงบราบคาบลง เมื่อผู้นั้นมีสุขก็ยินดีช่วยให้ผาสุกยิ่งๆขึ้น เมื่อผู้นั้นจะพบเจอความเจริญก็ส่งเสริมให้ความเจริญงอกงามยิ่งขึ้น ปู่ฤาษีพรหมบรมครู ไม่มีผู้สร้างมากนัก เพราะเป็นฤาษีชั้นสูงสุด ผู้ไม่รู้ไม่มีวิชา ไม่มีบารมีที่เกี่ยวข้องกัน ไม่กล้าที่จะล้วงเข้าไปจัดสร้าง ท่านพระอาจารย์ชิติสรรค์ จิรวัฑฺฒโน (จักกภูมิ) วัดเขาไกรลาศ จัดสร้างฤาษีพรหม โดยใช้วัตถุอาถรรพณ์ตามตำรา อาทิ ดินโป่งฤาษีบนยอดเขาสามร้อยยอด, ผงมโนศิลาถ้ำอึมครึม, ดินถ่วงเสียงระนาด, ดินหน้าตะโพน, ข้าวสุกกลองยาว, ดิน ๗ หัวเมืองมงคลนามผงว่าน ๑๐๘ อย่าง และมวลสารอื่นๆอีกจำนวนมาก ได้จัดสร้างเป็นรูปพระฤาษีทรงเครื่องอันสวยงาม การจัดสร้างในครั้งนี้เป็นรุ่นแรก
*ตำนานพระฤาษี ตอนที่ ๑
---ปี พุทธศักราช ๒๕๕๐ หมายความว่า ศาสนาพุทธล่วงเลยมาแล้วถึง ๒๕๕๐ ปี นับว่าเป็นศาสนาที่เก่าแก่และมั่นคงมาก แม้ว่าเวลาที่ผ่านมาจะมีเหตุการณ์ต่างๆผันแปรทำให้ศาสนาพุทธสึกกร่อนลงไป บ้างแต่ปัจุบันศาสนาพุทธก็ยังเป็นศาสนาหนึ่งที่มีผู้คนนับถือมากมายและกระจายไปทั่วทุกมุมโลก ก่อนศาสนาพุทธยังมีศาสนาและลัทธิต่างๆอีกมากมายเช่น ศาสนาพราหมณ์ เป็นต้น
---ปัจจุบันศาสนาพุทธกับศาสนาพราหมณ์ใกล้ชิดสนิทสนมจนแทบจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกันเมื่อมี พิธีทางศาสนาพุทธ ก็จะต้องมีพิธีทางศาสนาพราหมณ์ร่วมด้วยทุกครั้งเพราะคน ไทยเราเก่งในการ ผนวก พระฤษีเป็นคำเรียกขานของคนที่บำเพ็ญเพียรด้วยความอุตสาหะ เป็นความเชื่อของคนว่าต้องการจะหลุดพ้นจากความทุกข์บ้าง ก็ต้องการที่จะสร้างฤทธิ์สร้างบารมี จึงเกิดมีลัทธิมีการตั้งตัวเป็น อาจารย์สอนศิษย์ให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักการ ที่วางไว้พระฤษี เป็นคำที่เรียกคนที่มีพลังจิตเด็ด เดี่ยวมุ่งปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จในอย่าง ใดอย่างหนึ่ง หรือหลายๆอย่าง เช่นสามารถเหาะเหินเดิน อากาศได้ มีวาจาสิทธิ์ และอีก มากมายบางท่านก็เก่งเรื่องยาสมุนไพรเช่น ปู่ชีวกโกมารภ้ทรซึ่งเป็น แพทย์ประจำพระองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็รวมเรียกท่านอยู่ในกลุ่มของฤษีเช่นกัน พระฤษี จัดคัดแยกเอาไว้ ๔ ชั้น หรือ ๔ จำพวก คือ
*ชั้น ที่ ๑ เรียกว่า ราชรรษี
---แปลว่า เจ้าฤษีชั้นนี้จะมีความเป็นอยู่ตามพื้นธรรมชาติคือมีความปกติเป็นพื้นฐาน เพียงแต่มีความริเริ่มและความพยายามที่จะบำเพ็ญเพียรในเบื้องต้นและปฏิบัติ อย่างต่อเนื่อง
*ชั้นที่ ๒ เรียกว่า พรหมรรษี
---แปลว่า พรพรหมฤษี เมื่อปฏิบัติเพียงพอกับความต้องการ ในเบื้องต้นแล้ว จึงได้ไปบังเกิดเป็น พระพรหม
*ชั้นที่ ๓ เรียกว่า เทวรรษี
---แปลว่า เทพฤษี ผู้ที่ปฏิบัติอย่างมุงมั่นด้วยตบะ จึงมีบารมีมาก พร้อมทั้งมี อิทธฤทธิ์และมีอำนาจมหาศาล
*ชั้นที่ ๔ เรียกว่า มหรรษี
---แปลว่า มหาฤษีชั้นนี้นอกจากมีอิทธิฤทธิ์ที่เกิดจากบารมีแล้ว ยังมีภูมิปัญญา มากมีอาคมแก่กล้าเป็นที่สุด
---เมื่อนำเอามาเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นชัดเจนว่าทั้ง ๔ ชั้น มีความสามรถไม่เหมือนกัน หรือไม่เท่ากัน แล้วแต่การปฏิบัติของแต่ละตนผู้ใดมีความมุ่งมั่นหมั่นเพียรและตั้งใจปฏิบัติ ทำ ได้เท่าใดผลก็จะส่งบุญก็จะบันดาล ให้ไปถึงขั้นนั้นๆ พระฤษีที่ปรากฏในวรรณคดีมีอยู่หลายท่านโดยมากมักเป็นฤษีที่ละจาก เรื่องทางโลกมุ่งสู่การบำเพ็ญบารมีเป็นที่นับถือแก่มนุษย์และเทพเทวดาทั่วไปยิ่งบำเพ็ญบารมีมากเท่าไรก็มีอำนาจวิเศษตามบารมีที่สั่งสมมามากขึ้นเท่านั้น ฤษีตามรากศัพย์ดูเหมือนจะแปลกันว่าเป็นผู้มีปัญญาอันได้มาจาก พระเป็นเจ้าตามพจนานุกรมฉบับมติชนปี ๒๕๔๗ ว่า ฤษี(รือ-สี) ผู้สละบ้านเรือนออกบำเพ็ญพรต ส่วนฤษีที่ปรากฎชื่อใน ทศฤาษี หรือที่เรียกกันว่าเป็น พระประชาบดี นั้นในมานวธรรม ศาสตร์กล่าวว่า มี ๑๐ ตน คือ
---๑.มรีจิ
---๒.อัตริ
---๓.อังคีรส
---๔.ปุลัสยตะ
---๕.ปุลหะ
---๖.กรตุ
---๗.วสิษฐ
---๘.ประเจตัส หรือ ทักษะ
---๙.ภฤคุ
---๑๐.นารท
*ตำนานพระฤาษี ตอนที่ ๒
---แต่บางตำรา