/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com
 

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

เลือกคู่อย่างไรดี

เลือกคู่อย่างไรดี

เลือกคู่อย่างไรดี







---คู่ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้คือชีวิตคู่ เมื่อเราตกลงใจแล้วว่าจะลองเล่นกับความรักดูสักครั้ง ขั้นต่อไปก็คือเราจะรักใคร และอย่างไร


---โบราณกล่าวไว้น่าฟังว่า “ปลูกเรือนผิดคิดจนเรือนทลาย มีคู่ผิดคิดจนตัวตาย” คำกล่าวนี้เป็นคำกล่าวที่สะท้อนถึงปัญหาอันรอบคอบมาก เพราะเมื่อเราเลือกคู่อย่างไร ลักษณะของคู่จะหล่อหลอมจิตใจเราให้เปลี่ยนไป วิถีชีวิตคู่จะเกิดขึ้นนับแต่นั้น เราจะไม่เป็นตัวของตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ จะมีความห่วงใย ความรับผิดชอบ ความผูกพัน การพึ่งพิงและข้อจำกัดของเสรีภาพ การผ่อนปรน การยอมปรับตัวตามกัน และการต้านหรือขัดแย้งกันมากมาย ตามแต่ลักษณะคู่ที่เราเลือกมา


---หากได้คู่ไม่ดี ชีวิตย่อมมีแต่เรื่องเลวร้าย นำความปวดร้าวมาให้


---ถ้าได้คู่ดี ก็ค่อยยังชั่ว แต่ก็ใช่ว่าจะราบรื่นตลอดไป เมื่อคนดีๆสองคนมาอยู่ด้วยกัน ยังต้องปรับมาตรฐานความดีของทั้งคู่ให้ลงตัวกันอีกขั้นหนึ่ง  จึงจะอยู่กันได้ หาไม่แล้วก็จะลักลั่นกันในมาตรฐานแห่งความดี จนอาจเป็นเกลียวกันและอยู่กันไม่ได้ซึ่งก็มีมาก


---ถ้าได้คู่ทั้งดีทั้งชั่ว ก็มักจะสนุก เจ็บๆ มันๆ คันๆ แสบๆ ทำนองนั้นแหละ


---แต่ไม่ว่าจะได้คู่อย่างไร ภาระทางใจ ทางกาย และหน้าที่ต้องเพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะแต่ก่อนตอนเราอยู่คนเดียว เราดูแลร่างกายและจิตใจของเราตามลำพัง ที่พระท่านเรียกว่าขันธ์ 5 อันได้แก่ร่างกาย ความรู้สึก ความทรงจำ ตัวตน และความรู้ของเราเพียง 5 ขันธ์นี้เท่านั้น ซึ่งแค่นี้ก็มักเอาไม่ค่อยอยู่แล้ว ครั้งมีคู่มาครองอีกคน ต่อไปนี้มิใช่รับผิดชอบขันธ์ 5 เพียงของตนเท่านั้น ต้องรับผิดชอบ 10 ขันธ์แล้ว ถ้ามีลูกหลานก็ต้องรับผิดชอบมากขึ้นเป็น 15 ขันธ์ 20 ขันธ์ หรือหลายสิบ หลายร้อยขันธ์ ตามขนาดของครอบครัว


---ดังนั้น เมื่อจะเลือกคู่ทั้งที มีความรักสักหน ก็ต้องดูกันให้พิถีพิถันกันหน่อย เพราะไม่อาจเลือกได้บ่อยๆนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเราตั้งใจจะมอบรักแท้ที่สะอาดและจริงใจให้ใครสักคน คู่ของเราก็ต้องสะอาด และจริงใจด้วย หาไม่แล้ว จะเกิดความไม่พอดี ความลักลั่น ไม่ลงตัว และความไม่เป็นธรรมนานา อันอาจก่อให้เกิดกรรมเลวตามมาได้อีกมากมาย


*ทุกคนต้องมีคู่หรือไม่...


---ต่อคำถามที่ว่าทุกคนต้องมีคู่หรือไม่


---คำตอบตรงๆ คือ ไม่จำเป็น


---ถ้าจะถามว่า แล้วควรมีหรือไม่


---คำตอบ คือ แล้วแต่จุดมุ่งหมาย


---บุคคลที่อยู่ในระดับสูงของวิวัฒนาการแล้ว และมีคุณสมบัติเป็นมนุษย์พิเศษจำนวนมากที่ไม่มีคู่ชีวิต เช่น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระกัจจายนะ พระรัฎฐปาล และพระราหุล เป็นต้น แต่บุคคลเหล่านี้จะมีคู่ธรรมแทน เช่นพระสารีบุตรเป็นคู่ธรรมกับพระโมคคัลลานะ จะเกิดด้วยกันเกือบทุกชาติ เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการปฏิบัติธรรม จนกระทั่งในชาติสุดท้ายได้สำเร็จอรหันต์ในตำแหน่งอัครสาวกด้วยกัน นับเป็นเพื่อนแท้อีกคู่หนึ่งในโลก หรืออย่างพระราหุลกับพระนางอุบลวรรณาเป็นคู่ธรรมกัน มักจะเกิดเป็นพี่น้องกันเกือบทุกชาติ เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลการปฏิบัติธรรมของกันและกัน นับเป็นพี่น้องที่ยืนยาวมากอีกคู่หนึ่งในโลก บุคคลเหล่านี้ท่านไม่นิยมคู่ชีวิตเพราะยุ่งยาก ไม่เป็นอิสระ ไม่เอื้อต่อความสงบ จึงมีคู่ธรรมแทน


---บุคคลที่ควรจะมีคู่คือผู้ที่บำเพ็ญเพียรเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า บุคคลเหล่านี้จะต้องฝ่าความระกำลำบากนานาประการ เป็นสัตว์ทุกชนิด เป็นมนุษย์ทุกประเภท เป็นเทวดาทุกภพทุกภูมิ เป็นพรหมทุกชั้น ต้องเคยอยู่เคยเป็นทุกอย่าง เพื่อจะได้รู้แจ้งแทงตลอดธรรมชาติอย่างโปร่งปรุ พระพุทธเจ้าเปรียบว่า ผู้บำเพ็ญเพียรเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าเสมือนคนที่เห็นทะเลกำลังเดือดแล้วประสงค์จะว่ายน้ำฝ่าทะเลเดือดเพื่อจะไปช่วยมหาชน ณ ฝั่งที่ยังมองไม่เห็น ใครมีความกล้าอุทิศตนถึงเพียงนี้ จึงบำเพ็ญเพียรเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าได้ และในการบำเพ็ญตลอดทางอันไกลกัลป์ดารยาวนานนั้น มักจะทรงเลือกคู่บารมี เพื่อจะคอยเกื้อกูลประคับประคองกันในการปฏิบัติธรรม หากจะถามว่าพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญเพียรอยู่นั้นกับคู่บารมีของพระองค์ มีทุกข์ระหว่างกันบ้างหรือไม่ ก็บอกได้เลยว่า มีมากกว่าคนธรรมดาด้วย เพราะความผูกพันอันยาวนานจะฝังรากลึก เวลาสมหวังก็ดีใจลึกๆ เวลาผิดหวังก็เสียใจร้าวลึกเช่นกัน แต่คนที่จะเป็นคู่บารมีได้จะต้องอุทิศชีวิตให้แก่กันและกันได้ และต้องมีอธิษฐานจิตกำกับทุกชาติไป ดังนั้นปัญหาที่จะเกิดขึ้นจึงมักถูกคลี่คลายโดยไม่ยาก


---แล้วคนทั่วไปละ ควรมีคู่หรือไม่ เรื่องนี้แล้วแต่จุดมุ่งหมายของแต่ละคน


---ถ้าท่านจะเอาดีเป็นผู้วิเศษ ก็ไม่ควรมี เพราะคู่จะบั่นทอนความผ่องใสของจิตใจของกันและกันระดับหนึ่งทีเดียว


---แต่ถ้าท่านจะเอาดีทางการปกครอง เป็นผู้นำของชุมชน การมีคู่ก็เป็นไปตามธรรมเนียมของโลก ที่ทำให้ท่านไม่เบี่ยงเบนจากสังคมจนเกินไป


---สำหรับมนุษย์โดยทั่วไปที่ไม่ได้อธิษฐานเป็นคู่กันตลอดกาล มักจะพานพบและมีความสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามแบบสับสน ชาติหนึ่งอาจจะเป็นคู่กับอีกคนหนึ่ง พออีกชาติก็ไปคู่กับอีกคนหนึ่ง ชาติอื่นก็อาจจะไปเป็นคู่ของคนอื่นอีกเรื่อยไป ต้องเริ่มต้นเรียนรู้ ทำความเข้าใจกันใหม่อยู่ร่ำไป ครั้งมาเจอคู่คนเก่าในชาติเดียวกันก็จะหลายใจ และมักมีปัญหาความสำส่อนตามมา อันเป็นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งสิ้น จึงทำให้เกิดคู่กัด คู่กาม คู่กรรมตามแต่กรณี


*ประเภทของคู่


---จากความสับสนในความสัมพันธ์และความสำส่อนของบุคคล ผู้ใดที่มิได้มีคู่แท้ถาวร ทำให้เกิดคู่ประเภทต่างๆมาพัวพันชีวิตกอปรกับ คู่ถาวรของบุคคลผู้ที่มีคู่บารมีหรือคู่ธรรม จึงทำให้จำแนกประเภทคู่ต่างๆออกได้ห้าประเภท คือ คู่กัด คู่กาม คู่กรรม คู่ธรรม และคู่บารมี



*คู่กัด


---คือคู่ที่ผูกใจเจ็บ อาฆาตพยาบาท หรือสาปแช่งกันไว้ คู่ประเภทนี้ บางทีก็มาเป็นแฟนกัน บางทีก็มาเป็นพี่น้องกัน บางทีก็มาเป็นเพื่อนกัน บางทีก็มาเป็นคนรู้จักกันในฐานะต่างๆ แต่ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะอะไร จะมีความอิจฉาริษยา การแข่งขัน กีดกัน และทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่เนืองๆ เช่น คู่พระพุทธเจ้ากับพระเทวทัตต์ คู่ประเภทนี้จะมีประโยชน์ประการเดียว คือ ช่วยให้เราฝึกความดีในท่ามกลางความชั่ว


---การแก้หรือขจัดคู่กันเสียได้โดยเด็ดขาดนั้น สามารถทำได้โดยต่างฝ่ายต่างต้องสำนึกถึงภัยของพยาบาทที่ทำลายความสุขและเป็นทุกข์ของทั้งคู่ แล้วละพยาบาท ถอนคำอาฆาตเสีย ขออภัยและให้อภัยแก่กันและกัน แล้วปรองดองกัน คือเปลี่ยนจากความเป็นศัตรูมาเป็นมิตรเสียนั่นเอง


*คู่กาม


---คือคู่ที่มีกามสัมพันธ์กันแบบสักแต่ว่าเสพกามกันไปไม่มีความผูกพันหรือเจตนาร่วมชีวิตกัน การมีคู่ประเภทนี้อาจเกิดขึ้นได้โดยกิจกาม เช่น การเที่ยวโสเภณี หรือพวกฟรีเซ็กซ์ทั้งหลาย คู่ประเภทนี้เมื่อเจอกันอีกในชาติใดๆ ก็จะมีใจกระสันเข้าหากัน แต่ไม่มีบุญหรือบาปมารองรับจึงไม่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง และมักเป็นคู่ที่เข้ามารบกวนและทำลายความสัมพันธ์ของคู่ที่แท้จริงเป็นระยะๆในลักษณะของคู่สัมพันธ์รูปแบบต่างๆ ซึ่งบางทีเป็นเหตุให้เสียคู่ที่แท้จริงไป หรือแม้ไม่สูญเสียไป ก็ทำให้อยู่กันไม่เป็นสุข เพื่อไม่ให้มีปัญหาแก่คุณค่าแห่งชีวิตคู่ จึงควรละคู่กามเสียให้สิ้น


*คู่กรรม


---คือคู่ที่ได้ทำบุญหรือบาปมาด้วยกัน ทำให้มีกรรมพัวพันกัน ต้องมาเกิดมีความสัมพันธ์กันในฐานะต่างๆ เช่น เป็นพ่อแม่ลูกกันบ้าง เป็นสามีภรรยากันบ้าง เป็นพี่น้องกันบ้าง เป็นคนรู้จักเกี่ยวข้องกันบ้างตามแต่กรณี ซึ่งในแต่ละชาติก็ไม่เหมือนกัน หมุนเวียนเปลี่ยนไป ผลัดกันเป็น เช่น ชาตินี้อาจเป็นแม่เป็นลูกกัน ชาติหน้าอาจกลับกัน เป็นลูกเป็นแม่กัน อีกชาติหนึ่งอาจเป็นศิษย์อาจารย์กัน ชาติถัดไปอาจเป็นเพื่อนกัน เป็นต้น


---คู่แบบนี้จะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับกรรมที่ร่วมกันทำมา ดังนั้นควรหมั่นทำดีกับทุกคนรอบข้าง และสร้างกรรมดีร่วมกัน โดยพยายามหลีกเลี่ยงการทำเลวต่อกันและไม่ร่วมกันทำกรรมเลวใดๆ ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายในชีวิตจะได้ดีต่อกัน ซึ่งจะเป็นการสานสร้างความสัมพันธ์อันอบอุ่น มั่นคงให้เกิดขึ้นได้


*คู่ธรรม


---คือคู่ที่ตั้งจิตอธิษฐานที่จะปฏิบัติธรรมร่วมกัน เกื้อกูลแก่กัน ซึ่งบางชาติอาจเกิดมาเป็นเพื่อนกัน บางชาติอาจเป็นพี่น้องกัน บางชาติอาจเป็นพ่อแม่ลูก บางชาติอาจเป็นอาจารย์กับศิษย์ บางชาติอาจเป็นสามีภรรยากัน ถ้าเป็นสามีภรรยากันก็จะมีความกันเองเสมือนเพื่อนกันมากกว่าจะเป็นสามีภรรยาทั่วไป แต่บางคู่แต่งงานกันแล้วไม่เสพกามกันเลยอยู่กันเป็นเพื่อนปฏิบัติธรรมกันไป ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่สะอาด คู่ประเภทนี้จะสนิทใจและวางใจซึ่งกันและกันมาก ไม่ทำร้ายทำลายหรือเรียกร้องอะไรจากกัน มีแต่จะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน


*คู่บารมี


---คือคู่ที่ตั้งจิตอธิษฐานที่จะบำเพ็ญบารมีร่วมกัน เผชิญสุขเผชิญทุกข์ด้วยกัน คอยประคับประคองกันให้ถึงเป้าหมายสูงสุดอันแสนไกล คู่บารมีจะมีลักษณะเป็นเพื่อนแท้ที่ยอมตายให้แก่กันและกันได้ มีความเสียสละสูง มีความถาวร จะพบกันเกือบทุกชาติไป บางชาติก็อาจได้อยู่ด้วยกัน บางชาติก็อาจมีปัญหาไม่ได้อยู่ด้วยกันตามแต่กรรม แต่ก็จะเกื้อกูลกันทุกชาติไป คู่ประเภทนี้จะมีความผูกพันกันล้ำลึก เข้าใจกันได้ดี ความรักของคู่ประเภทนี้จะสะอาด จริงใจ เชื่อถือได้ แต่ก็มีปัญหาเล็กๆน้อยๆบ้าง ตามประสาคนที่จิตยังไม่บริสุทธิ์


*การเสาะหาคู่


---เรื่องนี้เป็นเรื่องที่วัยรุ่นชอบคิดกันมาก จึงควรทำความเข้าใจให้ตรงว่า


---คู่ที่แท้จริงนั้นไม่ต้องเสาะหา กลไกกรรมจะนำมาเจอกันเอง หากพยายามเสาะหา มักจะได้คู่เทียมเสียเป็นส่วนใหญ่ ถ้าไปพัวพันกับคู่เทียมเพราะคิดว่าเป็นคู่แท้แล้วจะเสียใจภายหลังครั้นพบคู่ตัวจริงแล้ว แต่ตนพัวพัน แปดเปื้อน


---หรือหมดอิสรภาพเสียแล้ว อาจจะทำให้เสียโอกาสที่จะอยู่กับคู่ที่แท้จริง หรือหากแก้ปัญหาได้ และมาอยู่ด้วยกันได้ในที่สุด ก็จะไม่มีความสุขอย่างที่ควรจะเป็นเพราะความสัมพันธ์ระหว่างสองคนที่มีความพัวพันทางกามารมณ์และผลประโยชน์


---มาเกี่ยวข้องกันแล้วนั้นเสมือนการนำก้อนอิฐสองก้อนมาเชื่อมกันไว้ด้วยซีเมนต์ ครั้งต้องการกะเทาะอิฐทั้งสองนั้นให้แยกออกจากกัน ย่อมทำให้อิฐแตกไปบ้าง แม้แยกออกได้แล้วก็ย่อมมีคราบซีเมนต์มาเกาะบ้างเช่นเดียวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล


---ที่มีกามารมณ์และมีผล ประโยชน์ร่วมกันแล้ว ครั้งพยายามแยกออกจากกันย่อมทำให้ดวงใจร้าวชำรุดไปบ้าง เมื่อแยกจากกันได้แล้วย่อม ทำให้จิตใจสกปรกเลอะเทอะไปด้วยความทุกข์


---กรรมและอารมณ์อันไม่พึงปรารถนาบ้าง


---ซึ่งดวงใจที่ไม่สะอาดและไม่สมบูรณ์ย่อมไม่อาจสร้างความสัมพันธ์ให้สดใสสมบูรณ์ได้


---ดังนั้น การไม่ผลีผลามในเรื่องคู่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนที่ต้องการความสุขในชีวิตอย่างแท้จริง


---ดังนั้นไม่ควรคิดเสาะหาคู่ เพราะแค่คิดก็จะทุกข์แล้ว เมื่อปรารถนาก็จะเริ่มขาดความเชื่อมั่นในตน ความสดใสจะสูญหายไป


---ปล่อยให้เป็นไปตามกดไกเถิด เมื่อถึงเวลาแล้วจะเจอเอง


---ไม่ต้องกลัวหรอกว่าตนจะไม่มีคู่ ตั้งแต่เริ่มต้นวิวัฒนาการมาจากสัตว์เซลล์เดียว จนมาเป็นมนุษย์ ผ่านคู่มาแล้วกี่ล้านๆครั้ง คอยเลือกคู่ที่จะเข้ามาให้เหมาะสมกับตนแท้จริงก็แล้วกัน


*คู่ในความเป็นจริง


---หากเราหมดโอกาสที่จะเลือกแล้ว เพราะบังเอิญเลือกใครบางคนมาครองเสียก่อนหน้านี้แล้ว หรือแม้จะยังเป็นอิสระ แต่ก็ไม่สามารถหาคู่ที่เสมอกันในองค์ประกอบแห่งความผาสุกทั้ง 4 ประการนั้นได้สมบูรณ์ คู่ที่ได้มาหรือคู่ที่มาให้เลือกล้วนขาดๆเกินๆไม่พอดี ในกรณีนี้ควรจะทำประการใด


*ในกรณีเช่นนี้ก็ต้องมีกุศโลบายอันแยบคายดังนี้ คือ


---1.ย่อมรับความแตกต่างและเคารพซึ่งกันและกัน อย่าหมายให้เขาเป็นเหมือนเรา และอย่าพยายามบีบคนให้เหมือนเขา เมื่อเรายังไม่พร้อมจะเหมือนกัน


---2.บริหารความแตกต่างนั้นโดยหลักการปรับตัวและหลักการนำการตาม


*หลักการปรับตัว


---เมื่อเราได้คู่ที่มีคุณสมบัติประการใดประการหนึ่งเหนือเรา และคุณสมบัตินั้นเป็นคุณสมบัติที่ดี มีประโยชน์ต่อชีวิตและต่อความสัมพันธ์ เราควรปรับตัวและดูดซับคุณสมบัตินั้นให้เกิดในตนเสีย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่ตัวเราเองและต่อความสัมพันธ์ การปรับตัวนั้นมี 3 ขั้นคือ ระยะของความยินดี ระยะของการเรียนรู้ และระยะของการเลียนแบบ


---ในขั้นแรก เมื่อเราปรับตัวเพิ่มคุณสมบัติใดในตนให้มากขึ้นจนเสมอคู่ของเรา เราต้องปลูกฝังความยินดีในคุณสมบัตินั้นให้มากจนอยากที่จะเป็นอย่างนั้นบ้าง เรื่องนี้สำคัญมาก เมื่อคู่เรามีคุณสมบัติเด่นอย่างไร ต้องยินดีกับเขา มิใช่ว่าเมื่อเราคิดไม่เหมือนเขา บางครั้งก็พาลไปดูหมิ่นเขาเลย ถ้าทำเช่นนั้นนอกจากเราจะไม่ดีขึ้นแล้ว ความดีของเขาก็จะพลอยหดหายไปด้วย หรือหากเขารักคุณสมบัตินั้นๆของเขามาก เขาก็จะแยกทางไป เช่น ถ้าเขามีปัญญามาก คิดอะไรที่เราไม่เข้าใจ ก็ควรพยายามทำความเข้าใจและเห็นคุณค่าของเขา เพราะถ้าโลกไม่มีคนประเภทนี้แล้ว โลกจะไม่อาจก้าวหน้าได้เลย ถ้าเข้าใจไม่ได้ก็เฉย อย่าพูดดูแคลนในทำนองว่า คิดอะไรก็ไม่รู้สติเฟื่อง ไม่เห็นเข้าเรื่องเลย เป็นต้น การทำเช่นนี้จะมีแต่ผลเสีย


---เมื่อยินดีในคุณสมบัติที่ดีของเขาและปรารถนาที่จะมีคุณสมบัติเหมือนเขาแล้ว ขั้นที่ 2 ก็เฝ้าสังเกต เรียนรู้ว่าเขาเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร


---เมื่อรู้วิธีการแล้ว ขั้นที่ 3 คือทำตามเขา แล้วเราจะค่อยๆมีคุณสมบัติเหมือนเขามากขึ้นทุกทีๆจนเสมอกัน


---บางคนที่ชื่นชอบปรัชญาปัจเจกชนนิยม อาจจะคิดว่าให้คนเราแตกต่างกันนะดีแล้ว จะได้มองคนละมุม แต่แท้จริงแล้ว การมองได้ทุกมุมโดยครบถ้วนพร้อมๆกันเหมือนๆกันนั้นดีกว่าที่จะให้แต่ละคนบกพร่องไปคนละอย่าง พอรวมกันจึงจะสมบูรณ์ ถ้าเป็นเช่นนั้น สองคนนี้แยกกันเมื่อไร จะทำอะไรไม่ได้ดีเลย เสมือนดวงจันทร์ที่ขาดดวงอาทิตย์ ย่อมอับแสง จนปัญญาไม่กล้าตัดสินใจทำอะไรได้ แต่หากมีศักยภาพเสมอกันทั้งคู่ เมื่อใครคนใดคนหนึ่งไม่อยู่ อีกคนหนึ่งก็จะสามารถทำแทนได้อย่างเรียบร้อยเหมือนกัน ดังนั้นความสมบูรณ์พร้อมของทั้ง 2 คนย่อมนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เหมือนดวงอาทิตย์ 2 ดวงที่โคจรมาอยู่ด้วยกัน ฉันนั้น


---ดังนั้น เมื่อคู่ของเราสมบูรณ์ในเรื่องใด หรือมีคุณสมบัติใดดีกว่าเราก็ไม่ควรรีรอที่จะปรับตัวให้เสมอเขาให้ได้ เพราะคุณค่าประการหนึ่งของการมีชีวิตคู่คือการได้เรียนรู้จากกันและกัน และฝึกฝนให้กันและกันนั้นเทียว


---หลักการนำและการตาม เรื่องการนำและการตามนี้เป็นเรื่องประณีต ซับซ้อน และเป็นกลไกสัมพันธ์


---เมื่อคน 2 คนมาอยู่ด้วยกันโดยมีคุณสมบัติที่ดีไม่เสมอกัน โดยหลักการแล้วคุณสมบัติอันดีของใครเด่นในเรื่องใด อีกฝ่ายต้องยอมให้เขาเป็นผู้นำในเรื่องนั้น เช่นผู้ชายอาจจะเด่นในเรื่องการวางแผนครอบครัว ก็ให้เขาเป็นผู้นำในเรื่องนั้น ผู้หญิงก็เป็นฝ่ายตามหรือผู้หญิงเด่นในเรื่องการจัดการงานภายในบ้าน ก็ให้ผู้หญิงเป็นผู้นำในเรื่องนี้ ผู้ชายเป็นฝ่ายตาม เป็นต้น


---การนำนั้นคือการริเริ่ม สร้างสรรค์ สั่งสอน อำนวยการ  จัดกิจให้บังเกิดขึ้นจนบรรลุผลอันดี


---การตามนั้นคือการรับฟัง ยินดีด้วย ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ ส่งเสริมและปฏิบัติตาม


---นั่นคือตัวอย่างคุณสมบัติคู่เดี่ยว แต่ในความจริงนั้นคุณสมบัติของมนุษย์ละเอียด ลึกซึ้ง เราจะจำแนกได้อย่างไรว่าใครเด่น ใครด้อยในเรื่องใด ใครควรจะนำ ใครควรจะตามอย่างไร



---ในเรื่องนี้พระพุทธเจ้าได้ให้หลักไว้ว่า   การจะวินิจฉัยตนและคนอื่นให้ตรงตามเป็นจริงแล้วปฏิบัติต่อกันได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรมนั้น ต้องมีหลักการอันประเสริฐ 7 ประการ คือ


---1.รู้จักเหตุ


---2.รู้จักผล


---3.รู้จักตน


---4.รู้จักประมาณ


---5.รู้จักกาล


---6.รู้จักบริษัทหรือตระกูล


---7.รู้จักบุคคล


---การรู้จักเหตุ คือการรู้ว่าอะไรเป็นเหตุ เป็นองค์ประกอบปัจจัยให้เกิดสิ่งใดได้บ้าง เช่น อะไรเป็นเหตุของความรัก อะไรเป็นเหตุของความชัง อะไรเป็นเหตุของความสุข อะไรเป็นเหตุของความทุกข์ อะไรเป็นเหตุของความสำเร็จ อะไรเป็นเหตุของความล้มเหลว อะไรเป็นเหตุของการอยู่กันได้อย่างราบรื่น อะไรเป็นเหตุของความแตกแยกหย่าร้าง เป็นต้น


---รู้จักผล คือรู้ว่า การกระทำหนึ่งๆ ในเงื่อนไขหนึ่งๆ จะก่อให้เกิดผลอะไรบ้าง เช่น ถ้าเราจะสูบบุหรี่ในบ้าน จะเกิดอะไรขึ้นบ้างต่อตัวเรา ต่อฐานะเศรษฐกิจของครอบครัว ต่อสุขภาพของลูกเมีย ต่อทัศนคติของลูก ต่ออนาคตของลูก ต่อผลอื่นใดอันประดามีอีกในอนาคต


---รู้จักตน คือรู้ว่าเราเป็นใคร อยู่ในฐานะอะไร เกิดมาทำไม มีชีวิตอยู่เพื่ออะไร มีจุดเด่นอะไรบ้าง มีจุดด้อยอะไรบ้าง มีข้อจำกัดอย่างไร มีศรัทธา พฤติวัตร ความกล้าสละ และปัญญาแค่ไหน เป็นต้น ซึ่งวิธีการที่จะรู้จักตนเองได้ดีที่สุดคือการวิจัยจิตใจของตนด้วยสมาธิและวิปัสสนา


---รู้จักประมาณ คือรู้จักประมาณความเหมาะสมว่า แค่ไหนอย่างไรจึงพอดี เพราะการกระทำสิ่งต่างๆ อย่างเหมาะสมนั้นจะได้ผลดีที่สุด ถ้าเกินพอดี ไม่ว่ามากเกินไปหรือน้อยเกินไป ส่วนที่เกินไปนั้น จะให้ผลเสียเสมอ


---รู้จักกาล คือรู้ว่าอะไรควรทำก่อน อะไรควรทำหลัง ขณะนี้ควรทำอะไร ควรเว้นอะไร ควรพูดอะไร ไม่ควรพูดอะไร ควรคิดอะไร ไม่ควรคิดอะไร เป็นต้น


---รู้จักบริษัทหรือวงศ์ตระกูล เมื่อเราเกิดมาในระบบครอบครัว อยู่ในครอบครัวและกำลังจะสร้างครอบครัว ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กับครอบครัวจึงควรรู้จักวงศ์ตระกูลทั้ง 2 ฝ่าย หรือสังคมของทั้ง 2 ฝ่ายให้ดี เพราะวงศ์ตระกูลและสังคมรอบข้างล้วนมีอิทธิพลเหนี่ยวนำชักจูง หรือครอบงำบุคคลได้บ้างในระดับต่างๆกัน การรู้จักสังคมและตระกูลของเขาจะทำให้เราเข้าใจคู่ของเราดีขึ้น


---รู้จักบุคคล คือรู้จักคู่ของเราแจ่มแจ้งเลยว่าเป็นคนอย่างไร ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น มีจุดเด่น จุดด้อย ข้อที่เจริญ และข้อจำกัดอย่างไร มีอุปนิสัย รสนิยม ศรัทธา พฤติวัตร ความกล้าสละ และปัญญาอย่างไรแค่ไหน


---เมื่อประเมินสิ่งที่ควรประมาณทั้ง 7 ประการนี้ดีแล้ว บุคคลก็จะสามารถจัดสรรได้ว่า ตนควรจะวางตำแหน่งของตัวในฐานะผู้นำในเรื่องอะไรบ้าง และในฐานะผู้ตามในเรื่องอะไรบ้าง


---และถ้าไม่สามารถประเมินสิ่งที่ควรประมาณทั้ง 7 ประการนี้ได้อย่างเที่ยงตรง ต่างคนต่างคิดว่าตนถูก แล้วก็จะแย่งกันนำ จึงต้องอยู่ด้วยกันอย่างระหองระแหง ทะเลาะเบาะแว้งและอาจต้องแตกแยกกันในที่สุด หรืออีกประการหนึ่ง เมื่อประเมินไม่ได้  ประมาณไม่ถูก อาจจะไม่มีใครกล้านำ ต่างเกี่ยงงอนกัน พอมีเรื่องขึ้น


---ก็โทษกันไปโทษกันมา ทะเลาะเบาะแว้ง แตกแยกกันอีกเหมือนกัน สรุปแล้วเป็นทุกข์ทั้ง 2 กรณี ดังนั้นต้องประเมินให้ตรง ประมาณให้ถูก จึงจะวางตัวได้เหมาะสม


---และถ้าพอประมาณได้บ้าง แต่ไม่ชัดเจน เช่น บางนิสัยก็ดูผิดไป บางนิสัยก็ดูได้ถูก แต่จำเป็นต้องมาอยู่ด้วยกันแล้ว รอไม่ได้เพราะกรรมบีบคั้น หรือเพราะตัณหากำเริบก็ตาม จะทำอย่างไรจึงจะอยู่กันได้อย่างเหมาะสม


---ในกรณีอย่างนี้ควรพิจารณาธรรมชาติประจำเพศ เช่น ผู้ชายที่มีความเป็นชายเต็มตัว จะมีคุณสมบัติเด่นคือใจกล้าและใจกว้าง และหญิงที่มีความเป็นหญิงเต็มตัว  จะมีคุณสมบัติเด่นคืออ่อนโยนและพิถีพิถัน(คุณสมบัตินี้จะสมบูรณ์เฉพาะในชายจริงหญิงแท้เท่านั้น)


---เมื่อเป็นเช่นนี้ในเรื่องทั่วๆไปของการดำเนินชีวิตในเกือบทุกยุคทุกสมัย ในเกือบทุกสังคมของมนุษยชาติ และในทุกยุคทุกสมัยทุกสังคมของสวรรค์จึงให้ผู้ชายเป็นผู้นำในสังคมและผู้หญิงเป็นผู้ตาม และให้ผู้หญิงเป็นผู้นำในเรือนและผู้ชายเป็นผู้ตาม ก็พอจะไปกันได้ตามธรรมชาติของเพศ


---พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สามีที่ประเสริฐที่สุดคือสามีที่รับผิดชอบและภรรยาที่ประเสริฐที่สุดคือภรรยาที่ปรนนิบัติดี”


---ความรับผิดชอบของสามี และการปรนนิบัติดีของภรรยานั้น เป็นเหตุผลสัมพัทธ์ คือต่างเป็นเหตุและเป็นผลของกันและกัน กล่าวคือ หากสามีมีความรับผิดชอบดี  ภรรยาก็มีแนวโน้มที่จะปรนนิบัติดี และเมื่อภรรยาปรนนิบัติดี  สามีก็มีแนวโน้มที่จะรับผิดชอบสูง  ดังนั้น เมื่อมาอยู่ด้วยกันตามธรรมชาติของเพศแล้ว ไม่ควรเกี่ยงกันเป็นอันขาด ว่าเธอจงรับผิดชอบก่อนสิแล้วฉันจะปรนนิบัติดี หรือเธอจงปรนนิบัติดีก่อนสิแล้วฉันจะรับผิดชอบ  หาไม่แล้วจะเป็นปัญหาวนเวียนเหมือนไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน  แล้วก็จะไม่ได้เริ่มต้นสิ่งที่ดีๆร่วมกันสักที ดังนั้นต้องพร้อมใจกันทำ  โดยต่างรู้สำนึกและปฏิบัติหน้าที่ตามฐานะของตน


---เมื่อมีการนำ  และการตามอย่างเหมาะสมกลมกลืนอย่างนี้  ชีวิตคู่ย่อมดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน  ส่งเสริมกัน  เหมือนลูกศรที่พุ่งไปข้างหน้า  ย่อมได้ระยะแห่งความเจริญก้าวหน้าโดยลำดับ  โดยมีผู้ชายเป็นหัวลูกศรเป็นผู้แรกนำ แล่นไป  ผู้หญิงเป็นหางลูกศรเป็นผู้คอยประคับประคองให้ลูกศรนั้นแล่นตรง  มีพลังอำนาจทะลุทะลวง  และมีความสัมพันธ์อันกลมกลืน  ตรงไปตรงมาเป็นก้านศร ลูกศรใดหรือครอบครัวมีคุณสมบัติอย่างนี้ เป็นครอบครัวที่วิเศษ มีพลังร่วมมาก


---ย่อมก้าวสู่ความสำเร็จและเป็นสุขอย่างแน่นอน แต่หากผู้ชายไม่นำ ไม่รับผิดชอบ  มัวแต่จะคอยซุกปีกผู้หญิงหรือสำมะเลเทเมา 


---หมกมุ่นในการพนัน เอาแต่เที่ยวเตร่  หรือผู้หญิงไม่ตามประคอง มัวแต่ตำหนิ สั่งสอน พูดมาก  หรือจะแซงหน้าไปนำเอง  ความสัมพันธ์คู่ใดหรือครอบครัวใดกลับหัวกลับหางอย่างนี้  ก็เหมือนกับหัวลูกศรที่ทิ่มแทงเข้ามาหาตัวเอง  และหางลูกศรที่เข้ามาปัดปายไปทุกเรื่อง ภาวะเช่นนี้ นอกจากจะไม่มีการประสานรวมพลังกันแล้ว  ยังเป็นการบั่นทอน 


---ทำลายพลังซึ่งกันและกัน  ต่างก็ไม่พอใจในกันและกัน ไม่พอใจในตนเองและไม่พอใจในความสัมพันธ์  ความสัมพันธ์ก็จะไม่เป็นสุข  ไม่เจริญก้าวหน้า  มีแต่เรื่องต่อว่า กระแนะกระแหน  ด่าทอโทษกันไปโทษกันมา ซึ่งความสัมพันธ์แบบนี้ย่อมหายนะหรืออย่างน้อยที่สุดก็อยู่กันอย่างระทมขมขื่นแน่นอน


---ดังนั้น เมื่อเรายอมรับให้คู่ของเรานำในเรื่องใดแล้ว ก็ต้องให้เกียรติต่อความเป็นผู้นำของเขาในเรื่องนั้นๆ  อย่าไปขัดแย้งเขา เมื่อไม่เห็นด้วยก็ควรพูดคุยกันด้วยความอ่อนโยน  ขอทำความเข้าใจ และกระตุ้นความเห็นอกเห็นใจอันมีอยู่แล้วในทุกคู่มาใช้ให้เป็นประโยชน์


---เช่น ถ้าคู่ของเรากำลังคิดวางแผนเรื่องใดเรื่องหนึ่งในอนาคต  เช่น  วางแผนเรื่องการเงิน ฯลฯ แต่เราไม่เห็นด้วย  อาจจะเพราะเห็นว่ายังไม่ถึงเวลาอันควรหรือด้วยเหตุใดก็ตาม  ก็อย่าไปขัดแย้งหรือดูหมิ่นความคิดเห็นของเขา แต่ควรเสนอว่า เรามีความคิดเห็นอย่างไร โดยไม่เหมาว่าเขาต้องยอมรับความคิดเห็น


---ของเรา หรือใช้วิธีถามในประเด็นที่เขาลืมคำนึงถึงเพื่อให้เขาคิดได้เอง ก็จะเป็นประโยชน์ต่อเขามาก  และเขาก็จะเห็นคุณค่าของเรามากกว่าที่จะไปขัดแย้งเขาหรือทำเป็นสั่งสอนเขา (ศึกษาเพิ่มเติมในหัวข้อ “การบริหารความขัดแย้ง” จากหนังสือ “สุดยอดนักบริหารยุคโลกาภิวัตน์โดยผู้พรรณนาเดียวกัน”)


---พระพุทธองค์จึงทรงสอนว่าจะมีปฏิสัมพันธ์กับใครอย่างไร ให้ดูเหตุ ดูผล ดูคน ดูประมาณความเหมาะสม ดูกาล ดูหมู่คณะ และดูบุคคลให้ถ่องแท้ก่อน  จึงจะหากุศโลบายอันเหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคลได้


---หรือเมื่อคู่ของเรามีการสละอันยิ่งใหญ่  เมื่อเรารู้สึกว่าเกินพอดีไปและใจยังไม่กล้าสละของเขาก็อย่าไปขัดแย้งห้ามปรามเขา  เพียงแต่ขอเขาว่า  อันนี้ขอเราก่อนได้ไหม ด้วยความสัมพันธ์อันแนบแน่นของความเป็นคู่นั้น  เขาย่อมยินดีที่จะให้เราอยู่ด้วยความเต็มใจ


---แต่หากไปขัดแย้งก็จะถกเถียง บาดหมาง ไม่เข้าใจกัน หรืออาจทะเลาะเบาะแว้งกันและแตกแยกในที่สุด


---จำไว้ว่า เมื่อ 2 คนมาอยู่เป็นคู่กันเพิ่มเสริมแรงกันนั้น ควรดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน  ไม่ควรแย้งไปในทิศทางตรงกันข้าม เพราะจะทำลายกันและกัน เมื่อเห็นว่าเขาไปเร็วและแรงเกินไป ก็เพียงแต่ดึงหรือชะลอ เพื่อลดความเร็วโดยให้เขาคงแล่นไปในทิศทางเดิมเท่านั้น ถ้าขัดแย้งกัน ความสัมพันธ์จะยับเยินโดยไม่ได้ประโยชน์อะไร


---แล้วถ้าเราไม่เห็นด้วยเลยแม้แต่น้อยเล่า จะต้องตามๆกันไปไหม ในกรณีเช่นนี้ ควรประเมินเหตุ ประมาณผลร่วมกันให้ชัดเจนก่อน เมื่อมีการแจ้งเหตุ วิจัยผลโดยละเอียดแล้ว เหตุผลจะเป็นตัวบ่งชี้ความเหมาะสม  และจะปรับความต้องการของทั้งคู่มาลงตัวกันที่ผลอันพึงปรารถนาเอง


---แล้วถ้าเหตุผลต่างกันจนเป็นเหตุให้การประเมินและการประมาณสิ่งต่างๆอยู่บนคนละเกณฑ์ จนวิเคราะห์สิ่งต่างๆออกมาไม่เหมือนกันเล่า จะทำอย่างไรจึงจะอยู่กันได้


---ในกรณีเช่นนี้ หลักการสำคัญคือ ถ้าการกระทำนั้นๆเป็นการเบียดเบียนใจตนเองก็ไม่ควรตาม แต่ก็ไม่ควรต้าน ควรให้ผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนั้นๆเป็นผู้ตัดสินใจเอง  คู่มีหน้าที่เพียงเสนอข้อมูลและความคิดเห็นด้วยความปรารถนาดี อย่างมีมารยาท อย่าไปตัดสินใจแทนเขาถ้าเขาไม่ต้องการ  เพราะจะทำให้เขาขาดความเป็นตัวของตัวเอง และไม่เติบกล้า แล้วในที่สุดอยู่กันไปอยู่กันมาจะกลายเป็นเด็กไปทั้งคู่


*ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ใครเป็นผู้ตัดสินใจ คนนั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบในสิ่งที่ตนตัดสินใจ


---อย่าลืมว่าคู่ของเราก็คือมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งยังไม่สมบูรณ์ และต่างก็จะช่วยกันเรียนรู้ ฝึกฝน เสริมสร้างความสมบูรณ์ให้แก่กันและกัน  ดังนั้นบางครั้งถ้าเรียนรู้ด้วยเหตุผลไม่ได้ ก็ต้องเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลอง  ถ้าเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลองยังไม่ได้อีก ก็ต้องเข้าลองเรียนรู้ในของจริง  แม้จะต้องล้มเหลวและเจ็บปวดบ้างก็ต้องยอมรับ และฉลาดที่จะใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์นั้น


---ที่สำคัญที่สุด เมื่อคู่ของเราล้มเหลว อย่าดูหมิ่น เหยียบย่ำ ซ้ำเติม หรือกล่าวโทษเป็นอันขาด เพราะการจะดูว่าใครมิตรแท้มิตรเทียมนั้น จะวัดกันได้ชัดที่สุดก็ตอนประสบความล้มเหลวนั่นเอง  เมื่อล้มเหลวอยู่ใครที่มาประคองลุกขึ้น ให้กำลังใจและช่วยเหลือให้เริ่มต้นใหม่ นั่นแหละคือเพื่อนแท้  ซึ่งจะเป็นบุคคลที่ผู้ล้มซึ่งลุกขึ้นได้แล้วจะประทับใจไม่มีวันลืมและหากในขณะที่ล้มอยู่ ใครเหยียบย่ำซ้ำเติม หรือข้ามหัว ผู้นั้นคือมิตรเทียม ซึ่งไม่สามารถมาผูกมิตรกันได้อีก


---แท้จริงแล้วถ้าฉลาดเรียนรู้ การล้มนั้นคือเบื้องต้นของความสำเร็จ พระสัมมาสัมพุทธกกุสันโธเจ้าทรงสอนไว้ว่า ลองสังเกตดูเด็ก เมื่อเด็กหัดเดินใหม่ๆนั้น เขาจะล้มแล้วล้มอีก การล้มแต่ละครั้งทำให้เด็กเจ็บ ความเจ็บทำให้เด็กจำ ความจำทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ว่าเดินอย่างนั้นแล้วจะล้มและเจ็บ การเรียนรู้จะทำให้เขาหาวิธีใหม่ที่จะเดินได้โดยไม่ล้มด้วยความระมัดระวัง  จนกระทั่งเขาเดินได้คล่องแคล่วแข็งแกร่งในที่สุด


---จริงอยู่แม้คนที่กำลังมีคู่หรือจะมีคู่ ล้วนผ่านวัยเด็กมาแล้ว แต่สำหรับกิจกรรมแห่งชีวิตในโลกกว้าง ทุกคนต้องเริ่มต้นกันใหม่เนืองๆ ดังนั้นคู่ควรมีความเข้าใจ และใช้ประโยชน์จากความผิดพลาดนั้นพัฒนา


---ความสัมพันธ์และความเจริญก้าวหน้าแห่งชีวิต โดยการเป็นเพื่อนแท้อย่างแท้จริง  เพราะหากคู่ไม่อาจเป็นเพื่อนแท้ได้ในยามล้มเหลวแล้ว มนุษย์เราก็ไม่จำเป็นต้องมีคู่  หากเป็นคู่ได้เพียงยามประสบความสำเร็จแล้วก็ไม่ต่างอะไรกับเพื่อนเทียมอื่นๆ  เพราะในยามประสบความสำเร็จนั้น  ใครๆก็อยากมาเป็นเพื่อนกันมากมาย แต่จะหาเพื่อนแท้ได้ยากในยามนั้น


---มิตรแท้ที่ฉลาดนั้น จะช่วยเหลือคนในยามตกทุกข์ได้ยาก เพราะการช่วยเหลือนั้นจะมีความหมายต่อชีวิต จิตใจของเขาอย่างแท้จริง  และเขาผู้ลุกขึ้นได้แล้วนั้นแหละอาจจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่ในอนาคต ซึ่งต่างกับมิตรเทียมที่ชอบมาคบหา สนิทสนม เอาใจในยามรุ่งเรือง ซึ่งมักเป็นที่ระแวงแคลงใจ และไม่ได้รับความไว้วางใจเหมือนเพื่อนในยามทุกข์ยาก  แท้จริงแล้วความรุ่งเรืองของใครๆก็ไม่เที่ยง ผู้ที่กำลังรุ่งเรืองอยู่ อาจจะร่วงโรย หรือล่วงลับในอนาคตอันใกล้ก็ได้  ดังนั้นการช่วยมิตรในยามรุ่งเรืองนั้นจะได้ประโยชน์เฉพาะหน้า  และการช่วยมิตรในยามล้มเหลวนั้น จะได้ประโยชน์ตลอดไปแม้ในภายภาคหน้า คนฉลาดจึงควรช่วยทั้ง 2 กรณีอย่างเหมาะสมกับเหตุปัจจัยและเงื่อนไข


---สุดยอดของคู่สัมพันธ์ คือคู่ที่ลงตัวกันเสริมพลังกัน ประคับประคองกัน หากเขาช้าไปก็เร่ง หากเขาเร็วไปก็รั้ง เมื่อเขากล้าไปก็ดึง เมื่อเขากลัวไปก็ดัน เมื่อเขาล้มก็ประคองให้ลุก เมื่อเขาพุ่งก็พ่วงไปด้วย  แต่ตลอดกระบวนการนั้นจะไม่ขัดแย้งในทิศทางตรงข้าม ซึ่งเป็นการประจันหน้ากันอันจะทำให้ดวงใจแตกร้าวทั้งคู่


---การมีความรักกันนั้นไม่ยากเลย  แต่การหาคู่ที่ดีสักคนยากกว่าหลายสิบเท่า และการทำคู่ที่ดีนั้นให้ลงตัวกัน อยู่ด้วยกันได้โดยราบรื่นเป็นสุขนั้นยากกว่าหลายร้อยหรือหลายพันเท่า


---ดังนั้น การใช้ชีวิตคู่ให้ประสบความสำเร็จสุขนั้น จึงเป็นเรื่องที่ประณีต ลึกซึ้ง ต้องพิถีพิถันกันทุกความคิด ทุกคำพูด ทุกอิริยาบถ และทุกกริยาอาการเลยทีเดียว หาไม่แล้วจะต้องเผชิญกับความทุกข์อย่างแน่นอน


*หากเลือกคู่ผิดหรือคลาดจากคู่แท้จะทำอย่างไร


---โศกนาฏกรรมแห่งรักและชีวิตคู่ 2 ประการที่ปรากฏอยู่ในโลกเนืองๆ คือ การเลือกคู่ผิดและการคลาดจากคู่แท้ของตนซึ่งมักจะนำไปสู่ปัญหาต่อเนื่องและบานปลายได้มากมาย ถ้าเป็นเช่นนั้นควรมีหลักในการบริหารที่แยบคายก็จะพอได้ประโยชน์บ้าง


---เมื่อเลือกคู่ผิด คือดันไปเลือกคนที่ไม่ใช่คู่แท้แต่เป็นคู่กรรม หรือคู่กาม เอามาทำสามีภรรยา เพราะเหตุผลเฉพาะหน้าหรือเพราะสังคมยุแหย่ก็ตาม  พอมาทราบทีหลังว่าไปกันไม่ได้ก็สายไปเสียแล้ว  จะทำอย่างไรดี ก็ต้องเรียนรู้และทนกันเสียให้เข็ด


---แต่โศกนาฏกรรมจะเกิดขึ้นเมื่อมาพบคู่แท้ในภายหลัง โดยที่ตนติดอยู่ในกรงแล้ว จะสร้างความขมขื่นทรมานใจอย่างยิ่ง  ตัวอยู่กับคนหนึ่ง แต่ใจไปอยู่กับอีกคนหนึ่ง  กลายเป็นผีล่องหนอยู่ตลอดเวลา


---บางคนไม่รู้วิธีบริหารจัดการ ใจอาจเตลิดสร้างปัญหาในครอบครัว ทำให้ครอบครัวแตกแยกได้


---และบางคนโง่หนักมากขึ้นทำลายความสัมพันธ์กับคู่แท้ไปเลย ด้วยการพยายามมองในแง่ร้ายด้านเดียว  สร้างภาพร้ายๆเกี่ยวกับคนที่ตนรักและกล่าวร้าย  ชักชวนให้คนเห็นแต่ความชั่วร้ายของเขา เพียงเพื่อทำใจตัวเองให้ตัดใจให้ได้  ก็เป็นการสร้างกรรมหนักเช่นกัน  เพราะเป็นการกล่าวหาโดยไม่เป็นจริง  และทำให้สังคมแตกแยกด้วยความเข้าใจผิด จึงเกิดวิบากชั่วร้ายที่ตัวเองต้องรับ เช่น เมื่อบริสุทธิ์ใจกับใคร คนนั้นจะเกลียดชัง ล้มเหลวในชีวิต สูญเสียมหาศาลเช่นกัน


---ดังนั้นจะทำอย่างไรดี  ทำได้ 2 กรณีคือการป้องกันและการแก้ไข


---1.การป้องกันคือการอย่าเลือกคู่ผิด คู่ที่ดีที่สุดคือคู่คนเดียวตลอด อดีต ปัจจุบัน และอนาคตอันยาวนาน คู่ชั่วคราวทั้งหลายตัดทิ้งให้เรียบ  ชีวิตจะลดความเสี่ยงในเรื่องนี้ไปได้มาก


---และหากดันแต่งงานไปแล้ว และคู่ที่เลือกมานี้แท้หรือไม่แท้จะทำอย่างไร ง่ายนิดเดียว เก็บตัวซิจ๊ะ อย่าออกไปไหน อย่าพบใคร ทำงานร่วมกับสามีหรือภรรยาไป  ถ้าเก็บไม่มิดก็ต้องมีจรรยาบรรณกำกับ พระพุทธองค์ทรงแนะนำว่า


---อย่าเจอเพศตรงข้าม


---ถ้าจำเป็นต้องเจอ อย่าพูดด้วย


---ถ้าจำเป็นต้องพูด อย่าพูดเกิน 8 คำ


---ถ้าทำได้อย่างนี้ ก็ยังพอประคองตนในความปลอดภัยอยู่


---2.แต่ถ้าบุพเพอาละวาด ดันไปพบคู่แท้ภายหลังแล้ว มาตรการป้องกันที่กำหนดไว้กระเจิดกระเจิง  กระจุยกระจายเอาไม่อยู่ จะทำอย่างไร ก็ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน


---ปกติคู่แท้ย่อมดีกว่าคู่เทียมอยู่แล้ว แต่เมื่อเราอยู่ในโลก ย่อมต้องมีกติกาในการอยู่ด้วยกัน จะทำตามอำเภอใจไม่ได้  ดังนั้นการแก้ไขนั้นจะต้องไม่ทำร้ายน้ำใจคู่เทียมที่เราอยู่ด้วย และต้องไม่ทำร้ายจิตใจคู่แท้ที่พบกันภายหลัง


*วิธีการที่ดีคือถนอมใจทั้ง 2 ฝ่าย


---โดยให้อยู่ในฐานะที่เหมาะสม คู่ที่เป็นสามีภรรยาแล้ว ต้องรักษาฐานะนั้นไว้และซื่อสัตย์ต่อกัน  คู่แท้แม้มาทีหลังก็ควรยอมรับความจริงในความรักความผูกพันที่มีต่อกัน และอยู่ในฐานะอื่นที่เกื้อกูลกันเช่นความเป็นญาติ เพื่อน หรืออาจารย์ศิษย์ โดยต่างฝ่ายต่างก็เกื้อกูลกันทั้งระบบ โดยไม่ทำร้ายทำลายกัน  ถ้าทำได้อย่างนี้ก็มีความสุขด้วยกันทุกฝ่าย  ได้รักษาครอบครัวไว้ด้วย  ได้ใช้บุญบารมีที่สั่งสมมายาวนานกับคู่แท้ด้วย ได้รักษาระบบโลกและระบบธรรมด้วย จิตใจก็เป็นสุข ความสัมพันธ์ก็สร้างสรรค์ เพียงแต่ต้องบริหารใจตนเองอย่างชาญฉลาดและรัดกุม คนฝึกจิตมากจะทำได้ คนฝึกจิตมาน้อยจะทำยาก เมื่อคลาดจากคู่แท้ และหากเราไปพบคู่ของเราดันแต่งงานไปแล้วและไม่อยู่ในยุคสมัยหรือในสังคมที่จะมีหลายๆคนได้  ทำอย่างไรดี อยู่คนเดียวดีที่สุด


---ถ้าเราเลือกผิดก่อนเจอคู่แท้ ยังพอทำใจกันได้ ถ้าเจอคู่แท้แล้วดันไปเลือกคนผิดอีก สมควรถูกตัดหางปล่อยป่าช้าไป


---ดังนั้น ดีที่สุดคือบวช ก้มหน้าก้มตาวิปัสสนาความไม่เที่ยงแล้วอยู่คนเดียวไปตลอด หากบรรลุธรรม อาจจะถอนอธิษฐานแม้กับคู่แท้เลยก็ตามอัธยาศัย นับว่าก็ได้ความเจริญไปอีกด้าน


---การจะบรรลุธรรมยิ่งใหญ่นั้น หลายช่วงในกระบวนการพัฒนา เราต้องอยู่คนเดียวและมุ่งปฏิบัติธรรมจึงจะบรรลุได้ ดังนั้นหากชาติใดคลาดจากคู่แท้  ดีที่สุดคือถือโอกาสปฏิบัติธรรมให้เคร่งครัดเลยจะได้ประโยชน์ครบทุกด้าน


---เมื่อปฏิบัติธรรมได้ดีแล้ว ครั้นมาเจอกันชาติใหม่ก็ได้ยกระดับความสัมพันธ์ให้สูงขึ้น หรือเมื่อจิตใจเราสูงส่งแล้ว จะอธิษฐานไม่เจอเลย อยู่คนเดียวตลอดกาลเลยก็ได้


---ถึงตอนนั้น จะร้องเพลงครื้นเครงอยู่ในใจว่า “อยู่คนเดียวก็ได้สบายดี อยู่ 2 คนก็ดีสบายได้"





............................................................




ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 26 กันยายน 2558

 

Tags :

0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

*

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท09/04/2024
ผู้เข้าชม6,610,830
เปิดเพจ10,355,185
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

ติดต่อเรา-

view