/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

รู้เรื่องนิโรธสมาบัติ=นิโรธสกรรม

รู้เรื่องนิโรธสมาบัติ=นิโรธสกรรม
นิโรธสมาบัติ" และ "นิโรธสกรรม" แตกต่างกันอย่างไร










---คำว่า “นิโรธ” นั้น เป็นคำไวพจน์ของนิพพาน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัส หมายถึง พระนิพพานล้วน ๆ  เช่น อริยสัจ 4  ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค  นิพพานจึงเป็นกาลวิมุติ  คือ พ้นจากกาลทั้ง 3  เป็นขันธวิมุติ คือ พ้นจากขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


---ฉะนั้น คำว่า   “นิโรธ” จึงหมายถึง สมาบัติที่ จิต เจตสิก และจิตตชรูป ดับสนิท ตลอดเวลาที่ได้อธิฐานไว้  เป็นการดับชั่วคราว ซึ่งจะอยู่ในอิริยาบถเดียว คือ นั่งทำสมาธิตั้งแต่ปฐมฌาน จนถึง เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยไม่ไหวติง หรือขยับไปไหนได้ จนกว่าจะถึงระยะเวลาที่ได้อธิฐานจิตไว้


---ในปัจจุบันได้มีพระภิกษุจำนวนมาก แม้กระทั่งแม่ชี หรือที่อ้างว่าเป็นภิกษุณี นั้น ได้ทำพิธีเข้า  “นิโรธ”  ที่ผิดไปจากความเป็นจริง  เป็นการแสวงหาเงิน ทรัพย์สมบัติใส่ตัว มีการโฆษณาว่าจะเข้านิโรธวันนี้ หรือออกนิโรธวันนั้น ๆ ให้มาทำบุญทำทานกับพระอริยะผู้ได้ฌานสมาบัติ หากผู้ใดทำบุญกับพระที่ออกนิโรธแล้ว จะทำให้เป็นเศรษฐีกันในพริบตา เป็นต้น   โดยจัดพิธีส่งเข้าห้องกันอย่างครึกโครม  แท้จริงโดยไม่มีการเข้านิโรธได้ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด  เป็นแต่เพียงไปนั่ง ๆ นอน ๆ ในกุฎิ มีแอร์เย็นสบาย ดื่มน้ำได้ทุกชนิด แม้กระทั่งอาหารครบครัน รอถึงวันที่ได้กำหนดไว้ แล้วออกจากห้องอย่างอ้วนหมีพีมัน ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ราวกะว่า ไปสปามา


---ซึ่งหาดูได้ทาง Internet  ไม่ว่าจะเป็นเวป Youtube หรือ เวปลิงค์ของเจ้าสำนักนั้น ๆ


---เพื่อเป็นการเข้าใจเรื่องนี้  ในที่นี้จะกล่าวถึงความหมายของ “นิโรธ”  ที่เป็น “นิโรธสมาบัติ”  ที่เป็น “นิโรธสกรรม” มาพอสังเขป ดังนี้


*1.นิโรธสมาบัติ


---ในคัมภีร์พระอภิธรรม นิโรธสมาบัติวิถี คือ วิถีที่มีการดับของจิต เจตสิกและจิตตชรูป มี 1 วิถี  ดังนี้  ภฺ น ท ม ปริ อุ นุ โค ฌ ฌ – เจตสิกและจิตตชรูปดับ – ผ ภ ภ


---บุคคคลที่สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้นั้น ได้แก่ พระอนาคามี และ พระอรหันต์ที่ได้ฌานสมาบัติ 9 (คือ รูปฌาน 5 และอรูปฌาน 4)  ซึ่งอยู่ในกามสุคติภูมิ 7  และรูปภูมิ 15  (เว้นอสัญญสัตตภูมิ)  เท่านั้น


---พระอนาคามีหรือพระอรหันต์ที่จะเข้านิโรธสมาบัตินั้น ต้องเข้าฌานไปตามลำดับ ตั้งแต่ปฐมฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้


---การเข้าปฐมฌานถึงวิญญาณัญจายตนฌาน เมื่อออกจากฌานนั้น ๆ  แล้ว ต้องพิจารณาฌานจิต และเจตสิกที่ดับไปแล้ว โดยความเป็นไตรลักษณ์ทุกฌาน  หลังจากนั้น จึงเข้าอากิญจัญญายตนฌาน และเมื่อออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้ว ไม่ต้องเจริญวิปัสสนาเหมือนฌานก่อน ๆ  แต่ให้ทำบุพพกิจ 4 อย่าง เหล่านี้ คือ


---1.การอธิษฐานให้บริขารต่าง ๆ ของตนพ้นจากภัยอันตราย  (นานาพัทธอวิโกปนะ)


---2.การอธิษฐานให้ออกจากนิโรธสมาบัติได้ทันที เมื่อพระพุทธเจ้าต้องการพบตัว  (สัตถุปักโกสนะ) แต่สมัยนี้ ยกเว้นข้อนี้


---3.การอธิษฐานว่า เมื่อสงฆ์ประชุมกัน หากต้องการพบตัวข้าพเจ้าแล้ว ขอให้ออกจากนิโรธสมาบัติทันเวลาประชุม  (สังฆปฎิมานนะ)


---4.การอธิษฐานกำหนดเวลาเข้านิโรธสมาบัติ  (อัทธานปริจเฉทะ)


---ข้อนี้ควรพิจารณาตรวจดูชีวิตของตนด้วยว่าจะดำรงอยู่ได้ตลอด  7 วัน อันเป็นระยะเวลาที่เข้านิโรธสมาบัติหรือไม่ เมื่อตรวจดูแล้วทราบว่าจะอยู่ได้นานกว่านั้น ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด  แต่ถ้ามิอาจดำรงอยู่ได้ถึง 7 วันแล้ว หากบุคคลนั้นยังเป็นพระอนาคามีอยู่ ก็ไม่ควรเข้านิโรธสมาบัติ แต่ควรเจริญวิปัสสนากรรมฐานเพื่อบรรลุอรหัตตผลดีกว่า  หากบุคคลนั้นเป็นพระอรหันต์ ก็สมควรเข้านิโรธสมาบัติ


---แต่ต้องกำหนดเวลาเข้าให้น้อยลง โดยออกก่อนหน้าเวลาที่จะปรินิพพาน ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้มีโอกาสกล่าวอำลาเพื่อนสหธรรมมิกทั้งหลาย


---อย่างไรก็ตาม  บุพพกิจ 3 อย่างข้างต้นนั้น อาจจะไม่ต้องทำก็ได้ แต่สำหรับขอสุดท้าย (คือ อัทธานปริจเฉทะ) นั้น จำเป็นจะต้องทำเมื่ออยู่ในมนุสภูมิ  แต่ในรูปภูมิ ไม่ต้องทำบุพพกิจเลยก็ได้ ถ้าจะทำบ้างก็เพียงแต่อธิษฐานกำหนดเวลาเข้าเท่านั้น


---เมื่อทำบุพพกิจเหล่านี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานกุศล หรือกิริยา ตามสมควรแก่บุคคล  เนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็เกิดขึ้น 2 ขณะ  หลังจากนั้น จิตเจตสิกและจิตตชรูปก็ดับลง คงมีแต่กัมมชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูปเกิดอยู่  เป็นอันว่าสำเร็จการเข้านิโรธสมาบัติทุกประการ


**ส่วนการออกจากนิโรธสมาบัตินั้น


---มีความเป็นไปดังนี้ เมื่อครบกำหนดเวลาในการเข้านิโรธสมาบัติแล้ว  อนาคมิผลจิตหรืออรหัตผลจิต ย่อมเกิดขึ้น 1 ขณะ ตามสมควรแก่บุคคลแล้วก็ลงภวังค์


---เมื่อออกจากนิโรธสมาบัติ จิตขณะแรกที่เกิดเป็น ผลจิต (โลกุตตรวิบากจิต) มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าเป็นพระอนาคามีบุคคลก็เป็นอนาคามิผลจิต ถ้าเป็นพระอรหันต์บุคคลก็เป็นอรหัตตผลจิต


*2. นิโรธสกรรม


---ไม่มีบัญญัติไว้ในพระธรรมวินัย ไม่มีในพระไตรปิฏก หรือ ไม่มีในคัมภีร์พระอภิธรรม
 

---ซึ่งได้ให้ความหมายว่า เป็นการบูชา  ไม่ว่าจะบูชาต่อสิ่งใดๆ  ก็ได้  ถือเป็นการบิดเบือนความหมายที่แท้จริง ไม่มีการทำให้แจ้งต่อนิโรธแม้แต่น้อย และไม่มีการบัญญัติไว้ในที่ใด ๆ  ทราบเพียงแต่ว่า พระสาย “ครูบา”ต่าง ๆ ได้กระทำกันเป็นกิจวัตร  จนถึงแม่ชีผู้ที่อ้างตนเป็นภิกษุณี นุ่งห่มผ้าเหลือ ก็ยังสามารถทำได้ และได้ให้ความหมายว่า


---การเข้านิโรธสกรรม   3   วัน   เป็นการบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์


---การเข้านิโรธสกรรม   5   วัน   เป็นการบูชาพระพุทธเจ้า  5 พระองค์ คือ


---1.พระกกุสันธะสัมมาสัมพุทธเจ้า


---2.พระโกนาคมสัมมาสัมพุทธเจ้า


---3.พระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า


---4.พระศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า


---5.พระศรีอริยเมตไตรยสัมพุทธเจ้า


---มีพิธีกรรม คือ เข้าไปอยู่ในห้องที่ได้จัดเตรียมไว้เฉย ๆ  ไม่มีการทำสมาธิฌานตั้งแต่ ปฐมฌาน ถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน  และสามารถดื่มน้ำได้ มีน้ำนม น้ำหวาน น้ำผลไม้คั้นต่างๆ  บางคนมีการแอบฉันอาหารในห้องก็มี พอถึงวันที่กำหนดออกกรรม ก็จะมีการนัดโยมมาบริจาคถวายเงิน  โดยอ้างว่า หากใครถวายเงินในวันออกนิโรธสกรรมจะได้เป็นเศรษฐีร้อยล้าน จึงมีคนหลงเชื่อเข้าใจว่า เป็นอย่างนั้นจริง ได้สูญเสียเงินมาแล้วหลายล้าน ซึ่งเป็นการอ้างเลียนแบบตามที่พระอริยเจ้าผู้เข้านิโรธสมาบัติจริง ให้ผลทานแก่ผู้ถวายอาหารมื้อแรก

 
---ส่วนความเป็นมาของการเข้านิโรธสกรรม นั้น  มาจากพระสาย   “ครูบา” ซึ่งในยุคปัจจุบันกำลังเป็นที่แพร่หลาย  ในการยกระดับเทียบเท่ากับพระอริยบุคคล ชั้นพระอนาคามีและพระอรหันต์ ซึ่งได้อ้างตนว่า สามารถเข้านิโรธกรรมกันอย่างมากมาย จนได้รับสมญานามว่า เป็น “พระอริยะบุคคล” ชั้นต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องฝึกกรรมฐานแต่อย่างใด


---ซึ่งการกล่าวอ้างเช่นนี้ ย่อมเป็นอาบัติหนัก คือ การอวดอุตตริมนุสสธรรม มีคุณวิเศษ คือ ฌานสมาบัติ เป็นต้น อันไม่มีในตน ย่อมเป็นกรรมหนักที่สุด คือ ต้องอาบัติปาราชิก ซึ่งพระภิกษุใดที่อ้างดังกล่าว ถือว่าขาดจากความเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว

---การนำคำว่า "นิโรธ" มาใช้ในพิธีกรรมใด ๆ ก็ตาม  ย่อมมีความหมายเพียงหนึ่งเดียว คือ "การดับ"  ซึ่งก็คือ  การเข้าถึงนิพพาน นั่นเอง  ไม่ว่าจะเป็นการดับชั่วคราว คือ การเข้า "นิโรธสมาบัติ" จริง หรือ การเข้า "นิโรธสกรรม" คือ การเข้าสมาบัติปลอม ก็แล้วแต่ตามจะนึกคิด ย่อมหมายถึง "การเข้าสู่แดนแห่งพระนิพพาน" นั่นเอง


---ดังจะเห็นได้ว่า นิโรธสมาบัตินั้น ถ้าภิกษุใดสามารถเข้านโรธสมาบัติได้ นั่นแสดงว่า ท่านเป็นพระอริยะบุคคล ชั้น พระอนาคามี หรือ พระอรหันต์ ผู้ได้สมาบัติ 9 ผู้ใดได้ถวายอาหารมื้อแรกกับท่าน จะได้รับอานิสงส์ผลบุญมหาศาล แม้ปรารถนาสิ่งใดก็จะสมปรารถนากันในชาตินี้เทียว


---ส่วน นิโรธสกรรม นั้น ถ้าภิกษุใดอ้างว่าได้เข้านิโรธสกรรมได้ นอกจากจะไม่มีคุณวิเศษใด ๆ ในตัวเองแล้ว ยังเป็นการอวดอุตตริมนุสสธรรม ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว  เป็นผู้ที่ตัดคอตัวเอง ไม่มีสิทธิบรรลุมรรค ผล นิพพานในชาตินี้ ถือว่าเป็น “ภิกษุตาลยอดด้วน”  ย่อมไม่มีความงอกเงยขึ้นมาอีก ผู้ใดได้ถวายทานไม่มีอานิสงส์ใด ๆ เลย ไม่ว่าชาตินี้ ชาติหน้า


---จึงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับพระพุทธศาสนาเรา ที่ต้องแก้ไขห้ามปรามอย่างรีบด่วน  ซึ่งหากปล่อยไว้ ไม่เพียงจะทำให้พระพุทธศาสนาต้องมัวหมองกับการประพฤตินอกรีต อันขัดต่อพระธรรมวินัยแล้ว ยังมีการถือปฏิบัติที่อวดเอาฌาน เอาความเป็นพระอริยะบุคคล มาใส่ตัวอย่างไม่เกรงกลัวต่อบาป  ทั้งที่ไม่มีการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแม้แต่น้อย  พิจารณาเถิด...


---ขอน้อมจิต :  ขอขมาคุณท่านพระครูบาที่ล่วงลับไปแล้ว ผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบในการดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา มา ณ ที่นี้ด้วยครับ.


---เพื่อธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาให้ยาวนาน จึงต้องแจ้งแนวข้อปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ให้เกิดความสมบูรณ์มิคลาดเคลื่อน.


*อ้างอิง: จากพระอภิธรรม ว่าด้วยเรื่องนิพพานเป็นปรมัตถ์  นิโรธสมาบัติ


---ธรรมบท ประวัติพระอสีติมหาเถระ


---มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหาเวทัลลสูตร


---วิสุทธิมัคค์ ปัญญาภาวนา สังสนิทเทส


---มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค จูฬโคสิงคสาลสูตร.



...............................................................







ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 26 กันยายน 2558

แก้ไขแล้ว ป.

Tags :

0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

*

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท20/04/2024
ผู้เข้าชม6,652,022
เปิดเพจ10,410,630
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

ติดต่อเรา-

view