ประเพณีก่อเจดีย์ทราย
---ประเพณีก่อเจดีย์ทรายของชาวหลวงพระบาง ราชอาณาจักรลาว ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง
---ประเพณีก่อเจดีย์ทราย เป็นประเพณีสำคัญประเพณีหนึ่งในช่วงเทศกาลของชาวไทย ประเพณีนี้มีที่มาจากหลักฐานใน พระไตรปิฎก ที่กล่าวพรรณาถึงอานิสงส์ที่พระโพธิสัตว์ก่อพระเจดีย์ทรายเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
---ในประเทศไทยนั้น ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายถือว่าเป็นประเพณีหนึ่งที่มีที่มาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดย ตรง โดยคนไทยผูกโยงประเพณีนี้เข้ากับคติความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนา มีการก่อพระเจดีย์ทรายถวายวัดเพื่อนำเศษดินทรายที่ติดเท้าออกจากวัดไปมาคืน วัดในรูปพระเจดีย์ทราย และเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาให้เป็นกุศลอานิสงส์ และนอกจากประเพณีเพื่อเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังเป็นกุศโลบายของคนในอดีตให้มีการรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อร่วมกันจัด ประเพณีรื่นเริงเป็นการสังสรรค์สร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย
---ปัจจุบันประเพณีนี้พบเพียงในประเทศไทยและลาวเท่านั้น โดยจัดในช่วงเทศกาลสำคัญเป็นการเฉลิมฉลองการเปลี่ยนศักราช เช่นในวันตรุษและวันสงกรานต์ เป็นต้น โดยในบางหมู่บ้านอาจเป็นประเพณีบุญคูนลาน บุญขวัญข้าว (ก่อเจดีย์ข้าวถวายเป็นพุทธบูชา)ก็อาจนับว่าเป็นประเพณีก่อเจดีย์ทรายได้เช่นเดียวกัน เพราะไม่ได้สร้างเป็นพุทธศาสนสถานถาวรวัตถุใหญ่โต แต่เป็นเพียงเจดีย์ชั่วคราวเพื่อมุ่งถวายเป็นพุทธบูชาในการประเพณีหนึ่ง ๆ เท่านั้น
*ประเพณีก่อเจดีย์ทรายคืออะไร
---ประเพณีก่อเจดีย์ทราย เป็นประเพณีสำคัญประเพณีหนึ่งในช่วงเทศกาลของชาวไทย ประเพณีนี้มีที่มาจากหลักฐานใน พระไตรปิฎก ที่กล่าวพรรณาถึงอานิสงส์ที่พระโพธิสัตว์ก่อพระเจดีย์ทรายเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในประเทศไทยนั้น ประเพณี ก่อพระเจดีย์ทรายถือว่าเป็นประเพณีหนึ่งที่มีที่มาเกี่ยวข้องกับพระพุทธ ศาสนาโดย ตรง โดยคนไทยผูกโยงประเพณีนี้
---เข้ากับคติความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนา มีการก่อพระเจดีย์ทรายถวายวัดเพื่อนำเศษดินทรายที่ติดเท้าออกจากวัดไปมาคืน วัดในรูปพระเจดีย์ทราย และเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาให้เป็นกุศลอานิสงส์ และนอกจากประเพณีเพื่อเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังเป็นกุศโลบายของคนในอดีตให้มีการรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อร่วมกันจัด ประเพณีรื่นเริงเป็นการสังสรรค์สร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย
---ปัจจุบันประเพณีนี้พบเพียงในประเทศไทยและลาวเท่านั้น โดยจัดในช่วงเทศกาลสำคัญเป็นการเฉลิมฉลองการเปลี่ยนศักราช เช่นในวันตรุษและวันสงกรานต์ เป็นต้น โดยในบางหมู่บ้านอาจเป็นประเพณีบุญคูนลาน บุญขวัญข้าว (ก่อเจดีย์ข้าวถวายเป็นพุทธบูชา)ก็อาจนับว่าเป็นประเพณีก่อเจดีย์ทรายได้ เช่นเดียวกัน เพราะไม่ได้สร้างเป็นพุทธศาสนสถานถาวรวัตถุใหญ่โต แต่เป็นเพียงเจดีย์ชั่วคราวเพื่อมุ่งถวายเป็นพุทธบูชาในการประเพณีหนึ่ง ๆ เท่านั้น
*ปุฬินุปปาทกเถราปทานที่ ๗
---ว่าด้วยผลแห่งการก่อเจดีย์ทราย
---เราเป็นดาบสชื่อเทวละ อาศัยอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์ ที่จงกรมของเราเป็นที่อันอมนุษย์ เนรมิตให้ ณ ภูเขานั้น ครั้งนั้นเรามุ่นมวยผมสะพายคนโทน้ำ เมื่อจะแสวงหาประโยชน์อันสูงสุด ได้ออกจากป่าใหญ่ไป ครั้งนั้น ศิษย์ ๘,๔๐๐๐คน อุปัฏฐากเรา เขาทั้งหลายขวนขวายเฉพาะกรรมของตนอยู่ในป่าใหญ่ เราออกจากอาศรมก่อพระเจดีย์ทรายแล้วรวบรวมเอาดอกไม้นานาชนิดมาบูชาพระเจดีย์นั้นเรายังจิตให้เลื่อมใสในพระเจดีย์นั้นแล้ว เข้าไปสู่อาศรม พวกศิษย์ได้มาประชุมพร้อมกันทุกคนแล้วถามถึงความข้อนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ สถูปที่ท่านนมัสการก่อด้วยทราย แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็อยากจะรู้ ท่านอันข้าพเจ้าทั้งหลายถามแล้วขอจงบอกแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย.
---เราตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีพระจักษุ มียศใหญ่ ท่านทั้งหลายได้พบแล้วในบทมนต์ของเรามิใช่หรือ เรานมัสการพระพุทธเจ้าผู้ ประเสริฐสุดมียศใหญ่เหล่านั้น. ศิษย์เหล่านั้นได้ถามอีกว่า พระพุทธเจ้าผู้มีความเพียรใหญ่รู้ไญยธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำโลกเหล่านั้น เป็นเช่นไร มีคุณเป็น อย่างไร มีศีลเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าผู้มีพระยศใหญ่เหล่านั้นเป็น ดังฤา.
---เราได้ตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระมหาปุริสลักษณะ๓๒ ประการ มีพระทนต์ครบ ๔๐ ทัศ มีดวงพระเนตรดังตาแห่งโคและเหมือนผลมะกล่ำ อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเมื่อเสด็จดำเนินไป ก็ย่อมทอดพระเนตรดูเพียงชั่วแอก พระชานุของพระองค์ไม่ลั่น ใครๆ ไม่ได้ยินเสียงที่ต่อ อนึ่ง พระสุคตทั้งหลาย เมื่อ เสด็จดำเนินไป ย่อมไม่รีบร้อนเสด็จดำเนินไป ทรงก้าวพระบาท เบื้องขวาก่อน นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นผู้ไม่หวาดกลัว เปรียบเหมือนไกรสรมฤคราช ฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่ทรงยกพระองค์และไม่ทรงข่มขี่สัตว์ทั้งหลาย
---ทรงหลุดพ้นจากการถือตัว และดูหมิ่น ท่านเป็นผู้มีพระองค์เสมอในสัตว์ทั้งปวง พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่ทรงยกพระองค์ นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และพระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อเสด็จอุบัติขึ้นพระองค์ทรงแสดงแสงสว่าง ทรงประกาศวิการ ๖ ทั่วพื้นแผ่นดินนี้ทั้งสิ้นทั้งพระองค์ทรงเห็นนรกด้วย ครั้งนั้น ไฟนรกดับ มหาเมฆยังฝนให้ตก นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มหานาคเหล่านั้น เป็นเช่นนี้ พระพุทธเจ้าผู้มียศใหญ่เหล่านั้น ไม่มีใคร เทียมเท่า พระตถาคตทั้งหลาย เป็นผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ ใครๆไม่เกินพระองค์ไปโดยเกียรติคุณ.
---ศิษย์ทุกคนเป็นผู้มีความเคารพ ชื่นชมถ้อยคำของเรา ต่างได้ปฏิบัติเช่นนั้น ตามสติกำลัง พวกเขามีความเพลิดเพลินในกรรมของตน เชื่อฟังถ้อยคำของเรา มีฉันทะอัธยาศัยน้อมไปในความเป็นพระพุทธเจ้า พากันบูชาพระเจดีย์ทราย ในกาลนั้น เทพบุตรผู้มียศใหญ่ จุติจากชั้นดุสิต บังเกิดในพระครรภ์ของพระมารดา หมื่น โลกธาตุหวั่นไหว เรายืนอยู่ในที่จงกรมไม่ไกลอาศรม ศิษย์ทุกคนได้มาประชุมพร้อมกันในสำนักของเรา ถามว่า แผ่นดินบันลือลั่นดุจโคอุสภะ คำรนดุจมฤคราช ร้องดุจจระเข้ จักมีผลเป็นอย่างไร.
---เราตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดที่เราประกาศ ณ ที่ใกล้พระสถูปคือกองทราย บัดนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีโชค เป็น ศาสดา พระองค์นั้น เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว.เราแสดงธรรมกถาแก่พวกศิษย์เหล่านั้นแล้ว กล่าวสดุดีพระมหามุนีส่งศิษย์ของตนไปแล้ว นั่งขัดสมาธิ ก็เราเป็นผู้สิ้นกำลังหนอ เจ็บหนัก ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทำกาลกิริยา ณที่นั้นเอง ครั้งนั้น ศิษย์ทุกคนพร้อมกันทำเชิงตะกอนแล้ว ยกซากศพของเราขึ้นเชิงตะกอน พวกเขาล้อมเชิงตะกอน ประนมอัญชลีเหนือเศียร อันลูกศรคือ ความโศกครอบงำ ชวนกันมาคร่ำครวญ เมื่อศิษย์เหล่านั้นพิไรรำพันอยู่
---เราได้ไปใกล้เชิงตะกอน สั่งสอนพวกเขาว่า เราคืออาจารย์ของท่าน แน่ะท่านผู้มีปัญญาดีทั้งหลายท่านทั้งหลายอย่าได้เศร้าโศกเลย ท่านทั้งหลายควรเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน พยายามในประโยชน์ของตน ทั้งกลางคืนและกลางวันท่านทั้งหลายอย่าได้ประมาท ควรทำขณะเวลาให้ถึงเฉพาะ เราพร่ำสอนศิษย์ของตนแล้วกลับไปยังเทวโลก เราได้อยู่ในเทวโลกถึง๑๘ กัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง และได้เสวยราชสมบัติในเทวโลกเกินร้อยครั้ง ในกัปที่เหลือ
---เราได้ท่องเที่ยวไปอย่างสับสน แต่ก็ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการก่อเจดีย์ทรายในเดือนที่ดอกโกมุทบาน ต้นไม้เป็นอันมากต่างก็ออกดอกบานฉันใดเราก็เป็นผู้อันพระศาสดาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ให้บานแล้วในสมัย ฉันนั้นเหมือนกัน ความเพียรของเรานำธุระน้อยใหญ่ไป นำเอา ธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมา เราตัดกิเลสเครื่องผูก ดังช้างตัด เชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าใด ด้วยการสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลยนี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธ-ศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.ทราบว่า ท่านพระปุฬินุปปาทกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
*จบ ปุฬินุปปาทกเถราปทาน.
*อีกแบบหนึ่ง
---ประเพณีก่อเจดีย์ทราย เป็นประเพณีสำคัญประเพณีหนึ่ง ในช่วงเทศกาลของชาวไทย ประเพณีนี้มีที่มา จากหลักฐานในพระไตรปิฎก ที่กล่าวพรรณาถึงอานิสงส์ ที่พระโพธิสัตว์ก่อพระเจดีย์ทรายเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
---ในประเทศไทยนั้น ประเพณีก่อพระเจดีย์ทราย ถือว่าเป็นประเพณีหนึ่งที่มีที่มา เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรง โดยคนไทยผูกโยงประเพณีนี้เข้ากับคติความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนา มีการก่อพระเจดีย์ทรายถวายวัด เพื่อนำเศษดินทราย ที่ติดเท้าออกจากวัดไปมาคืนวัด ในรูปพระเจดีย์ทราย และเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ให้เป็นกุศลอานิสงส์ และนอกจากประเพณีเพื่อเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังเป็นกุศโลบายของคนในอดีต ให้มีการรวมตัวของคนในชุมชน เพื่อร่วมกันจัดประเพณีรื่นเริง เป็นการสังสรรค์ สร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย
---ปัจจุบันประเพณีนี้พบเพียงในประเทศไทยและลาวเท่านั้น โดยจัดในช่วงเทศกาลสำคัญ เป็นการเฉลิมฉลองการเปลี่ยนศักราช เช่น ในวันตรุษและวันสงกรานต์ เป็นต้น โดยในบางหมู่บ้าน อาจเป็นประเพณีบุญคูนลาน บุญขวัญข้าว (ก่อเจดีย์ข้าวถวายเป็นพุทธบูชา)ก็อาจนับว่าเป็นประเพณีก่อเจดีย์ทรายได้เช่นเดียวกัน เพราะไม่ได้สร้างเป็นพุทธศาสนสถาน ถาวรวัตถุใหญ่โต แต่เป็นเพียงเจดีย์ชั่วคราว เพื่อมุ่งถวายเป็นพุทธบูชาในการประเพณีหนึ่ง ๆ เท่านั้น
---สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์ เป็นคำสันสกฤต หมายถึง การเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือ การเคลื่อนขึ้นปีใหม่ ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ"
---สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทย ซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่า "ตรุษ" เป็นภาษาทมิฬ แปลว่า การสิ้นปี
---พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบัน ได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิม ใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ
---ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทย เกิดประเพณีกลับบ้าน ในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระ ที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีการพัฒนาการและมีแนวโน้มว่า ได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำ เพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
---การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ตามการเปลี่ยนแปลงหลายด้านของสังคม นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
---สงกรานต์ 4 ภาค สงกรานต์ภาคเหนือ (สงกรานต์ล้านนา) หรือ"ประเพณีปี๋ใหม่เมือง" อันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เริ่มตั้งแต่ "วันสังขารล่อง" (13 เม.ย.) ที่มีการทำความสะอาดบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล "วันเนา" หรือ "วันเน่า" (14 เม.ย.) วันที่ห้ามใครด่าทอ ว่าร้าย เพราะจะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งปี
---"วันพญาวัน" หรือ "วันเถลิงศก" (15 เม.ย.) วันนี้ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าทำบุญตักบาตร เข้าวัดฟังธรรม ก่อนจะไปรดน้ำดำหัว ขอขมาญาติผู้ใหญ่ในช่วงบ่าย "วันปากปี" (16 เม.ย.) ชาวบ้านจะพากันไปรดน้ำเจ้าอาวาส ตามวัดต่างๆ เพื่อขอขมา คารวะ และ "วันปากเดือน" (17 เม.ย.) เป็นวันที่ชาวบ้านส่งเคราะห์ต่างๆ ออกไปจากตัว เพื่อปิดฉากประเพณีสงกรานต์ล้านนา
---สงกรานต์ภาคอีสาน นิยมจัดกันอย่างเรียบง่าย แต่ว่ามากไปด้วยความอบอุ่น โดยคนอีสานจะเรียกประเพณีสงกรานต์ว่า "บุญเดือนห้า" หรือ "ตรุษสงกรานต์" บางพื้นที่จะเรียกว่า “เนา” และจะถือฤกษ์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาบ่าย 3 โมง เป็นเวลาเริ่มงาน โดยพระสงฆ์จะตีกลองโฮม เปิดศักราช จากนั้น ญาติโยมจะจัดเตรียมน้ำอบ หาบไปรวมกันที่ศาลาวัด เพื่อสรงน้ำพระพุทธรูป แล้วต่อด้วยการรดน้ำดำหัว ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติผู้ใหญ่ เพื่อขอขมาลาโทษ จากนั้นก็จะเป็นการเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน
---สงกรานต์ภาคใต้ ตามความเชื่อของประเพณีสงกรานต์แบบดั้งเดิมที่ภาคใต้แล้ว สงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งการผลัดเปลี่ยนเทวดาผู้รักษาดวงชะตาบ้านเมือง พวกเขาจึงถือเอาวันแรกของสงกรานต์ (13 เม.ย.) เป็น "วันส่งเจ้าเมืองเก่า" โดยจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์ สิ่งไม่ดีออกไป ส่วน "วันว่าง" (14 เม.ย.) ชาวนครจะไปทำบุญตักบาตรที่วัด และสรงน้ำพระพุทธรูป และวันสุดท้ายเป็น "วันรับเจ้าเมืองใหม่" (15 เม.ย.) จะทำพิธีต้อนรับเทวดาองค์ใหม่ ด้วยการแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสวยงาม ส่งท้ายสงกรานต์ประเพณีสงกรานต์
---สงกรานต์ภาคกลาง เริ่มขึ้นในวันที่ 13 เมษายน เป็นวัน "มหาสงกรานต์" วันที่ 14 เป็น "วันกลาง" หรือ "วันเนา" วันที่ 15 เป็น "วันเถลิงศก" ทั้ง 3 วัน มีการทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล ให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ การสรงน้ำพระ การขนทรายเข้าวัด ก่อเจดีย์ทรายวันสงกรานต์
*ภาคเหนือ
---ประเพณีสงกรานต์ถนนข้าวแคบ 10-18 เมษายน บริเวณ หาดทรายทองแม่ปิง จังหวัดตาก
---ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง 13 - 15 เมษายน บริเวณทั่วเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
---ปี๋ใหม่เมืองหละปูน 11 - 16 เมษายน ณ บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวประตูท่าขาม เทศบาลเมืองลำพูนและบริเวณรอบคู เมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
---ประเพณีสรงน้ำโอยทาน สงกรานต์ ศรีสัชนาลัย 13 -15 เมษายน บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
---ประเพณีสงกรานต์อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 13 -15 เมษายน บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
---ประเพณีสงกรานต์ "ดอกลมแล้งบาน สงกรานต์เมืองแป้ นุ่งหม้อห้อมแต้งามตา" 11 -17 เมษายน บริเวณสวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ จังหวัดแพร่ สลุงหลวง กลองใหญ่ ปี๋ใหม่เมืองนครลำปาง 9 - 13 เมษายน ณ ข่วงนคร เทศบาลนครลำปาง จังหวัดลำปา
*ภาคอีสาน
---มหาสงกรานต์อีสาน หนองคาย (สงกรานต์ไทย-ลาว) 6 - 18 เมษายน บริเวณหาดจอมมณีแม่น้ำโขงและวัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย
---สงกรานต์นครพนม รื่นรมย์บุญปีใหม่ไทยลาว 12 - 15 เมษายน อำเภอเมืองนครพนม และอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
---สุดยอดสงกรานต์อีสาน เทศกาลดอกคูน-เสียงแคนและถนนข้าวเหนียว 8 - 15 เมษายน บริเวณบึงแก่นนคร และถนนศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น
---มหาสงกรานต์แก่งสะพือ: 12-15 เมษายน บริเวณสวนสาธารณะแก่งสะพือ อ. พิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
*ภาคกลาง
---มหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร 8 - 15 เมษายน บริเวณสนามหลวง ถนนข้าวสาร และรอบเกาะรัตนโกสินทร์
---Summer Fave 2007 city on the beach: 12 - 16 เมษายน ลานเซ็นทรัลเวิลด์สแควร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ สี่แยกราชประสงค์ กรุงเทพมหานคร
---ประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า บริเวณรอบเกาะเมืองอยุธยา
---ประเพณีสงกรานต์พระประแดง 17 - 19 เมษายน บริเวณเทศบาลเมืองพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
---งานประเพณีวันไหลพัทยา-นาเกลือ 18 - 19 เมษายน บริเวณสวนสาธารณะลานโพธิ์ จังหวัดชลบุรี
---ประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน 16 - 17 เมษายน บริเวณชายหาดบางแสน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
---งานประเพณีสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว 19 - 21 เมษายน บริเวณสวนสาธารณะเกาะลอย อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
---ประเพณีสงกรานต์เกาะสีชัง 13 - 19 เมษายน บริเวณเกาะสีชังและเกาะขามใหญ่ จังหวัดชลบุรี
*ภาคใต้
---งานเทศกาลมหาสงกรานต์เมืองนครศรีธรรมราช แห่นางดาน 11- 15 เมษายน บริเวณวัดพระบรมธาตุ และบริเวณสวนศรีธรรมโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
---Songkran the Water Festival on the Beach 12 - 16 เมษายน บริเวณสวนสาธารณะโลมา และเดอะพอร์ต ศูนย์การค้าจังซีลอน หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต
---หาดใหญ่มิดไนท์สงกรานต์ 12 - 13 เมษายน บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศและถนนเสน่หานุสรณ์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
---งานสงกรานต์เมืองสุราษฎร์ 13 เมษายน บริเวณริมเขื่อนแม่น้ำตาปี ถนนตลาดใหม่ และศาลหลักเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
---งานสงกรานต์เกาะสมุย 13-14 เมษายน บริเวณ หาดเฉวง หาดละไม และถนนรอบเกาะสมุย เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
---แม่งานใหญ่ของงานเทศกาลตามพื้นที่เหล่านี้ ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและทางจังหวัด
---วันในเทศกาลสงกรานต์ ปฏิทินไทยในขณะนี้ กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตาม ประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการ จะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาล เป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีน เข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" [ต้องการอ้างอิง] วันถัดมา เรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยค ประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก" โดยมีสูตร หาหรคุณจูเลียน (JD) [ต้องการอ้างอิง] วันมหาสงกรานต์ และ วันเถลิงศกดังนี้
---JD วันมหาสงกรานต์ = ปัดลง[(292207* (พ.ศ.-1181) -559)/800] + 1954167
---JD วันเถลิงศก = ปัดลง [(292207* (พ.ศ.-1181) +1173)/800] + 1954167
---จากหลักการข้างต้นนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์ มักตรงกับวันที่ 14-16 เมษายน [ต้องการอ้างอิง] (ยกเว้นบางปี เช่น พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 ที่สงกรานต์กลับมาตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน) ซึ่งบางปีก็อาจจะตรงกับวันใดวันหนึ่ง
*ตำนานนางสงกรานต์ ตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม [1] กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า
---ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร ตั้งบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่ง นักเลงสุราต่อว่าเศรษฐี จนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่กว่าสามปี ก็ไร้วี่แววที่จะมีบุตร อยู่มาวันหนึ่ง พอถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชา อธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐี จึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ ก็มีเมตตาประทานให้เทพบุตรองค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าก็คลอดออกมา เศรษฐีตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า "ธรรมบาลกุมาร" และได้ปลูกปราสาทไว้ ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย
---ต่อมา เมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภท จบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้ จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย
---ท้าวกบิลพรหม ถามธรรมบาลกุมารว่า "ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน" ทันใดนั้น ธรรมบาลกุมาร จึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วัน
---ทางธรรมบาลกุมาร ก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมาร ก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล เขาคิดว่า ขอตายในที่ลับ ยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่
---นางนกอินทรีถามสามีว่า "พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย ด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ นางนก จึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถาม คืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนก ก็ ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า
---"ตอนเช้า ศรีจะอยู่ที่ หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า"---" ตอนเที่ยง ศรีจะอยู่ที่ อก คนจึงเอาเครื่องหอม ประพรมที่อก"---"ส่วนตอนเย็น ศรีจะอยู่ที่ เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน"
---ธรรมบาลกุมารก็ได้ทราบเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด จึงจดจำไว้
---ครั้น รุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหม ก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมาร จึงนำคำตอบที่ได้ยิน จากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ด อันเป็นบาทบริจาริกาพระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ด นำพานมารองรับ แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้น นางทุงษะก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม เวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ
---จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน มาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม แห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปี นางสงกรานต์แต่ละนาง จะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ ดังนี้
---1.ถ้าวันอาทิตย์ เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "ทุงษะเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ
---2.ถ้าวันจันทร์ เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "โคราคะเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ)
---3.ถ้าวันอังคาร เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "รากษสเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (หมู)
---4.ถ้าวันพุธ เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "มณฑาเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา)
---5.ถ้าวันพฤหัสบดี เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "กิริณีเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงหน้าไม้ เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง)
---6.ถ้าวันศุกร์ เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "กิมิทาเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย)
---7.ถ้าวันเสาร์ เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "มโหธรเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง)
*สำหรับความเชื่อทางล้านนานั้นจะมีว่า
---1.วันอาทิตย์ ชื่อ นางแพงศรี
---2.วันจันทร์ ชื่อ นางมโนรา
---3.วันอังคาร ชื่อ นางรากษสเทวี
---4.วันพุธ ชื่อ นางมันทะ
---5.วันพฤหัส ชื่อ นากัญญาเทพ
---6.วันศุกร์ ชื่อ นางริญโท
---7.วันเสาร์ ชื่อ นางสามาเทวี
---มูลเหตุของการก่อเจดีย์ทราย มีเรื่องเล่าว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีพร้อมบริวาร ได้เห็นหาดทรายขาวบริสุทธิ์ ก็เกิดจิตศรัทธาก่อทรายเป็นเจดีย์ ๘ หมื่น ๔ พันองค์ แล้วอุทิศเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา เมื่อพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ก็ได้ทูลถามถึงอานิสงส์การก่อเจดีย์ทรายดังกล่าว พระพุทธเจ้าตรัสว่า "การที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธา ก่อเจดีย์ทรายถึง ๘ หมื่น ๔ พันองค์ หรือเพียงองค์เดียว ก็ได้อานิสงส์มาก คือ จะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเพียบพร้อมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวารและเกียรติยศชื่อเสียง หากตายก็จะได้ขึ้นสวรรค์ พรั่งพร้อมด้วยสมบัติและมีนางฟ้าเป็นบริวาร" ด้วยอานิสงส์ดังกล่าว จึงทำให้คนโบราณนิยมก่อเจดีย์ทรายเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้
---แต่ก็มีคนโบราณบางท่าน ได้กล่าวไว้ว่า เวลาที่เราไปทำบุญที่วัด เราอาจจะเหยียบเอาทรายติดตัวกลับมาด้วย จึงต้องขนทรายกลับไปไว้ดังเดิม นี่อาจจะเป็นกุศโลบายของคนโบราณก็ได้ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงมาตามยุคสมัย แต่ต้นตำรับเดิม ผมก็หาข้อมูลมาให้ท่านได้รู้แล้ว หรือบางท่านอาจจะรู้แล้วก็ได้ สงกรานต์ปีนี้ อย่าพลาด การก่อเจดีย์ทรายสวยๆ เพื่อบูชาพระรัตนตรัยด้วยนะครับ.
.............................................................................
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
รวบรวมโดย...แสงธรรม
อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 23 กันยายน 2558
ความคิดเห็น