ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ
*ประวัติ
---เหตุที่เกิดวันเทโวโรหณะนั้น มี เรื่องเล่าตามอรรถกถาธรรมบทพอจะสรุปได้ว่าภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าทรง ตรัสรู้ ทรงเสด็จไปประทับ ณ นครสาวัตถี และทรงแสดงธรรมโปรดประชาชนอยู่เป็นประจำ จนมีประชาชนอยู่เป็นประจำ จนมีประชาชนจำนวนมากหันมานับถือศาสนาพุทธ การ ที่ประชาชนหันมานับถือศานาพุทธด้วย ทำให้เหล่าเดียรถีย์เสื่อมลง เครื่องสักการะเดียรถีย์เหล่านี้ก็ลดน้อยลงด้วยเช่นเดียวกัน ทำให้พวกเดียร์ถีย์เดือดร้อนต่างพากันคิดหาวิธีทำลายพระพุทธศาสนา โดย การกล่าวร้ายพระพุทธเจ้า และเหล่าสาวกบ้าง แกล้งเบียดเบียนพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนบ้าง
---แต่ก็ไม่สามารถทำให้ประชาชนเสื่อมความศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้ ในทางกลับกันพวกเดียรถีย์กลับได้รับผลร้ายนั้นเสียเอง ในที่สุดเหล่าเดียรถีย์จึงคิดแผนการทำลายพระพุทธศาสนาขึ้นอีกอย่างหนึ่ง โดยอาศัยพระพุทธบัญญัติในข้อที่ว่า ห้ามมิให้พระสาวกในพระพุทธศาสนาแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ ซึ่งเหล่าเดียรถีย์เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าคงไม่กล้าฝ่าฝืนข้อห้ามที่พระองค์ ทรงบัญญัติไว้ด้วยพระองค์เอง จึงช่วยกันกระจายข่าวว่า " พระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกสิ้นท่าหมดปาฎิหารย์ไร ๆ แล้ว จึงงดการแสดง ตรงกันข้ามกับเหล่าคณาจารย์เดียรถีย์ซึ่งมีปาฏิหาริย์ อบรมมั่นคงเต็มที่พร้อมเสมอจะแสดงให้ปรากฎเมื่อไรได้ทุกเมื่อ ถ้าไม่เชื่อก็เชิญพระพุทธเจ้ามาแสดงปาฏิหารย์แข่งกันดู ว่าใครจะเก่งกาจสามารถกว่าใคร"
---ข่าวที่เดียรถีย์กล่าวหาพระพุทธเจ้านั้นได้กระจายไปทั้ว เป็นที่โจษจันของชาวเมืองโดยทั่วไป บ้างไม่รู้แก่นแท้ในพระพุทธศาสนาก็พากันวิพากษ์วิจารณ์ในทางเสื่อมเสีย พวกเดียร์ถีย์เห็นว่าพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกเงียบเฉยไม่ออกมาแก้ความ ก็กล่าวหาพระพุทธเจ้าหนักขึ้นว่า " พระพุทธเจ้าไม่มีความสามารถในการแสดงอิทธิปาฏิหารย์จึงเงียบอยู่เช่นนี้ไม่ กล้ารับคำท้าทายจากเหล่าเดียรถีย์ทั้งหลาย "
---ความ นี้ได้รู้ถึงพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมาทรงใคร่ครวญว่าหากพระองค์ไม่แสดง ปาฏิหารย์ให้เดียรถีย์ประจักษ์แก่สายตา จะเกิดผลเสียแก่พระพุทธศาสนามากกว่าผลดีเป็นแน่ พระพุทธเจ้าจึงทรงประกาศว่าพระองค์จะแสดงยมกปาฏิหารย์ ณ ต้นมะม่วง ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เมื่อ เหล่าเดียรถีย์ได้รู้ความที่พระพุทธเจ้าที่แสดงอิทธิปาฏิหารย์ก็พากัน หวาดกลัว ต่างกากลวิธีกลั่นแกล้งมิให้พระพุทธเจ้าทรงสามารถแสดงปาฏิหารย์ได้ โดยแบ่งออกเป็น ๓ พวก พวกหนึ่งช่วยกันทำลายต้นมะม่วงในเมืองสาวัตถีจนหมดสิ้น ส่วนพวกหนึ่งช่วยกันสร้างมณฑปในวัดเพื่อแสดงปาฏิหารย์ของตน ส่วนอีกพวกหนึ่งให้ช่วยกันประกาศให้ประชาชนไปชมการแสดงปาฏิหาริย์ของพระ พุทธเจ้า และคอยชมความล้มเหลวในการแสดงปาฏิหาริย์ครั้งนี้
---เมื่อถึงกำหนดที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ ปรากฎว่า เกิดพายุใหญ่พัดมณฑปของพวกเดียรถีย์พังจนหมดสิ้น ส่วนพระพุทธเจ้ายังมิได้ทรงมีทีท่าว่าจะแสดงปาฏิหาริย์แต่อย่างใด และในตอนบ่ายของวันนั้นนายคัณฑะ คน เฝ้าพระราชอุทยานของพระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ถวายมะม่วงผลหนึ่งแก่พระพุทธเจ้าเสียก่อน เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธองค์จึงนำมะม่วงผลนั้นถวายแด่พระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าได้รับมะม่วงสุกผลนั้นจากนายคัณฑะ ทรงรับสั่งให้พระอานนท์นำมะม่วงสุกผลนั้นไปทำน้ำปานะถวาย และให้นำเมล็ดมะม่วงวางลงบนพื้นดินบริเวณนั้น เมื่อทรงฉันน้ำปานะหมดทรงล้างพระหัตถ์ให้น้ำล้างพระหัตถ์รดบนเมล็ด
---มะม่วง นั้น ปรากฏว่า ต้นมะม่วงได้งอกขึ้นและใหญ่โดอย่างรวดเร็ว พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งว่า พระองค์จะแสดงปาฏิหารย์ ณ ต้นมะม่วงแห่งนี้ พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตช่อไฟและท่อน้ำแล่นเป็นคู่สลับกันไปมาในอากาศรอบต้น มะม่วงนั้น และทรงเนรมิตบุคคลผู้เหมือนพระองค์ทุกประการขึ้นองค์หนึ่ง พร้อมกับทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสี กระจายออกทั่วบริเวณพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมพร้อมกับทรงจงกรมสลับกับพระพุทธ นิมิต เมื่อประชาชนได้เห็นแก่สายตาของตนเองว่าพระพุทธเจ้าสามารถแสดงปาฏิหาริย์ได้ เสมอ ก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธากันโดยทั่วไป ส่วนเหล่าเดียรถีย์นั้นประชาชนต่างพากันสมน้ำหน้าสาปแช่งจนพวกเดียรถีย์นั้น ต้องย่อยยับลงไปในครั้งนี้เอง
---ในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันเข้าพรรษาพระพุทธเจ้าทรงประกาศว่า พระองค์ จะไปจำพรรษายังดาวดึงส์เทวโลก เนื่องจากทรงระลึกว่าทรงเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา พระนางปชาบดี พระนางยโสธราพิมพา และพระราหุลราชกุมาร ตลอดจนประยูรญาติทั้งหลายให้บรรลุมรรคผลตามสมควรแล้ว แต่ยังมิได้สนองพระคุณพระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดา เนื่องจากพระพุทธมารดาสิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่พระองค์ประสูติได้เพียง ๗ วันเท่านั้น เห็นว่าควรจะสนองพระคุณ พระพุทธมารดาให้สมควรแก่พระคุณ
---ทรงเทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดา ตลอดเวลา ๓ เดือน เมื่อออกพรรษาพระองค์จึงเสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกมาสู่โลกมนุษย์ ณ ประตูเมืองสังกัสสนคร โดยมีขบวนเทพยดา และประชาชนตามส่งเสด็จ และรับเสด็จอย่างสมพระเกียรติ ในวันเทโวโรหนะนี้พระองค์ทรงเนรมิตให้เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก สามารถมองเห็นซึ่งกันและกันได้
---เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลก ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ประชาชน จำนวนมากต่างพร้อมใจมาเฝ้ารับเสด็จและนำภัตตาหารมาถวายแด่พระ พุทธเจ้า แต่ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จนั้นมีจำนวนมาก บางพวกที่อยุ่ห่างไม่สามารถใส่อาหารลงในบาตรได้ จึงนำข้าวสาลีมาปั้นเป็นก้อน ๆ แล้วโยนใส่บาตร จนกระทั่งเป็นประเพณีนิยมมาจนถึงปัจจุบันที่ต้องทำข้าวต้มลูกโยนใส่บาตรใน วันเทโวโรหนะ
---วันเทโวโรหณะ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกหลังจากเสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่ใน ดาวดึงส์ พิภพถ้วนไตรมาสและการตรัสอภิธรรมเทศนาโปรดพระมารดาในเทวโลกนั้นมาตลอดเวลา 3 เดือน พออออกพรรษาแล้วก็เสด็จมายังโลกมนุษย์ โดยเสด็จมาทางบันไดสวรรค์ที่ประตูเมืองสังกัสนคร อันตั้งอยู่เหนือกรุงสาวัตถี วันที่เสด็จลงจากเทวโลกนั้นเรียกกันว่า “ วันเทโวโรหณะ “ ตรงกับวันมหาปวารณาเพ็ญเดือน 11 วันนั้นถือกันว่าเป็นวันบุญกุศล ที่สำคัญวันหนึ่งของพุทธบริษัท
---โบราณเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า”วันพระเจ้าเปิดโลก” รุ่ง ขึ้นจากวันนั้นเป็นวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 จึงมีการทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ กันเป็นการใหญ่ เพื่อเฉลิมฉลองการเสด็จลงจากเทวโลก ของพระพุทธเจ้า โดยพุทธบริษัทได้พร้อมใจกันใส่บาตรแด่พระสงฆ์ที่อยู่ทั้งหมด ในที่นั้นกับทั้งพระพุทธองค์ด้วย โดยไม่ได้นัดหมายกันมาก่อน ภัตตาหารที่ถวายในวันนั้นส่วนใหญ่เป็นเสบียงกรัง ของตนตามมีตามได้ปรากฏได้มีการใส่บาตรรในวันนั้นแออัดมาก ผู้คนเข้าไม่ถึงพระสงฆ์จึงเอาข้าวสาลีของตนห่อบ้าง ทำเป็นปั้นๆบ้าง แล้วโยนเข้าถวายพระนี่เอง จึงเป็นเหตุหนึ่งที่นิยมทำข้าวต้มลูกโยน เป็นส่วนสำคัญของการตักบาตรเทโวโรหณะ เป็นประเพณีว่าถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ทุกๆปี ควรทำบุญตักบาตรให้เหมือนครั้ง ดั้งเดิมเรียกว่า”ตักบาตรเทโวโรหณะ” จนทุกวันนี้
*ความสำคัญ
---วันเทโวโรหณะ เป็น วันที่มีการทำบุญตักบาตรที่พิเศษวันหนึ่ง กล่าวคือ ในพรรษาหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แสดงพระอภิธรรมโปรด พระมารดา และทรงจำพรรษาที่นั้น พอออกพรรษาก็เสด็จลงจากเทวโลกนั้นมายังโลกมนุษย์ โดยเสด็จลงที่เมืองสังกัสส์ ใกล้เมืองพาราณสี ชาวบ้านชาวเมืองทราบข่าวก็พากันไปทำบุญตักบาตรพระพุทธองค์ที่นั้น และเป็นการรับเสด็จพระพุทธองค์ด้วย กล่าวกันว่า ในวันนี้ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกัน จึงเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก คือ เปิดให้เห็น กันทั้ง ๓ โลกนั้นเอง การตักบาตรรับเสด็จพระพุทธเจ้าได้ปฏิบัติสืบเนื่อง ต่อกันมาเป็นประเพณี จนถึงเมืองไทย จึงเรียกประเพณีนี้ ว่า การตักบาตรเทโวโรหณะ เพื่อให้สะดวกในการสื่อความหมายนิยมสั้นๆ ว่า การตักบาตรเทโว ด้วยเหตุนี้ วันเทโวโรหณะจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันตักบาตรเทโว
*ระเบียบพิธีและการปฏิบัติตน
---ปัจจุบัน พิธีทำบุญในนิยมทำโดยจำลองเหตุการณ์วันเทโวโรหณะ กล่าว คือ จะมีการอัญเชิญพระพุทธรูปปางประทับยืน 1 องค์ นำหน้าแถวพระสงฆ์ ส่วนประชาชนที่มาใส่บาตรจะยืน หรือนั่ง 2 แถว หันหน้าเข้าหากันโดยเว้นระหว่างกลางไว้ให้พระสงฆ์เดิน ส่วนของที่นำมาใส่บาตรอาจแตกต่างกัน โดยในเมืองมักนิยมใส่อาหารแห้ง ส่วนชนบทมักจะใส่อาหารสด เพื่อมิให้เกิดปัญหาจึงขอแนะนำดังนี้
---1.อาหารที่นำมาถวายใส่ควรใส่ภาชนะ เช่น ถุงพลาสติกแยกชนิดไม่ให้ปะปนกัน เช่นข้าวสุก และข้าวสาร หากไม่แยกกันจะทำให้เสียหายได้หรืออาจจะจัดระบบการใส่แยกข้าวสุกและข้าวสาร ให้ชัดเจนมิให้ปะปนกัน
---2.อาหารประเภทน้ำ หากจะนำมาใส่บาตรต้องใส่ภาชนะที่ไม่หกเลอะเทอะ อาหารชนิดอื่นๆได้
---3.การใส่บาตรควรประมาณการบริโภคใช้สอยด้วย หากอาหารสดมากเกินไปและเหลือจากพระฉันแล้ว นำไปแจกจ่ายไม่ได้ ก็ควรเปลี่ยนเป็นอาหารที่เก็บไว้ได้นานก็ได้
---นอกจากนี้ บางแห่งยังมีกิจกรรมพิเศษอื่นๆ นอกจากการใส่บาตรทำบุญ เช่น การแสดงพระธรรมเทศนา การเจริญพระพุทธมนต์ เป็นต้น
---วันเทโวโรหณะหรือวันตักบาตรเทโว ข้าราชการไม่ได้กำหนดวันหยุดราชการเหมือนวันเข้าพรรษาวันวิสาขบูชาหรือวัน อื่นๆ เพราะส่วนใหญ่จะมีพิธีช่วงเช้าถึงบ่ายเท่านั้น
*การดำเนินงาน
---สำหรับ การตักบาตรเทโวโรหณะ นิยมทั่วไปในปัจจุบัน จัดทำขึ้นในวัดเป็นหน้าที่ของทางวัดนั้นๆ และทายกทายิการ่วนกันจัด มีแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้
---1.ก่อนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นการกำหนดวันทำบุญตักบาตร ทางวัดที่จะจัดให้มีการทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะนั้นจะต้องเตรียมตัว คือ
---ก.รถทรงพระพุทธรูป หรือ คานหามพระพุทธรูป เพื่อชักหรือหามนำหน้าพระสงฆ์ในการรับบาตรมีที่ตั้งตรงกลางประทับรถ หรือหามด้วยราชวัตร ฉัตร ธง โดยรอบ พอสมควรมีที่ตักบาตร มีที่ตั้งพระพุทธรูปด้วย ส่วนตัวรถ หรือคานหามจะประดับประดาให้พิจิตรพิศดารอย่างไรแล้วแต่ศรัทธาและกำลังที่จะ พึงจัดได้ และมีผู้ถือบาตรตามสำหรับบิณฑบาตร
---ข.พระพุทธรูปยืน 1 องค์จะ เป็นขนาดเล็กหรือว่าใหญ่ก็ได้แล้วแต่จะมีหรือจัดหามาได้สำหรับเชิญ ขึ้นประดิษฐานบนรถหรือคานหาม แล้วชักหรือนำขบวนรับบาตรเทโซโรหณะแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าได้พระปางอุ้มบาตรซึ่งเหมาะกับเหตุการณ์ดีที่สุดแต่ถ้าไม่มีพระปางอุ้ม บาตร จะใช้พระปางห้ามญาติปางห้ามสมุทร ปางรำพึง ปางถวายเนตรหรือปางลีลา ปางใดปางหนึ่งก็ได้ ขอแต่เป็นพระพุทธรูปยืนเท่านั้น
---ค.เตรียมสถานที่ให้ทายกทายิกาตั้งเครื่องใส่บาตรโดยจะจัดลานวัดหรือบริเวณรอบๆ โรงอุโบสถเป็นที่กลางแจ้ง แห่ง หนึ่งก็ได้ให้ตั้งเป็นแถวเป็นแนวเรียงรายติดต่อกันเป็นลำดับๆ ถ้าทายกทายิกาไม่มากนัก จัดแถวเดียวให้นั่งอยู่ด้านเดียวทั้งหมดแต่ถ้ามากจะจัดเป็น 2 แถว ให้นั่งหันหน้าเข้าหากัน เว้นช่องกลางระหว่างแถวทั้ง 2 ไว้สำหรับพระเดินบิณฑบาตพอสมควรก็ได้
---ง.แจ้งกำหนดการให้ทายกทายิกาทราบล่วงหน้าก่อนว่า จะ กำหนดให้ธรรมบุญตักบาตรพร้อมกันเวลาเท่าไรบางแห่งจัดให้พระธรรมเทศนา อนุโมทนาทาน หลังจากพระรับบาตรและฉันเสร็จแล้ว 1 กัณฑ์ ด้วยโดยทางวัดจัดเพิ่มขึ้นเอง และบางแห่งทายกทายิกามีศรัทธาแรงกล้าขอให้ทางวัดจัดให้มีเทศน์ปุจฉาวิสัชชนา ตอนบ่ายอีก 1 กัณฑ์ก็มี ถ้าจะมีเทศน์อย่างไรต่อจากทำบุญตักบาตรรนี้ ก็ต้องแจ้งกำหนดการให้ทราบทั่วกันการเทศน์อนุโมทนาทานกัณฑ์เช้าเป็นหน้าที่ ของเจ้าอาวาสวัดนั้นๆ หรือจะมอบให้ภิษุผู้สามารถรูปใดเทศน์แทนก็ได้แต่การเทศน์ปุจฉาวิสัชชนา ถ้ามีในตอนบ่ายเป็นเรื่องที่ทายกทายิกาจะขวนขวายกันเอง แต่ทางวัดก็ต้องอำนวยความสะดวก และจัดการให้ตามศรัทธาของทายกทายิกาด้วยจะถือว่าไม่ใช่ธุระของวัดย่อมไม่ควร
---2.สำหรับทายกทายิกาผู้ศรัทธาจะทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ เมื่อทราบกำหนดจากทางวัดแล้วจะต้องเตรียมและดำเนินการดังนี้
---ก.เตรียมภัตตาหารสำหรับใส่บาตรตามศรัทธา ของ ใส่บาตรรนอกจากข้าว เครื่องคาวหวานจัดเป็นห่อเป็นที่สำหรับใส่รูปหนึ่งๆ หรืออาจจะเป็นอาหารแห้งตามธรรมเนียมแล้ว ยังมีสิ่งหนึ่งซึ่งถือเป็นประเพณีจะขาดเสียมิได้ในงานทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ นี้ คือ ข้าวต้มลูกโยน เพราะถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของงานนี้โดยเฉพาะจากเรื่องราวที่เล่ามาแล้วใน ตอนต้น ฉะนั้น งานนี้จะเรียกว่าเป็นงานทำบุญตักบาตรข้าวต้มลูกโยน ก็เห็นจะไม่ผิด จึงจำเป็นต้องเตรียมของสิ่งนี้ไว้ใส่บาตรด้วย
---ข.ถึงกำหนดนัดในวันนั้นก็นำเครื่องใส่บาตรทั้งหมดไปตั้งใส่ที่วัดจัดเตรียมไว้ รอ จนขบวนพระมาถึงตรงหน้าตนจึงใส่บาตร ให้ใส่ตั้งแต่พระพุทธรูปในรถหรือคานหามที่นำหน้าพระสงฆ์ไปเป็นลำดับจนหมดพระ สงฆ์รับ หรือหมดของที่เตรียมมา
---ค.เมื่อใส่บาตรแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี แต่ ถ้าจัดให้มีเทศน์ด้วยและศรัทธาจะแสวงบุญ จากการฟังธรรมต่อ จะรออยู่ที่วัดจนถึงเวลาเทศน์ หรือจะกลับบ้านก่อนซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลวัดนัก แล้วมาฟังเทศน์เมื่อถึงเวลาเทศน์ก็ได้ตามแต่อัธยาศัย
---3.สำหรับภิษุสามเณรผู้เข้ารับบาตรในพิธีทำบุญเทโวโรหณะนี้ ถ้า งานจัดขึ้นในบริเวณวัดพึง ครองผ้า แบบลดไหล่อุ้มบาตรทุกรูปตามธรรมเนียมของวัดแต่ถ้าเป็นงานจัดขึ้นนอกบริเวณ วัดพึงครองผ้าตามนิยมแบบออกบิณฑบาตรนอกวัด ให้ชักแถวเดิน มีรถทรงหรือคานพระพุทธรูปนำหน้าแถว รับไปตามลำดับผู้ใส่ที่ถึงตรงหน้าตน พึงปฏิบัติตามระเบียบพิธีมีธรรมเทศนา
*กำหนดการ
---เวลา 6.00น. พระสงฆ์เข้าทำวัตรสวดมนต์ในอุโบสถหรือปูชนียสถาน
---พุทธศาสนิกชนพร้อมกัน ณ บริเวณรอบอุโบสถ หรือสถานทีวัดกำหนด
---ประธานสงฆ์นำพระภิกษุสามเณรออกรับบิณฑบาตรโดยอัญเชิญพระพุทธรูปนำหน้าพระสงฆ์
---เสร็จแล้วพระสงฆ์ลงสู่ศาลาการเปรียญเพื่อบำเพ็ญกุศลตามปกติ...........
.......................................................................
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
รวบรวมโดย...แสงธรรม
อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 23 กันยายน 2558
ความคิดเห็น