/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

พระพุทธศาสนากับนิติปรัชญา

พระพุทธศาสนากับนิติปรัชญา

พระพุทธศาสนากับนิติปรัชญา




ศ.ดร.แสง จันทร์งาม



*1.พระพุทธศาสนาในแง่หนึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ


---(1.)พระธรรม ได้แก่ คำสอนทั่วๆ ไป ของพระพุทธเจ้า ว่าด้วยเนื้อหาสาระสำคัญ 4 ประการ คือ


---ก.ธรรมชาติของเอกภพ (Universe)


---ข.ธรรมชาติของมนุษย์


---ค.วัตถุประสงค์ของชีวิต


---ง.ทางไปสู่วัตถุประสงค์นั้น



---(2.)พระวินัย ได้แก่ คำสั่งที่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติขึ้น สำหรับสมาชิกชั้นในของพระพุทธศาสนา ได้แก่ ภิกษุและภิกษุณี พระวินัย มี 2 ประเภทคือ



---ก.ข้อห้ามมิให้ทำ เพราะเป็นความชั่วและความเสียหาย


---ข.ข้อบังคับให้ทำ เพราะเป็นความดีงาม



*2.ธรรมชาติของเอกภพ


---พระพุทธศาสนามองเอกภพในฐานะ เป็นสังคมอันหนึ่งอันเดียว ที่มีระเบียบระบบเป็นอย่างดี


---เอกภพในพระพุทธศาสนา มีลักษณะคล้ายคลึงกับดาราศาสตร์สมัยปัจจุบัน ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่ เป็นจักรวาลหนึ่ง หลายๆ จักรวาลรวมกันเข้าเป็นโลกธาตุ (พอจะเทียบได้กับกาแลกซี) โลกธาตุมีขนาดต่างๆ กัน โลกธาตุขนาดใหญ่อาจมีจักรวาลถึง 1,000,000,000,000 จักรวาล


---เอกภพเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แล้วเกิดขึ้นอีก เป็นวัฏจักร ตามกฎธรรมชาติ ไม่มีเบื้องต้น ไม่มีที่สุด เพราะฉะนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีผู้สร้างหรือผู้ทำลาย


*3.สัตว์ (Beings-สิ่งมีชีวิตจิตใจ) ในเอกภพ

 

---ในเอกภพมีสัตว์ต่าง ๆ อาศัยอยู่มากมาย คล้ายกับพลเมืองของประเทศ แบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้   3 ประเภท



---1.อรูปสัตว์ (อรูปพรหม) ได้แก่ สัตว์ที่ไม่มีรูป ที่เป็นสสารใดๆ ชีวิตของเขา ประกอบด้วยพลังงานจิต (psychic energy) ล้วนๆ มีอยู่ 4 ชั้นหรือจำพวก ตามคุณภาพจิต


---2.รูปสัตว์ (รูปพรหม) ได้แก่ สัตว์ที่มีรูปละเอียด มีความสุขจากความสงบทางจิตอย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับกาม มี 16 ชั้น


---3.กามสัตว์ ได้แก่ สัตว์ที่อาศัยกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มี 6 ประเภทใหญ่ๆ คือ


---เทพในสวรรค์ 6 ชั้น


---มนุษย์ในโลก 1 ชั้น


---สัตว์เดียรฉาน 1 ชั้น


---อสุรกาย 1 ชั้น


---เปรต 1 ชั้น


---นรก 1 ชั้น


---รวมสัตว์ทั้งหมดในเอกภพได้ 31 ชั้นหรือประเภท อาศัยอยู่ในภูมิ (ที่อยู่) ต่างๆ 31 ภูมิ


*4.สถานะของมนุษย์


---มนุษย์เป็นสัตว์อยู่ระดับกลางๆ ระหว่างสูง (เทพ 6 ชั้น รูปพรหม 16 ชั้น อรูปพรหม 4 ชั้น) และต่ำ (สัตว์เดียรฉาน อสุรกาย เปรต นรก)


---มนุษย์ตายแล้ว อาจไปเกิดในภูมิสูงหรือต่ำก็ได้ แล้วแต่คุณภาพจิต ซึ่งเป็นผลของกรรมที่ทำไว้ แต่ไม่ว่า จะไปเกิดในภูมิใด ก็อยู่ชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น สิ้นกรรมแล้ว จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก แต่มนุษย์และโลกมนุษย์ เหมาะสมที่สุดสำหรับ การรู้สัจธรรมและบรรลุนิพพาน กฎแห่งกรรมเป็นผู้ควบคุมสัตว์ทั้งหลายในเอกภพ


*5.ธรรมชาติของมนุษย์


---มนุษย์มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ รูป (ร่างกาย สสาร) และ นาม (จิต ใจ)


*1.รูป


---ได้แก่ ร่างกาย ประกอบด้วย ส่วนที่เป็นของแข็ง (Solid) หรือธาตุดิน, ส่วนที่เป็นของเหลว (Liquid) หรือธาตุน้ำ, ส่วนที่เป็นไอ (gas) หรือธาตุลม และส่วนที่เป็นพลังงานความร้อน (Heat energy) หรือธาตุไฟ


---รูป เป็นส่วนที่พ่อแม่เตรียมไว้ในครรภ์มารดา และเกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลายไป ตามกฎธรรมชาติทางกายภาพ

*2.นาม


---ที่เป็นตัวหลัก เรียกว่า จิตบ้าง วิญญาณบ้าง จิตนี้ถ้าอยู่ในภาวะหลับสนิท หรือสลบ หรือตาย เรียกว่า "ภวังคจิต" (จิตที่เป็นปัจจัยแห่งความมีชีวิตอยู่) ถ้าจิตตื่นขึ้น ทำหน้าที่ เรียกว่า "วิถีจิต" จิตทำหน้าที่ 4 อย่างคือ


---ก.รับรู้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มโนภาพ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่า "วิญญาณ" (Consciousness)


---ข.จำอารมณ์ทั้ง 6 ได้ ว่าอะไรเป็นอะไร เรียกว่า  "สัญญา"  (Perception)


---ค.เกิดความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจหรือเฉยๆ เกี่ยวกับอารมณ์นั้นๆ เรียกว่า  "เวทนา" (Feeling)


---ง.เกิดความเอาใจใส่ แล้วคิดเกี่ยวกับอารมณ์นั้นๆ เรียกว่า  "สังขาร" (thought formation)
ตลอดเวลาที่ตื่นอยู่ จิตทำงานตามกระบวนการ 4 ขั้นนี้ แต่กิริยาอาการทำงานทั้ง 4 นี้ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แม้ในเวลาฝัน จิตก็ยังทำงานครบทั้ง 4 ขั้นนี้



*6.ชีวิตดำเนินไปได้อย่างไร


---ชีวิตดำเนินไปตามกาล-อวกาศได้ เพราะกฎแห่งกรรม ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ


---1.แรงกระตุ้นใจ (mental drives) มี 2 ฝ่าย ฝ่ายลบเรียกว่า "กิเลส" เช่น โลภ โกรธ หลง ฝ่ายบวก เรียกว่า "คุณธรรม" เช่น เอื้อเฟื้อ สงสาร เห็นใจ ปัญญา


---2.เจตนา (volition) มี 2 ลักษณะคือ ความตื่นตัว รู้ตัวก่อนทำและกำลังทำ ถ้าไม่รู้ตัว เช่น หลับ ไม่เป็นกรรม ลักษณะที่ 2 คือ มีเป้าหมายแน่นอน (purposefulness) ว่า ทำเพื่ออะไร ถ้าผลที่เกิดขึ้นผิดจากเป้าหมาย ไม่เป็นกรรม ถ้าผลต่ำกว่าเป้าหมาย เป็นกรรมน้อยลง


---3.การกระทำ (action) คือ การแสดงกิจกรรมออกมา 3 ทางคือ


---ก.ทางใจ ได้แก่การคิด เรียกว่า มโนกรรม


---ข.ทางวาจา ได้แก่การพูด เรียกว่า วจีกรรม


---ค.ทางกาย ได้แก่การทำ เรียกว่า กายกรรม


---4.ผลของการกระทำ (กัมมวิบาก) มี 2 ประเภท คือ


---1.ผลโดยตรง ได้แก่ พลังกรรม (Karmic energy) หรือกัมมพละ ที่เกิดขึ้นทันทีโดยธรรมชาติและโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าผู้กระทำจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม เกิดขึ้นแล้ว เก็บไว้ในใจ พลังกรรมทำหน้าที่ดังต่อไปนี้


---ก.กระตุ้นหรือสนับสนุนให้ทำกรรมนั้นๆ ซ้ำอีก พลังกรรมจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นพลังกรรมพื้นฐานของจิต เรียกว่า จริต หรืออุปนิสัย หรือสันดาน


---ข.ช่วยรักษากระแสชีวิตไว้


---ค.กำหนดทิศทางและสภาพของชีวิตในอนาคต อดีตกรรม กำหนดปัจจุบัน ปัจจุบันกรรมกำหนดอนาคต เราสร้างตัวเองทุกขณะ


---ง.เป็นตัวทำให้มีการเกิดใหม่


---จ.คอยจังหวะให้ผลทางอ้อม (ดูข้างล่าง)


---2.ผลโดยอ้อม ผลพลอยได้อาจมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ผลโดยอ้อมมี 3 อย่าง


---ก.ผลทางอารมณ์ ได้แก่ความรู้สึกสบายใจจากกรรมดี ความรู้สึกไม่สบายใจจากกรรมชั่ว


---ข.ผลทางกาย ได้แก่ ความเปลี่ยนแปลงทางกาย ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสภาพจิต (psychosomatic) เช่น สุขภาพกาย ผิวพรรณ เป็นต้น


---ค.ผลทางสังคม คือ ปฏิกิริยาจากคนอื่น จากกฎหมายบ้านเมือง เพื่อตอบสนองการกระทำ การกระทำที่ไม่ใช่กรรมสมบูรณ์ แต่มีผลกระทบต่อสังคม ก็ให้ผลทางสังคมได้ ไม่มีใครหนีพ้นผลทางสังคมได้ แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ได้รับผลทางสังคมมาแล้ว พลังกรรมเกิดขึ้นและถูกเก็บไว้ เหมือนการเคลื่อนไหวของนาฬิกาอัตโนมัติ เกิดพลังงานขึ้นส่งไปเก็บไว้ในลาน


---การให้ผล (ทางสังคม) ของกรรม เหมือนคนสะกดจิต สั่งให้คนถูกสะกดจิต ทำอะไรบางอย่างเมื่อตื่นขึ้นตามเวลาที่สั่งไว้ เมื่อถึงเวลา เขาก็ทำจริงๆ โดยไม่รู้ตัว


*คุณภาพกรรม


---กรรมแบ่งเป็น 3 ตามคุณภาพ คือ


---1.กุศลกรรม กรรมดี


---2.อกุศลกรรม กรรมชั่ว


---3.อัพยากตกรรม กรรมกลางๆ


*เกณฑ์ตัดสินคุณภาพกรรม


---กรรมจะเป็นกรรมดีหรือชั่ว ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ 4 อย่าง คือ


---1.แรงกระตุ้นใจเป็นกิเลสหรือคุณธรรม


---2.เจตนาดีหรือร้าย


---3.การกระทำเป็นการสร้างหรือทำลาย ถูกหรือผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีงาม


---4.ผลที่เกิดขึ้นเป็นคุณหรือเป็นโทษ


*ในบรรดาเกณฑ์ทั้ง 4  "เจตนา" มีน้ำหนักมากกว่า ตัวอื่นๆ ลักษณะอื่นๆ ของกรรม


---1.พลังกรรมที่อยู่ในใจ ถ้าไม่ทำซ้ำอีก จะอ่อนกำลังลง และหายไปในที่สุด ตามหลักอนิจจัง


---2.พลังกรรม ถ้าไม่มีโอกาสให้ผล (ทางสังคม) จะอ่อนกำลังลง แม้จะมีโอกาส ก็ไม่อาจให้ผลได้ กลายเป็นอโหสิกรรม เหมือนทุ่นระเบิดด้าน


---3.พระอรหันต์ทำอะไร ไม่เกิดพลังกรรม เพราะไม่มี “อวิชชา” เป็นฐานรองรับไว้


---4.บาป คือ พลังกรรมฝ่ายดำ บุญ คือ พลังกรรมฝ่ายขาว ดังนั้น เราอาจลดหรือทำลายพลังบาปได้ด้วยพลังบุญ


*7.การเวียนว่ายตายเกิด


---(สังสาระ วัฏสังสาระ) ชีวิตมีการเวียนว่ายตายเกิด คือตายแล้วยังมีการเกิดใหม่เรื่อยไป ตราบเท่าที่ยังมีเหตุปัจจัยให้เกิด สังสาระจะสิ้นสุดลง เมื่อบรรลุนิพพาน


---เหตุผลสนับสนุนการเวียนว่ายตายเกิด


---1.พระพุทธเจ้าสอนไว้จริง มีทั่วไปในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้า ทรงเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือที่สุด


---2.พระพุทธเจ้าทรง รู้เห็นการเวียนว่ายตายเกิด จากประสบการณ์ของพระองค์เองในวันตรัสรู้ ไม่ได้เรียนรู้มาจากใคร


---3.จุดมุ่งหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา คือ การตายแล้วไม่เกิด (ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย) ถ้าคนตายแล้วไม่เกิด ก็เท่ากับว่า บรรลุถึงนิพพานโดยอัตโนมัติ ถ้าอย่างนั้นมรรคมีองค์ 8 หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ไม่มีความหมาย


---4.ถ้าตายแล้วสูญ ความยุติธรรมก็ไม่มี เพราะคนชั่วบางคนยังไม่ได้รับผลกรรมชั่วในชาตินี้ คนดีบางคนยังไม่ได้รับผลของกรรมดี


---6.คนเราเกิดมาแตกต่างกันทั้งกาย –ใจ ทฤษฎีเทวนิยม ทฤษฎีพันธุกรรม ทฤษฎีสิ่งแวดล้อม ยังอธิบายเหตุแห่งความแตกต่างได้ไม่น่าพอใจ แต่เรื่องตายแล้วเกิดและกฎแห่งกรรมอธิบายได้


---7.ในธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตทุกอย่างมีกลไก การสืบต่อสายพันธุ์ของมันไว้ จิตใจก็มีกลไกการสืบต่อตัวมันเองไว้เช่นเดียวกัน คำสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาท อธิบายกลไกการสืบต่อสายชีวิตไว้อย่างดี


---8.มีคนเป็นอันมาก สามารถจำหรือระลึกชาติก่อนได้ คนจำชาติก่อนได้มี 3 ประเภท


---ก.จำได้เอง เช่น เด็กๆ พอพูดได้ก็เล่าเรื่องชาติก่อนให้ พ่อแม่ฟัง Dr. Ian Stevenson แห่ง มหาวิทยาลัย Virginia ได้ศึกษาและยืนยันเรื่องนี้ไว้


---ข.จำได้เพราะถูกสะกดจิต (ใช้กันมากในวงการจิตเวช)


---ค.จำได้ด้วยอำนาจญาณพิเศษที่เกิดจากการเข้าฌาน


---9.มีปรากฏการณ์ทางจิตวิญญาณ (Psychic Phenomena) มากมาย ที่แสดงว่าตายแล้วไม่สูญ เช่น การติดต่อกับคนตาย โดยทางความฝัน การเข้าทรง การเล่นผีถ้วยแก้ว การปรากฏตัว ของคนตายในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น


*8. วัตถุประสงค์ของการเวียนว่ายตายเกิด


---คือ การเรียนรู้ เราเกิดมาเพื่อเรียนรู้ เมื่อถึงที่สุด (ตรัสรู้) แล้วจะได้ยุติการเวียนว่ายตายเกิด (บรรลุนิพพาน) ถ้าเรามองชีวิตแบบนี้ เราจะสนุกสนานเพลิดเพลินกับชีวิต เราจะเห็นว่า


---1.เราเป็นนักเรียนตลอดชาติ เราเกิดมาเรียนรู้ เราจะรู้สึกเป็นหนุ่มสาวตลอดชาติ


---2.โลกทั้งโลก จะเป็นมหาวิทยาลัยโลก (World University)


---3.ทุกแห่งจะเป็นห้องสมุด เต็มไปด้วยหนังสือที่น่าอ่าน


---4.ทุกสิ่งรอบตัวเราและแม้ตัวเราเอง ก็เป็นหนังสือหรือตำรา ที่บรรจุเอาความจริง ที่น่ารู้ไว้นับร้อยนับพัน


---5.ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต ไม่ว่าร้ายหรือดี ล้วนเป็นบทเรียน บทเรียนบางบท อาจยากลำบาก เราอาจเรียนด้วยน้ำตา แต่มันก็มีค่า มันจะทำให้เราฉลาดและแข็งแกร่งขึ้น


---6.ทุกคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นครูของเรา แม้คนขอทาน ก็อาจเป็นครูของเราได้ เขาอาจรู้ศิลปะการขอทานได้ดีกว่าเรา


---7.แม้ความตายก็ไม่ใช่สิ่งน่ากลัว เป็นเพียงการจากชั้นเรียนชั้นหนึ่งไปสู่อีกชั้นหนึ่งเท่านั้น


---8.ชีวิตเป็นการท่องเที่ยว ทัศนศึกษา พ่อ แม่ สามี ภรรยา บุตร ฯลฯ เป็นเพียงเพื่อร่วมคณะนักท่องเที่ยว เมื่อการท่องเที่ยวสิ้นสุดลง ก็ต่างแยกย้ายกันไปตามทางของใครของมัน


*คุณค่าของความเชื่อเรื่องตายแล้วเกิด


---1.ทำให้มีโอกาสแก้ตัวได้ ชาตินี้ไม่สำเร็จ ชาติหน้ายังมีโอกาสแก้ตัวใหม่ ทำให้ชีวิตมีความหวัง


---2.ทำให้มีความรับผิดชอบต่อการกระทำมากขึ้น เพราะทุกอย่างมีความหมายต่ออนาคต


*9.ความจริงหลักของชีวิต


---ชีวิตมีความจริงหลักที่ควรรู้ 3 ประการ คือ


---1.ความไม่เที่ยง ความเปลี่ยนตลอดเวลา (อนิจจัง) ของชีวิต ทุกชีวิตไหลไปตามกระบวนการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป


---2.ความไม่สบาย ความเจ็บปวด ความบกพร่อง การต่อสู้เพื่อแก้ไขความไม่สบาย (ทุกขัง)


---3.ความไม่ใช่ของเรา ความไม่ใช่เรา ความไม่มีตัวเราที่เป็นอมต ถาวร (อนัตตา) ทุกสิ่ง เป็นเพียงกระแสธรรมชาติที่ไหล ไปตามกฎเกณฑ์ของมันเอง เราไม่อาจบังคับบัญชามันได้


---สรุปแล้ว ชีวิตตามที่เป็นอยู่ ยังไม่น่าพอใจ ยังไม่สมบูรณ์ ยังเกิด แก่ เจ็บ ตาย และมีความทุกข์อื่นๆ ทั้งทางกาย และทางใจ


*10.วัตถุประสงค์ของชีวิต


---วัตถุประสงค์ของชีวิต มี 3 ชั้น ท่านเรียกว่า ประโยชน์หรืออัตถะ คือ


---1.ประโยชน์ปัจจุบัน หมายถึง ความมีชีวิตอยู่อย่างสบาย เป็นส่วนตัวและครอบครัว เพราะมีวัตถุทรัพย์


---2.ประโยชน์เบื้องหน้า หมายถึง ความอยู่สุขสบาย อยู่ท่ามกลางผู้อื่น ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า


---3.ประโยชน์สูงสุด ได้แก่ ความสงบสุขสูงสุด ที่เกิดจากการดับกิเลสทั้งหมดได้อย่างสิ้นเชิง


*11.ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆ


---1.ประโยชน์ปัจจุบัน บรรลุถึงได้ด้วย ความขยันหาทรัพย์ รู้จักรักษาทรัพย์ คบเพื่อนที่ดี ดำรงชีพอย่างเหมาะสม


---2.ประโยชน์เบื้องหน้า บรรลุถึงได้ด้วย ศรัทธา ความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ศีล – การงดเว้นจากการเบียดเบียนตนและผู้อื่น จาคะ – การสละส่วนเกิน ออกช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ปัญญา – แสวงหาและมีความรู้ทั้งทางโลก ทางธรรม


---3.ประโยชน์สูงสุด อาจบรรลุถึงได้ด้วย ศีล คือการเว้นจากความชั่วทั้งปวง สมาธิ – คือ การทำจิตให้สงบ ระงับความฟุ้งซ่าน สงบนิ่ง ใสสะอาด ปัญญา – พิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อีกทีหนึ่ง จนเกิดความรู้ชั้นสูง สามารถรู้เห็นไตรลักษณ์ชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อรู้แล้วจิตใจก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง (to learn is to change) ดังนี้


---ก.เมื่อรู้อนิจจัง จิตใจจะไม่ยึดติดในสิ่งใด เพราะถ้ายึดติด จะผิดหวังและเป็นทุกข์ทันที จะเตรียมใจไว้เผชิญกับความไม่แน่นอนของชีวิต จะมองสิ่งต่างๆ ไว้ครบทุกด้าน หวังไว้ทุกด้าน เมื่อด้านใดด้านหนึ่งแสดงตัวออกมา จะไม่ผิดหวัง จะเป็นคนสมหวังตลอดกาล


---ข.เมื่อรู้ทุกขัง จะคุ้นเคยกับทุกข์ เมื่อเผชิญหน้ากับทุกข์ จะไม่ทุกข์มาก จะไม่เสียขวัญ จะหาทางแก้ทุกข์ตามเหตุปัจจัย จะไม่กลัวตาย เมื่อหันไปมองดูผู้อื่น สัตว์อื่น ที่กำลังลอยคอ อยู่ในทะเลทุกข์ จะเกิดความสงสาร เห็นใจ จะไม่เบียดเบียนใคร มีแต่จะหาทางช่วยเหลือให้เขาพ้นจากทุกข์


---ค.เมื่อรู้อนัตตา จะไม่หลงตน หลงคน หลงทรัพย์ จะอยู่ในโลก แต่เหนือโลกนิดหน่อย จิตใจจะมีแต่ความสว่างด้วยความรู้ (วิชชา) สะอาด (วิสุทธิ) เพราะไม่มีกิเลสใดๆ เหลืออยู่ สงบเย็น (สันติ) เพราะไม่มีกิเลสรบกวน และสงสารเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (กรุณา) สภาพจิตเช่นนี้ คือ นิพพาน ในปัจจุบัน



*สรุปลักษณะสำคัญของพุทธธรรม


---พระพุทธศาสนามีลักษณะสำคัญๆ ดังต่อไปนี้


---1.เป็นศาสนาแบบเหตุผลนิยม(rationalistic) เคารพหลักเหตุผล สอนทุกอย่างตามหลักเหตุผล


---2.เป็นศาสนาแบบธรรมชาตินิยม (Naturalistic) สอนตามหลักความเป็นจริงในธรรมชาติ ไม่มีอะไรอยู่เหนือธรรมชาติ นิพพาน ก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ


---3.เป็นศาสนาแบบมนุษยนิยม (Humanistic) โดยมนุษย์ เพื่อมนุษย์ ของมนุษย์ แม้แต่เทพ ก็เป็นเพื่อนร่วมสังสาระเช่นเดียวกับมนุษย์


---4.เป็นศาสนาแบบปฏิบัตินิยม (pragmatic) เน้นการกระทำของมนุษย์ สอนแต่สิ่งที่ปฏิบัติได้ ปรับคำสอนเดิมแบบพราหมณ์ ที่เน้นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้เป็นการปฏิบัติของมนุษย์ เช่น มงคล 38 ทิศ 6 เป็นต้น


---5.เป็นศาสนาสากล (Universalistic) เพราะสอนคำสอนที่เป็นความจริงสากล ใครๆ ก็เรียนรู้และปฏิบัติตามได้ ปฏิบัติครบถ้วนแล้ว ก็ได้บรรลุธรรมเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นชาติหรือศาสนาใด


---6.เป็นศาสนาที่สมบูรณ์ครบถ้วน (Complete) เพราะสอนคำสอนครบทั้งระดับต่ำ ระดับกลางและระดับสูง ทั้งระดับปัจจุบัน ระดับอนาคตและเหนือทั้ง 2 อย่าง ทั้งระดับโลกนี้ โลกหน้า และเหนือโลกทั้ง 2


---7.เป็นศาสนาทางสายกลาง (Middle Way) ไม่ใช่วัตถุนิยม ไม่ใช่จิตนิยม ในทางปฏิบัติ ไม่หย่อนเกินไป ไม่เคร่งเกินไป ในด้านผล มุ่งจิตสงบเป็นกลาง ไม่ฟุ้ง ไม่ฟุบ


---8.เป็นศาสนาแบบประชาธิปไตย (Democratic) ยอมรับความเท่าเทียมกัน โดยกำเนิดของมนุษย์ ไม่มีวรรณะ ให้เสรีภาพแม้ทางความคิด (กาลามสูตร) ไม่บังคับให้เชื่อ เคารพภูมิปัญญาของมนุษย์ ให้สงฆ์ (หมู่คณะ ประชาชน) เป็นใหญ่ในการบริหาร


---9.เป็นศาสนาสันตินิยม (Pacifistic) สอนให้คนมีเมตตากรุณาต่อกัน ในฐานะเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ ใช้ทุกข์ซึ่งเป็นสิ่งประจักษ์ เป็นฐานของเมตตากรุณา จึงได้ผลดีกว่า ใช้สิ่งไม่ประจักษ์เป็นฐาน ดังนั้นจึงไม่เคยมีสงครามในพระนามของพระพุทธเจ้า



*พระวินัย (Discipline)


---1.พระวินัย เป็นประเภทคำสั่งของพระพุทธเจ้า สำหรับบุคคล ที่เป็นสมาชิกชั้นในของพระพุทธศาสนา สถาบันสงฆ์เป็นสมาคมที่มีกฎระเบียบ ผู้เข้ามาเป็นสมาชิก คือ พระสงฆ์หมายถึง ผู้เลื่อมใสศรัทธาในอุดมการณ์ของสมาคมนั้น จึงยอมตัวเข้ามาเป็นสมาชิก และยินดีจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทุกอย่าง


---2.เดิมทีเดียว วินัยกับศีล มีความหมายเดียวกัน ต่อมาแยกกัน ข้อห้ามสำหรับพระเรียกว่า "วินัย" มีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย เรียกว่า "อาบัติ" ข้อห้ามสำหรับฆราวาส ไม่มีบทลงโทษระบุไว้ แต่ถ้ารุนแรง ก็อาจมีโทษทางกฎหมายบ้านเมืองด้วย เรียกว่า "ศีล"


---3.พระพุทธเจ้ามิได้ทรงบัญญัติพระวินัยไว้ล่วงหน้า แต่ทรงบัญญัติทีละข้อ ตามการกระทำที่ไม่เหมาะสมของพระ เกิดขึ้นในระยะแรกๆ ยังไม่มีวินัยเลย เพราะพระสงฆ์ทั้งหมด เป็นพระอรหันต์ ไม่ทำความชั่วใดๆ โดยอัตโนมัติ วินัยจึงไม่จำเป็น


---4.ประมาณ 1 ปี  หลังจากการตรัสรู้ มีคนธรรมดาเข้ามาบวช และเริ่มทำความผิด จึงทรงเริ่มบัญญัติพระวินัย วินัยข้อแรก คือ ห้ามพระทำเพศสัมพันธ์ พระสุทินเป็นผู้ทำผิดเป็นองค์แรก


---5.เมื่อมีผู้ทำผิดเรื่องเดียวกันในรูปแบบใหม่ ก็ทรงบัญญัติพระวินัยเพิ่มเติมทีละข้อเรียกว่า อนุบัญญัติ


---6.วินัยของพระภิกษุและภิกษุณี มีโทษหนัก – เบาต่างกัน ดังนี้


---ก.โทษหนัก ขาดจากความเป็นพระ เรียก "ปาราชิก" มี 4 ข้อ


---ข.โทษหนักรองลงมา ต้องอยู่กรรม เรียก "สังฆาทิเสส" มี 13 ข้อ


---ค.โทษหนักแต่ไม่แน่ ต้องสอบสวนก่อน เรียก "อนิยต" มี 2 ข้อ


---ง.โทษเบา–หนัก ต้องสละของ แล้วแสดงอาบัติ เรียกว่า "นิสัคคียปาจิตตีย์" มี 30 ข้อ


---จ.โทษเบาอย่างกลาง ต้องแสดงอาบัติ เรียกว่า "ปาจิตตีย์" มี 92 ข้อ


---ฉ.โทษเบาอย่างเบา ต้องแสดงคืน เรียก "ปาฏิเทศนียะ" มี 4 ข้อ


---ช.โทษเล็กน้อย ต้องแสดงอาบัติ เรียกว่า "เสขิยะ"  มี 75 ข้อ


---ซ.วิธีระงับอธิกรณ์ เรียก  "อธิกรณสมถะ" มี 7 ข้อ


---7.พระวินัยบัญญัติขึ้น ตามกาละ เทศะและเหตุการณ์ พระพุทธเจ้าจึงทรงยกเลิก แก้ไข ปรับปรุงอยู่เสมอ



---8.ก่อนดับขันธปรินิพพาน ทรงอนุญาตให้สงฆ์ยกเลิก วินัยเล็กน้อยบางข้อได้...........





............................................................




ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

 (แก้ไขแล้ว ป.)

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 25 กันยายน 2558


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท28/10/2024
ผู้เข้าชม7,741,528
เปิดเพจ11,908,453
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view