/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

การจำแนกประเภทของกรรม

การจำแนกประเภทของกรรม

ใน ศาสนาพราหมณ์ คนส่วนใหญ่เชื่อกันว่าการอาบน้ำชำระกายในแม่น้ำคงคาซึ่งเป็นแม่น้ำ ศักดิ์สิทธิ์

(จะทำให้สามารถชำระล้างบาปได้ ในเมืองไทยชาวพุทธจำนวนไม่น้อยก็เชื่อต่อกันมาว่า)

(การอาบน้ำพระพุทธมนต์จะช่วยชำระล้างเคราะห์กรรม)  

(ของตนได้ ความเชื่อเช่นนี้มีความเป็นมาอย่างไร...)







---พระผู้มีประภาคตรัสตอบว่า คนพาลมีกรรมชั่ว แม้จะไปยังแม่น้ำพาหุกา ท่าน้ำอธิกักกะ ท่าน้ำคยาแม่น้ำสุนทรกา แม่น้ำสรัสสวดี ท่าน้ำปยาคะ และแม่น้ำพาหุมตีเป็นประจำ ก็ยังบริสุทธิ์ไม่ได้ แม่น้ำสุนทริกา ท่าน้ำปคายะ แม่น้ำพาหุกา จักทำอะไรได้จะพึงชำระคนผู้มีเวร ผู้ทำกรรมหยาบช้า ผู้มีกรรมชั่วให้บริสุทธิ์นั้น ไม่ได้เลย


(กดลิงค์บน)


*เรื่องชะตา ชีวิต ใครคิดชี้    ผิดชั่วดี ที่ทำ  จงจำหนา


---ถ้าเธอทำกรรมชั่ว          ตัวเธอมา          เกิดผวา พาช้ำ ระกำทรวง


---ถ้าเธอทำกรรมดี          เป็นศรีศักดิ์          อแม่จัก สบาย หมดคลายหวง


---แม้ชะตาชีวิต          โชคผิดดวง          ถึงตกช่วง โชคร้าย กลายเป็นดี.

                                                           
---หยาดกวี..

 

*ชีวิตนี้น้อยนัก



---สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก  วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร

 

---พุทธศาสนาสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า


---อัปฺปกญฺจิทํ ชีวิตมาหุธีรา – ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก


---ทุก ชีวิต ไม่ว่าคนไม่ว่าสัตว์ มิได้มีเพียงเฉพาะชีวิตนี้ คือมิได้มีเพียงชีวิตในชาตินี้ชาติเดียว แต่ทุกชีวิตมีทั้งชีวิตในชาติอดีต ชีวิตในชาติปัจจุบัน และชีวิตในชาติอนาคต “ชีวิตนี้น้อยนัก” หมายถึงชีวิตในชาติปัจจุบันน้อยนัก สั้นนัก


---ชีวิตคืออายุ ชีวิตในปัจจุบันชาติของแต่ละคนอย่างยืนนานก็เกินร้อยปีได้ไม่เท่าไหร่ ซึ่งก็ดูราวเป็นอายุที่ไม่ยืนมากนัก แม้ไม่นำไปเปรียบเทียบกับชีวิตที่ต้องผ่านมาแล้วในอดีต ที่นับชาติไม่ถ้วนนับปีไม่ได้ และชีวิตที่จะต้องเวียนวนเกิดตายต่อไปอีกในอนาคตที่จะนับชาติไม่ถ้วน นับปีไม่ได้อีกเช่นกัน


---ที่ปราชญ์ท่านว่า “ชีวิตนี้น้อยนัก” นั้น ท่านมุ่งให้เปรียบเทียบกับชีวิตนี้กับชีวิตในอดีตที่นับชาติไม่ถ้วน และชีวิตในอนาคตที่จะนับชาติไม่ถ้วนอีกเช่นกัน สำหรับผู้ไม่ยิ่งด้วยปัญญา ไม่สามารถพาตนพ้นทุกข์สิ้นเชิงได้


---ทุกชีวิตก่อนแต่จะได้มาเป็นคนเป็น สัตว์อยู่ในปัจจุบันชาติ ต่างเป็นอะไรต่ออะไรมาแล้วมากมาย แยกออกไม่ได้ว่ามีกรรมดีกรรมชั่วอะไรบ้าง ทำกรรมใดก่อน ทำกรรมใดหลัง ทั้งกรรมดีกรรมชั่วที่ทำไว้ในชาติอดีตทั้งหลาย ย่อมมากมายเกินกว่าที่ได้มากระทำในชาตินี้ ชีวิตนี้อย่างประมาณไม่ได้ และกรรมดีกรรมชั่วทั้งหลายเหล่านั้นย่อมให้ผลตรงตามเหตุทุกประการ แม้ว่าผลจะไม่อาจเกิดขึ้นพร้อมกันทุกสิ่งทุกอย่าง และไม่อาจเรียงลำดับตามเหตุที่ได้กระทำแล้วก็ตาม แต่ผลทั้งหลายย่อมเกิดแน่ แม้เหตุได้กระทำแล้ว


---เมื่อมีเหตุย่อมมีผล เมื่อทำเหตุย่อมได้รับผล และผลย่อมตรงตามเหตุเสมอ ผู้ใดทำผู้นั้นจักเป็นผู้รับผล เที่ยงแท้แน่นอน



*การจำแนกประเภทของกรรม



---กรรมดี หรือ กรรมชั่วก็ตาม กระทำทางกาย วาจา หรือทางใจก็ตาม สามารถจำแนกอีก เป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลายแบบ ดังนี้



*กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) 4 อย่าง



*กรรมจำแนกตามหน้าที่ของกรรม (กิจจตุกะ) 4 อย่าง



*กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกะ) 4 อย่าง


*กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม (ปากฐานจตุกะ) 4 อย่าง



---การกระทำทางกาย วาจา ใจ ทั้งที่เป็นฝ่ายดีหรือไม่ดีก็ตาม ย่อมตอบสนองแก่ผู้กระทำ ไม่เร็วก็ช้า เวลาใดเวลาหนึ่ง กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) แสดงกำหนดเวลา แห่งการให้ผลของกรรม มี 4 อย่าง คือ



---1.ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้



---2.อุปปัชชเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า



---3.อปราปริเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆไป



---4.อโหสิกรรม หมายถึง กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก



*กรรมจำแนกตามหน้าที่การงานของกรรม (กิจจตุกะ) กรรมมีหน้าที่ ที่จะต้องกระทำสี่อย่าง คือ



---1.ชนกกรรม หมายถึง กรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด กรรมแต่งให้เกิด



---2.อุปัตถัมภกกรรม หมายถึง กรรมสนับสนุน กรรมที่ช่วยสนับสนุนหรือซ้ำเติม ต่อจากชนกกรรม



---3.อุปปีฬิกกรรม หมายถึง กรรมบีบคั้น กรรมที่มาให้ผล บีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นไปได้นาน



---4.อุปฆาตกกรรม หมายถึง กรรมตัดรอน กรรมที่แรงฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมทั้งสองอย่างนั้น ให้ขาดไปเสียทีเดียว



*กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม(ปากทานปริยายจตุกะ) จำแนกตามความยักเยื้อง หรือ ลำดับความแรงในการให้ผล 4 อย่าง



---1.ครุกกรรม (หนังสือพุทธธรรมสะกดครุกกรรม หนังสือกรรมทีปนีสะกดครุกรรม) หมายถึง กรรมหนัก ให้ผลก่อน เช่น ฌานสมาบัติ 8 หรือ อนันตริยกรรม



---2.พหุลกรรม หรือ อาจิณกรรม หมายถึง กรรมที่ทำมาก หรือ ทำจนเคยชิน ให้ผลรองจากครุกรรม



---3.อาสันนกรรม หมายถึง กรรมจวนเจียน หรือ กรรมใกล้ตาย คือกรรมที่ทำเมื่อจวนจะตาย จับใจอยู่ใหม่ๆ ถ้าไม่มีสองข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนอื่น



---4.กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม หมายถึง กรรมสักแต่ว่าทำ กรรมที่ทำไว้ด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ต่อเมื่อไม่มีกรรมอันอื่นให้ผลแล้ว กรรมนี้จึงจะให้ผล



*กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม(ปากฐาน จตุกะ) แสดงที่ตั้งแห่งผลของกรรมสี่อย่าง เป็นการแสดงกรรมโดยอภิธรรมนัย(ข้ออื่นๆข้างต้นเป็นการแสดงกรรมโดยสุตตัน ตนัย)



---1.อกุศลกรรม 



---2.กามาวจรกุศลกรรม



---3.รูปาวจรกุศลกรรม 



---4.อรูปาวจรกุศลกรรม



*นอกจากเรื่องของกรรมดีกรรมชั่วแล้ว ยังมีการอธิบายกรรมอีกนัยหนึ่ง โดยอธิบายถึงกรรมดำกรรมขาว จำแนกเป็นกรรม 4 ประการ คือ



---1.กรรมดำมีวิบากดำ ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีความเบียดเบียนบุคคลอื่น ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เช่น เป็นผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ มีจิตประทุษร้ายต่อพระตถาคต ยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมา



---2.กรรมขาวมีวิบากขาว ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีไม่ความเบียดเบียนบุคคลอื่น ย่อมได้เสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เช่น เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มากไปด้วยความเพ่งเล็งอยากได้ มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ



---3.กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีความเบียดเบียนบุคคลอื่นบ้าง ไม่ความเบียดเบียนบุคคลอื่นบ้าง ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่ความเบียดเบียนบ้าง มีทั้งสุขและทั้งทุกข์ระคนกัน



---4.กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ได้แก่ เจตนาใดเพื่อละกรรมดำอันมีวิบากดำ เจตนาใดเพื่อละกรรมขาวอันมีวิบากขาว และเจตนาใดเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม เช่น ผู้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด โพชฌงค์เจ็ด



---สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ (จูฬกัมมวิภังคสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔)


---"พระอภิธัมมัตถสังคหะ".และ"อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา". พระพุทธโฆษาจารย์. "คัมภีร์พระวิสุทธิมรรค". พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม". พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร). "กรรมทีปนี". "อัฏฐสาลินีอรรถกถา". อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต กรรมวรรค จูฬกัมมวิภังคสูตร วาเสฏฐสูตร พระอภิธรรมออนไลน์.


*กรรมคืออะไร 


---สัตว์ ทั้งหลายย่อมสำเร็จการกระทำ โดยอาศัยธรรมชาติใด ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้สำเร็จการกระทำนั้น ชื่อว่า กรรม หรือหมายถึงการกระทำ ที่ประกอบด้วยความตั้งใจหรือจงใจที่จะทำ กรรม เป็นคำกลางๆที่ใช้ประกอบกับคำอื่น และแสดงความหมายไปตามคำนั้น เช่น กุศลกรรม แปลว่า กรรมดี อกุศลกรรม แปลว่า กรรมชั่ว เป็นต้น


---ในฉักกนิบาตอังคุตร พระบาลีแสดงว่า...

 

---ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่บุคคลมีความตั้งใจ เป็นเครื่องกระตุ้นแล้ว  กระทำการงานนั้นสำเร็จลง ด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ด้วยเหตุนี  ตถาคต จึงกล่าวว่า เจตนานี้เป็นตัวกรรม


*ทางแห่งการทำกรรม จำแนกตามคุณภาพ หรือตามธรรมชาติที่เป็นมูลเหตุมี 2 อย่าง คือ


---1.กรรมฝ่ายไม่ดีคือกรรมชั่ว เรียก อกุศลกรรม หรือ อกุศลกรรมบถ


---2.กรรมฝ่ายดี เรียก กุศลกรรม หรือ กุศลกรรมบถ

 

---คำว่า อกุศลกรรมบถ แยกศัพท์ได้ คือ อ = ไม่ กุศล = ดี, ฉลาด กรรม = การกระทำ บถ = ทาง รวมเรียกว่า ทางแห่งการทำวความไม่ดี หรือ ไม่ฉลาด มี 10 อย่าง ซึ่งฝ่ายดีที่เรียก กุศลกรรมบถ ก็มี 10 อย่าง เช่นเดียวกัน ในที่นี้จะกล่าวเพียงการกระทำฝ่ายที่ชั่วที่เรียกว่า อกุศล ซึ่งเหตุต้นที่ก่อให้เกิดผลของกรรมที่เรียกกันติดปากโดยทั่วไปว่า กรรมเวร หรือเวรกรรม ตามความรู้สึกโดยทั่ว ๆ ไป เมื่อกล่าวคำว่า กรรม เพียงคำเดียว คนทั้งหลายจะหมายถึงผลแห่งการกระทำที่ออกมาไม่ดี ขอได้โปรดศึกษา ดังต่อไปนี้


*อกุศลกรรมบถ คือ ทางแห่งการทำที่ไม่ฉลาด หรือทำชั่ว อันเป็นการกระทำกรรมที่เป็นหนทางไปสู่อบายภูมิมี 10 อย่าง ได้แก่

 

*1.การทำชั่วทางกายมี 3 อย่าง ได้แก่


---1.1 การฆ่าสัตว์


---1.2 การลักทรัพย์


---1.3 การผิดประเวณี


*2.การทำชั่วทางคำพูด มี 4 อย่าง ได้แก่


---2.1 การพูดปด


---2.2 การพูดส่อเสียด


---2.3 การพูดคำหยาบ


---2.4 การพูดเพ้อเจ้อ


*3.การทำชั่วทางความคิด มี 3 อย่าง ได้แก่


---3.1 เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น


---3.2 คิดปองร้ายผู้อื่น


---3.3 มีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ)

 

*ลักษณะการทำกรรมทั้ง 10 ทาง มีราบละเอียดดังนี้

 

*1.การฆ่าสัตว์ คือทำให้สัตว์นั้นตายก่อนจะถึงอายุขัยของตน  การกระทำที่ทำให้การฆ่าสำเร็จลง ต้องประกอบด้วยองค์ 5 คือ


---1.สัตว์มีชีวิตอยู่


---2.รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต


---3.มีจิตคิดจะฆ่า


---4.ทำความเพียรเพื่อให้ตาย


---5.สัตว์ตายลงเพราะความเพียรนั้น


*ความเพียรพยายามในการฆ่า อันเป็ฯองค์ประกอบอย่างหนึ่งให้เข้าถึงอกุศลกรรมบถนั้น มคความเพียรพยายามอยู่ 6 ประการคือ


---1.พยายามกระทำด้วยตนเอง


---2.ใช้ให้ผู้อื่นกระทำ


---3.ด้วยการปล่อยอาวุธ มีการขว้างปา เป็นต้น


---4.พยายามโดยการสร้างเครื่องปรหารไว้อย่างถาวร มีการทำหรือหาซื้ออาวุธปืน มีด หรือขุดหลุมพรางดักไว้


---5.พยายามโดยใช้วิชาอาคม ไสยศาสตร์


---6.พยายามใช้อิทธิฤทธิ์ ที่เป็นกัมมัชชอิทธิฤทธิ์ของตนประหาร เช่นท้าวเวสสุวรรณระหว่างที่ยังมิได้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคล เคยฆ่าพวกยักษ์ที่เป็นบริวารด้วยการถลึงตาเป็นต้น


*2.การลักพรัพย์ คือ การยึดเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้อนุญาต  การกระทำที่ได้ชื่อว่าลักพรัพย์นั้น ต้องประกอบด้วยองค์ 5 คือ


---1.วัตถุสิ้งของนั้นมีเจ้าของ


---2.รู้ว่าวัตถุสิ้งของนั้นมีเจ้าของ


---3.มีจิตคิดจะลักพรัพย์


---4.การทำความเพียรเพื่อจะลักพรัพย์นั้น


---5.สิ่งของนั้นได้มาด้วยความเพียรครั้งนั้น


*ความเพียรพยายามในการลักพรัพย์มีอยู่ 6 ประการ คือ


---1.ลักทรัพย์ด้วยตนเอง


---2.ใช้ให้คนอื่นลักทรัพย์ด้วยวาจา หรือเขียนหนังสือ


---3.ทิ้งสิ่งของไว้หรือโยนให้คนอื่นพวกเดียวกัน หรือทิ้งของที่ต้องเสียภาษีออกไปให้พ้นเขต


---4.สั่งสมัครพรรคพวกไว้ ได้โอกาสให้พยายามลักทรัพย์นั้นมา


---5.ใช้เวทมนต์คาถาให้เจ้าทรัพย์หลงใหล หยิบยื่นทรัพย์นั้นให้ หรือใช้คาถาสะกดให้เจ้าทรัพย์หลับแล้วเข้าลักทรัพย์


---6.ใช้อิทธิฤทธิ์ต่างๆ


*3.การผิดประเวณี คือ การประพฤติลามกในการเสพเมถุน การผิดประเวณีนี้ ย่อมสำเร็จได้ด้วยการกระทำด้วยกายฝ่ายเดียว มิใช่การกระทำด้วยวาจาหรือใจก็ได้  การประพฤติผิดในกามนั้น ต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ


---1.มีวัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง


---2.มีจิตคิดจะเสพในวัตถุนั้น


---3.มีความพยายามจะเสพเมถุน


---4.มีความพอใจในการประกอบมรรคซึ่งกันและกัน


---ส่วนความเพียรพยายามนั้น ได้แก่การกระทำด้วยตนเองอย่างเดียว


*4.การพูดปด คือ การพูดที่ไม่ตรงกับความจริง  องค์ประกอบของการพูดปด มี 4 ประการ คือ


---1.สิ่งของหรือเรื่องราวที่ไม่เป็นความจริง


---2.มีจิตคิดจะมุสา


---3.ทำความเพียรเพื่อจะมุสา


---4.ผู้อื่นเชื่อตามที่มุสานั้น


*ความเพียรพยายามที่ชื่อว่าพูดปดมี 4 ประการ คือ


---1.พยายามมุสาวาทด้วยตนเอง


---2.ใช้ให้ผู้อื่นมุสา


---3.เขียนเรื่องราวที่ไม่จริงส่งไปให้คนอื่น เช่นส่งจดหมาย บัตรสนเทห์ หรือประกาศทางวิทยุ


---4.เขียนเรื่องที่ไม่จริงประกาศไว้ พิมพ์เป็นหนังสือจารึกลงในแผ่นศิลา หรืออัดเสียงไว้เป็นต้น


*5.การพูดส่อเสียด คือ การพูดที่ทำให้เกิดแตกแยก องค์ประกอบของการพูดที่ทำให้เกิดการแตกแยก มี 4 ประการ คือ


---1.มีผู้ที่จะถูกทำให้แตกแยก


---2.มีเจตนามุ่งให้แตกแยกกัน


---3.ทำความเพียรให้แตกจากกัน


---4.ผู้ฟังรู้เนื้อความนั้น


*ความเพียรพยายามในการกระทำให้เกิดการแตกแยก มี 2 ประการ คือ


---1.การส่อเสียดโดยทางกาย มีการแสดงกิริยาท่าทางให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ความหมายของตน


---2.การส่อเสียดโดยทางวาจา คือ พูดยุแหย่ให้บุคคล 2 ฝ่ายแตกแยกกัน


*6.การพูดคำหยาบ คือ คำพูดที่หยาบ ได้แก่การด่าทอ บริภาษ หรือกล่าววาจาสาบแช่งวาจา ที่เป็นอย่างหยาบ ที่เรียกว่าผรุสวาจานี้ กล่าวโดยองค์ธรรมแล้ว ได้แก่เจตนาที่อยู่ในโทสมูลจิต ที่เป็นเหตุแห่งการด่า การแช่งต่าง ๆ  องค์ประกอบของการพูดคำหยาบ มี 3 ประการคือ


---1.มีความโกรธ


---2.มีผู้ถูกด่า


---3.มีการกล่าววาจาด่าแช่ง


*ความพยายามในการแสดงคำหยาบ มี 2 ประการ คือ


---1.พยายามแสดงกิริยาหยาบคายต่าง ๆ ทางกาย ทำให้ผู้เห็นรู้สึกโกรธ อาย ไม่พอใจหรือเขียนหนังสือด่า เป็นต้น


---2.พยายามกล่าวคำหยาบทางวาจา ซึ่งเป็นผรุสวาจาคำหยาบโดยตรง


---7.การพูดเพ้อเจ้อ คือ การกล่าววาจาที่ทำลายประโยชน์และความสุข


---การ เล่าเรื่องภาพยนต์ โขน ละคร หรือพูดจาตลกคนอง ตลอดจนนักเขียนนวนิยาย จินตกวี เหล่านี้ จัดเป็นลักษณะเพ้อเจ้อทั้งสิ้น เพราะผู้ฟังก็ตาม ผู้อ่านก็ตาม มิได้รับประโยชน์ที่ก่อให้เกิดปัญญา และแก้ทุกข์ในชีวิตได้แต่อย่างใด เพียงแต่ให้จิตใจเพลินไปชั่วครั้งชั่วคราวที่ฟัง หรืออ่านอยู่เท่านั้น  องค์ประกอบของการพูดเพ้อเจ้อ มี 2 ประการ คือ


---1.เจตนากล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์


---2.กล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์นั้น


*สฬายตนะสังยุตตพระบาลีว่า


---ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย เมื่อได้มีการพบกันระหว่าง 2 องค์แล้ว การงานที่ควรประพฤตินั้นมี 2 ประการคือ กล่าวถ้อยคำที่เกี่ยวกับธรรมะ หรือมิฉะนั้นก็จงนิ่งเฉยเสีย


*8.ความเพ่งเล็งอยากได้ในทรัพย์สมบัติของผู้อื่น  นิยาม : ธรรมชาติใด ย่อมคิดถึงทรัพย์สมบัติของผู้อื่นอยูเฉพาะหน้า ธรรมชาตินั้นชื่อว่า อภิชฒาความเพ่งเล็งอยากได้องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ลัดษณะความโลภมี 2 อย่าง    


---1.ความอยากได้โดยชอบธรรม (สุจริต ซื้อ แลกเปลี่ยน ขอ)


---2.ความอยากได้โดยไม่ชอบธรรม (ทุจริต ขโมย ฉ้อโกง ปล้นจี้) นี้เป็นตัวอย่างของการเพ่งเล็งอยากได้

 

*องค์ประกอบของการเพ่งเล็งอยากได้ มี 2 ประการคือ


---1.ทรัพย์สมบัติของผู้อื่น


---2.มีจิตคิดให้เป็นของตน


*9.พยาบาท คือ อาการที่มุ่งร้ายต่อผู้อื่น  นิยาม  ประโยชน์และความสุขอันใดย่อมเสียไปด้วยโทสะอันใด ฉะนั้นโทสะอันนั้นชื่อว่า พยาบาท พยาบาทที่เป็นมโนทุจริตนั้น ต้องเป็นโทสะชนิดหยาบมาก มีอาการมุ่งร้ายต่อผู้อื่น อันมีความปรารถนาที่จะทำลาย

 

---ประโยชน์ และความสุขของผู้อื่นให้เสียไป เช่นเมื่อโกรธแค้นผู้อื่น ก็อาฆาตคิดในใจ หาวิธีการทำให้ผู้นั้นพินาศฉิบหาย หรือนึกแช่งให้ผู้นั้ ได้รับอันตรายเสียหายต่างๆ โทสะชนิดหยาบนี้จึงจัดเป็นมโนทุจริต  องค์ประกอบแห่งมโนทุจริต มี 2ประการคือ


---1.ผู้อื่น

 

---2.คิดให้ความเสียหายเกิดขึ้น 10. มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเป็นที่วิปริต หมายถึงความเห็นที่ผิดแผกไปจากความเป็นจริง นิยาม : ธรรมชาติใด ย่อมมีความเป็นวิปริตไปจากความเป็นจริง ธรรมชาตินั้นชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ 


*ทิฏฐิ คือ ความเป็นเป็นคตำกลางๆเพื่อประกอบกับคำอื่น เช่น


---1.สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาอันเป็นชอบหรือความเห็นถูก


---2.มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดไปจากความเป็นจริง

 

---แยก ศัพท์ออกได้เป็น สอง ศัพท์ คือ มิจฉา แปลว่า วิปริต และทิฏฐิ แปลว่า ความเห็น เมื่อรวมกันแล้วเป็นมิจฉาทิฏฐิ แปลว่าความเห็นที่วิปริต หมายถึง ความเห็นที่ผิดแผกไปจากความเป็นจริงหรือ


---ธรรมชาติ ใดย่อมมีความเห็นที่วิปริตผิดไปจากความเป็นจริง ธรรมชาตินั้น ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐินี้พระพุทธองค์ได้แสดงไว้อย่างกว้างขวาง เช่น

 

---สัก กายทิฏฐิ ความเห็นผิดยึดมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นเรา เป็นต้น มิจฉาทิฏฐิ 62 ประการแสดงไว้ใน พรหมชาลสูตร และ นิตยมิจฉาทิฏฐิ แสดงไว้ในสามัญผลสูตร

 

---สำ หรับมิจฉาทิฏฐิในที่นี้มุ่งหมายเอา นิตยมิจฉาทิฏฐิ 3 ประการ อันเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหยาบ ที่ให้สำเร็จเป็นอกุศลกรรมบถได้ ส่วนมิจฉาทิฏฐิอย่างอื่น เป็นเพียงทิฏฐิสามัญเท่านั้น

 

*นิตยมิจฉาทิฏฐิ 3 ประการ คือ

 

---1.นัตถิกทิฏฐิ คือมีควาเห็นว่า ทำไรก็ตาม ผลที่พึงได้รับนั้นย่อมไม่มี ความเห็นผิดชนิดนี้ จัดเป็นอุจเฉททิฏฐิด้วย คือเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายตายไปแล้วก็สูญไป ไม่มีการเกิดอีกในสามัญผลสูตร แสดงความเห็นผิดที่เป็นนัตถิกทิฏฐินี้ว่า ได้มาจากความเห็นผิด 10 อย่างคือ (พระพุทธองค์ตรัสดังนี้)

 

---ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย มีอยู่ สมณพราหมณ์ บางพวกมีวาทะอย่างนี้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า

 

---1.การทำบุญไม่มีผล

 

---2.การบูชาต่างไม่มีผล


---3.การต้อนรับเชื้อเชิญ หรือการเคารพนับถือไม่มีผล


---4.ผลหรือวิบากของการทำดีทำชั่วไม่มีผล


---5.ชาตินี้ไม่มี

 

---6.ชาติหน้าไม่มี 

    

---7.บุญคุณของมารดาไม่มี่


---8.บุญคุณของบิดาไม่มี

 

---9.สัตว์ดลกที่ผุดเกิดและเติบโตทันที โดยไม่มีพ่อแม่ได้แก่สัตว์นรก, เปรต, เทวดา, พรหมนั้นไม่มี


---10.สมณพราหมณ์ที่รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเอง และสอนให้ผู้อื่นที่ถึงพร้อมด้วยสามัคคี ปฏิบัติตามโดยชอบไม่มี

 

---ดู ก่อนคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นอันหวังได้ว่า จะต้องเบื่อหน่ายในกุศลธรรมสาม คือ กายสุจริต วจีสุจริจ และมโนสุจริต และจะยึดถือปฏิบัติอยู่แต่ในอกุศลธรรมสาม คือ การทุจริต วจีทุจริต และ มโนทุจริต ข้อนั้นเพราะเหตุใด ก็เพราะสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นไม่เห็นโทษไม่เห็นความต่ำทราม ไม่เห็นความเศ่ร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เห็นอานิสงส์ในการออกจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เห็นคุณค่าแห่งความบริสุทธิ์ของกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ปรโลกมีอยู่แท้ๆเขากลับมีความเห็นว่า ปรโลกไม่มี ฉะนั้นความเห็นของเขา จึงจัดเป็นมิฉาทิฏฐิ ก็ปรโลกมีอยู่แท้ๆเขากลับคิดเห็นว่าปรโลกไม่มีฉะนั้นความคิดของเขาเป็นมิจฉา ทิฏฐิสังกัปปะ ก็ปรโลกมีอยู่แท้ๆเขากลับพูดว่าปรโลกไม่มี ฉะนั้คำพูดของเขาจึงจัดเป็นมิจฉาวาจา

 

---อนึ่ง พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมรู้ยู่แก่ใจว่า ปรโลกมีอยู่ ฉะนั้นผู้ที่ถือว่าปรโลกไม่มีจึงได้ชื่อว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อพระอรหันต์ทั้งหลายอีกด้วย ในเมื่อตัวเองเชื่อถือเช่นนั้น และสอนให้คนอื่นเชื่อตาม ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้ประกาศอสัทธรรม และด้วยอสัทธรรมที่ตัวเองประกาศออกไปเช่นนั้นย่อมจะเป็นเหตุให้ยกตนข่มคน อื่นอีกด้วย ย่อมละศีลได้ง่าย และประพฤติอยู่แต่ในทางทุศีล

 

---ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมก่อให้เกิดอกุศลธรรมไม่น้อยทีเดียว

 

---อนึ่ง ในเรื่องปรโลกนี้ ท่านคฤหบดีทั้งหลาย สำหรับคนที่ฉลาด เขาย่อมคิดอย่างนี้ว่าถ้าหากปรโลกไม่มีคนที่ทำบาปไว้ ก็นับว่าปลอดภัยไป แต่ถ้าหากปรโลกมีจริงคนที่ทำบาปตายไปแล้ว ก็จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือแม้จะไม่พูดถึงเรื่องปรโลก แต่คนที่มีความเห็นผิด และเป็นผู้เป็นผู้ทุศีลก็ย่อมถูกวิญญูชนติเตียนในโลกนี้เอง เพราะฉะนั้น คนที่มีความเห็นผิดจึงต้องประสบผลร้ายถึง 2 ทางคือ ถูกติเตียนในโลกนี้ และเมื่อตายไปแล้วก็จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต และนรกอีกด้วย

 

---2.อเหตุกทิฏฐิ คือ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ (จะชั่วดีมีสุข ทุกข์มีโชคอับโชค เกิดเพราะความบังเอิญ) หมายถึงความเห็นที่ว่าสัตว์ทั้หลาย ที่ได้รับความลำบาก หรือความสบายก็ตามไม่ได้อาศัยเหตุใดๆให้เกิดขึ้นเลย แต่เป็นไปเองทั้งนั้น ในสามัญผลสูตรแสดงไว้ดังนี้

 

---ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย มีอยู่ สมณพราหมณ์บางพวกมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เหตุปัจจัยแห่งความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายไม่มี สัตว์ทั้งหลางไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ก็บริสุทธิ์ได้เอง กำลัง ความเพียร เรี่ยวแรง ความบากบั่น เพื่อความเศร้าหมอง หรือเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย่ เหล่านี้ไม่มีประโยชน์ เพราะสัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วก็ดีที่กำลังจะเกิดก็ดีสิ่งที่มีชีวิตทั้งปวง ก็ดี ทั้งหมดนี้ไม่มีอำนาจไม่มีกำลังไม่มีความเพียรในอันที่จะช่วยตัวเองให้เศร้า หมอง หรือบริสุทธิ์ แต่ทั้งหมดย่อมแปรเปลี่ยนไปตามโชคดีโชคร้าย และตามสิ่งแวดล้อมที่ตัวเองไปเกิดอยู่ เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างไรในฐานะต่างๆก็เพราะโชคดี โชคร้าย และสภาพของสิ่งแวดล้อม

 

---ดู ก่อนคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นอันหวังได้ว่า จะต้องเบื่อหน่ายในกุศลธรรมสามคือ กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต และจะยึดถือปฏิบัติอยู่แต่ในอกุศลธรรมสาม เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมก่อให้เกิดอกุศลธรรมไม่น้อยทีเดียว ฯลฯ ในสามัญผลสูตรอรรถกถา แสดงไว้ว่า

 

---ผู้ที่เห็นว่า ความสุข-ความทุข์ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ไม่เกี่ยวเนื่องมาจากเหตุก็เท่ากับว่าเป็นการปฏิเสธทั้งเหตุและผลพร้อมกันไปด้วย   

   

---3.อกิริยทิฏฐิ คือความเห็นว่า การกระทำไม่สำคัญ หมายถึงความเห็นที่ว่าการกระทำต่างๆของสัตว์ทั้งหลายนั้น ไม่เป็นบาป หรือเป็นบุญแต่ประการใด แสดงไว้ในสามัญผลสูตรดังนี้

 

---ดู ก่อนคฤหบดีทั้งหลาย มีอยู่สมณพราหมณ์บางพวกมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่าทำเองก็ดีให้คนอื่นทำก็ดีตัดเองก็ให้คนอื่นตัดก็ดี เผาเองก็ดี ให้คนอื่นเผาก็ดี ทำให้เศร้าโศกเองก็ดี สั่งให้คนอื่นเศร้าโศกก็ดี ทำให้ลำบากเองก็ดี สั่งให้คนอื่นทำให้ลำบากก็ดีทำให้ดิ้นรนเองก็ดีสั่งให้คนอื่นทำให้ดิ้นรนก็ ดี ฆ่าสัตว์เองก็ดี สั่งให้คนอื่นฆ่าก็ดี ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ก็ดีตัดช่องย่องเบาก็ดี ขึ้นปล้นก็ดี แอบซุ่มอยู่ข้างทางก็ดี ประพฤติผิดในภรรยาคนอื่นก็ดีพูดเท็จก็ดี ผู้ที่กระทำดังกล่าวมานี้ ไม่เชื่อว่ากระทำบาป แม้หากว่าคนใดพึงฆ่าสัตว์ทั้งหลายบนพื้นปฐพีนี้ด้วยจักรอันคมกริบ จนกระทั่งทั่วแผ่นดินนี้เป็นสานแห่งเนื้อ บาปเพราะเหตุที่ฆ่าสัตว์ถึงปานนี้ไม่มี การมาของบาปไม่มี หรือแม้หากว่า จะพึงไปสู่ฝั่งทางทิศใต้ของแม่น้ำคงคา ฆ่าเองก็ดีหรือให้คนอื่ฆ่าก็ดี ตัดเองก็ดีให้คนอื่นตัดก็ดีเผาเองก็ดีให้คนอื่นเผาก็ดี บาปเพราะเหตุที่ทำเช่นนี้ไม่มีการมาของบาปไม่มีหรือแม้หากว่าจะพึงไปสู่ฝั่ง ทางทิศเหนือของแม่น้ำคงคา ให้ทางเองก็ดีสั่งให้คนอื่นทางก็ดี บูชาเองก็ดีสอนให้คนอื่นบูชาก็ดีบุญเพราะเหตุที่ทำเช่นนี้ไม่มี การมาของบุญย่อมไม่มีเพราะการให้ทานการข่มใจการสำรวมการพูดคำสัจ

 

---ดู ก่อนพฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะอย่างนี้มีความเห็นอย่างนี้สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นอันหวังได้ว่า จะต้องเบื่อหน่ายในกุศลธรรม ไม่นิยมยินดีในการที่จะทำให้ กาย วาจา ใจ อยู่ในความสุจริต จะยึดถือและปฏิบัติอยู่แต่ในทาง กาย ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ข้อนั้นเพราะเหตุใดก็เพราะเขาไม่เห็นทาไม่เห็นความต่ำทรามไม่เห็นความเศร้า หมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เห็นอานิสงส์ในการออกจากอกุศลธรรม ไม่เห็นคุณค่าแห่งความบริสุทธิ์ ก็กรรมมีอยู่แท้ๆ เขากลับมีความเห็นว่ากรรมไม่มี ฉะนั้น ความเห็นของเขาจึงจตัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ความคิดที่ว่ากรรมไม่มี จัดเป็นมิจฉาสังกัปปะ คำพูดที่ว่ากรรมไม่มี ก็จัดเป็นมิจฉาวาจา

 

---อนึ่ง พระอรหันต์ทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่ากรรมมีอยู่ ผู้ที่กล่าวว่ากรรมไม่มี จึงได้ชื่อว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อพระอรหันต์ทั้งหลายไมเมื่อตัวเองเชื่อถือเช่น นั้นแล้วสอนให้คนอื่นเชื่อตาม ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้ประกาศอสัทธรรมและด้วยอสัทธรรมที่ตัวเองประกาศออกไปเช่นนั้น ย่อมจะเป็นเหตุให้ยกตนข่มคนอื่นอีกด้วย ย่อมละศีลได้ง่ายและประพฤติอยู่แต่ในทางทุศีล

 

---ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมก่อให้เกิดอกุศลธรรมไม่น้อยทีเดียว

 

---ในสามัญผลสุตรอรรถกถาแสดงไว้ว่า เมื่อปฏิเสธการกระทำบาป-การกระทำบุญที่เป็นตัวเหตุแล้ว ก็เท่ากับปฏิเสธผลของการกระทำบาป-บุญนั้นด้วย

 

---ความ เห็นว่าเที่ยง คือ ความเห็นว่าอัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป เช่นเห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นที่ทรุดโทรมไปส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัส เป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำดนิดอื่นสืบไป เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่งตรงข้ามกับอุจเฉททิฏฐิ

 

---อุจเฉททิฏฐิ คือ ความเห็นว่าขาดสูญ เช่นเห็นว่าคนและสัตว์ จุติจากอัตตภาพนี้แล้วขาดสูญ

 

*องค์ประกอบของมิจทิฏฐิ 2 ประการ


---1.เนื้อความที่ได้ยึดไว้นั้นผิดจากความเป็นจริง

 

---2.มีความเห็นว่าเป็นความจริง

 

---ความคิดที่เป็ฯเหตุให้เกิดทุจริตต่าง ๆ ได้แก่


---ความ เพ่งเล็ง ย่อมเป็นเหตุให้เกิดการลักขโมย การทำผิดทางกาม การพูดปด การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ และความเห็นผิดจากความเป็นจริง (มิจฉาทิฏฐิ) พยาบาท ย่อมเป็นเหตุให้เกิดการฆ่า การลักขโมย การพูดปด การพูดส่อเสียด พูดคำหยาบและพูดเพ้อเจ้อ


*มิจฉาทิฏฐิ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดทุจริตทั้ง 10 ประการ

     

---ผล ของอกุศลกรรมบถ 10 ประการข้างต้นนี้ ย่อมส่งผลให้ได้รับทั้งในปฏิสนธิกาล (คือ ในขณะไปเกิดในชาติใหม่) และปวัตติกาล (คือ ภายหลังการเกิดมาเป็นชีวิตใหม่แล้ว) การส่งผลในการไปเกิดในชาติใหม่ คือให้บังเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน ในนรกภูมิ เปรตภูมิ อสุรกายภูมิ และเดรัจฉานภูมิ ส่วนการส่งผลในภายหลังการเกิดมาแล้ว คือ ผลของการฆ่าผู้อื่นมี 9 ประการคือ

 

---1.ทุพพลภาพ

 

---2.รูปไม่งาม

 

---3.กำลังกายอ่อนแอ

 

---4.กำลังกายเฉื่อยชา กำลังปัญญาไม่ว่องไว

 

---5.เป็นคนขลาดหวาดกลัว

 

---6.ฆ่าตนเองหรือถูกฆ่า

 

---7.โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน

 

---8.ความพินาศของบริวาร

 

---9.อายุสั้น

 

*ผลของการลักทรัพย์ มี 6 ประการ คือ

 

---1.ด้อยทรัพย์

 

---2.ยากจน

 

---3.อดอยาก

 

---4.ไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา

 

---5.พินาศในการค้า

 

---6.พินาศเพราะภัยพิบัติ มีอัคคีภัย อุทกภัย ราชภัย โจรภัย เป็นต้น

 

*ผลของการประพฤติผิดประเวณี มี 11 ประการคือ

 

---1.มีผู้เกลียดชังมาก

 

---2.มีผู้ปองร้ายมาก

 

---3.ขัดสนทรัพย์

 

---4.อดอยาก ยากจน

 

---5.เกิดเป็นหญิง

 

---6.เป็นกะเทย

 

---7.เป็นขายในตระกูลต่ำ

 

---8.ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ

 

---9.ร่างกายไม่สมประกอบ

 

---10.มากด้วยความวิตกกังวล

 

---11.พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก

 

*ผลของคำพูดที่ไม่ตรงกับความจริง มี 8 ประการคือ

 

---1.พูดไม่ชัด

 

---2.ฟันไม่เรียบ

 

---3.ปากมีกลิ่นเหม็นมาก

 

---4.ไอตัวร้อนจัด

 

---5.ตาไม่อยู่ในระดับปกติ

 

---6.กล่าววาจาด้วยปลายลิ้นและปลายปาก

 

---7.ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย

 

---8.จิตใจรวนเรคล้ายคนวิกลจริต

 

*ผลของคำพูดส่อเสียดมี 4 ประการ คือ

 

---1.ตำหนิตนเอง

 

---2.มักถูกล่าวหาโดยไม่เป็นจริง

 

---3.ถูกบัณฑิตติเตียนเสมอ

 

---4.แตกกับมิตรสหาย

 

*ผลของผุสวาจา (กล่าววาจาหยาบ)มี 4 ประการ คือ

 

---1.พินาศในทรัพย์


---2.ได้ยินเสียงก็เกิดไม่พอใจ

 

---3.มีกาย-วาจาหยาบ

 

---4.ตายด้วยอาการหลงใหล

 

*ผลของการพูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไม่เป็นสาระ มี 4 ประการคือ

 

---1.เป็นบุคคลที่มีคำพูดไม่เที่ยงตรง

 

---2.ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูดของตน

 

---3.ไม่มีอำนาจ


---4.วิกลจริต

 

*ผลของความเพ่งเล็งอยากได้ในทรัพย์สินของผู้อื่น มี 4 ประการ คือ

 

---1.เสื่อมในทรัพย์และคุณความดี

 

---2.ไปเกิดในตระกูลต่ำ

 

---3.มักได้รับคำติเตียน


---4.ขัดสนในลาภสักการะ

 

*ผลของการที่มุ่งร้ายต่อผู้อื่น มี 4 ประการ คือ

 

---1.มีรูปกายทราม

 

---2.มีโรคภัยเบียดเบียน

 

---3.อายุสั้น

 

---4.ตายด้วยถูกประหาร

 

*ผลของมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิดไปจากความเป็นจริง) มี 4 ประการคือ


---1.ห่างไกลต่อรัศมีพระธรรม


---2.มีปัญญาทราม


---3.ไปเกิดในพวกคนป่าที่ไม่รู้อะไร


---4.เป็นผู้มีฐานะต่ำไม่ทัดเทียมผู้อื่น

   

*อนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายของอาราณืที่ไม่น่าปรารถนา ในหมวดโลกธรรม 8


---โลกธรรม 8 คือธรรมอันเป็นธรรมดาของโลก มีประจำโลก แบ่งเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่


---1.อิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ส่วนที่น่าปรารถนา 4 ประการ คือ 1.ได้ลาภ 2.ได้ยศ 3.ได้รับคำสรรเสริญ 4.ได้ความสุข

 

---2.อนิฏฐารมณ์ คืออารมณืส่วนที่ไม่น่าปรารถนา 4 ประการ คือ 1.เสื่อมลาภ 2.เสื่อมยศ 3.ถูกนินทา 4.มีความทุกข์

 

*นิวรณ์ คือ ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี หรือ อกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมอง และทำปัญญาให้อ่อนกำลังลง มี 5 ประการคือ

 

---1.กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม หรือความต้องการกามคุณ

 

---2.พยาบาท คือ ความคิดปองร้าย และขัดเคืองแค้นใจ      

 

---3.ถีนทิทธะ คือความหดหู่และเซื่องซึม

 

---4.อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล

 

---5.วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย

 

---อัตตา คือตัวตน ปุถุชน (คนมีกิเลส) ย่อมยึดมั้นมองเห็นขันธ์ 5 อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่ามีอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ 5 โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง

 

---การ เวียนว่ายในภูมิวิถีหก คือการที่จิตญาณที่มาจากแดนนิพพานต้องเวียนเกิดเวียนตาย เข้าร่างโน้น ออกจากร่างนี้เวียนไปเวียนมาเกิด ๆ ตาย ๆไปในภพภูมิต่างๆ ไม่สิ้นสุด การที่ดวงญาณต้องไปอุบัติในภพภูมิต่าง ๆ ก็ด้วยเหตุแห่งกรรมที่ตนได้ก่อไว้ในขณะที่เกิดมาเป็นคนในโลกกายเนื้อนี้ ตราบใดที่ยังไม่สามารถกลับสู่แดนนิพพานได้ก็ต้องเวียนอยู่ในภูมิวิถีต่างๆ ในทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งภพภูมิที่สัตว์โลกต้องไปเกิดไว้ทั้งหมด 31 ภูมิ คือ มนุษย์ 1ภูมิ อบายภูมิ 4 คือ นรก เปรต อสุรกายและเดรัจฉาน สุคติภูมิ คือสวรรค์มี 26 (ถ้ารวมนิพพานด้วยจะเป็น 28 ภูมิ) คือ เทวดา 6 ชั้นภูมิ พรหมที่มีรูป 16 ชั้นภูมิ และพรหมที่มีมีรูปอีก 4 ชั้นภูมิ (ศาสนาเต๋าแบ่งสวรรค์ออกเป็น 36 ภูมิ) พระอริยเจ้าเคยตรัสไว้ว่า

 

---การ บำเพ็ญธรรม อย่าถือตัวเลขมากน้อยเป็นเกณฑ์ เพราะว่าตัวเลขก็มาจาก 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 จึงไม่พ้นจากเหตุผลของมหาสัทธรรม ดังนั้นจึงใช้สิบสองชั้นฟ้ามาอธิบายพอสังเขป เมื่อคูณด้วยสามก็จะเป็นสวรรค์ 36 ภูมิ ด้วยเหตุนี้ จำนวนตัวเลขในแดนสวรรค์จึงมีไม่สินสุด ถ้าหากนำมาบวกลบคูณหารด้วยแล้วก็จะแปรเปลี่ยนไม่รู้จบสิ้น ผู้ปฏิบัติธรรมควรเข้าใจให้ถ่องแท้เป็นใช้ได้

 

---ใน อนุตตรธรรม แบ่งภูมิวิถีการเวียนว่ายออกเป็น 6 ภูมิ คือ 1. นรก 2. เปรต 3. อสุรกาย 4. เดรัจฉาน 5. มนุษย์ 6.สวรรค์ (รวมเทวดา 6 ชั้น กับพรหม 20 ชั้นเรียกรวมกันว่า สวรรค์) พระพุทธองค์ตรัวเกี่ยวกับการเวียนว่ายในภูมิวิถีหก ดังนี้

 

---ดู ก่อนสุทัตตะ สังสารวัฏนี้ หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ผู้พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อยๆ และการเกิดบ่อยๆ นั้น คถาครกล่าวว่าเป็นความทุกข์เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาก็คือ ความแก่ชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็ฯที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ อุปมาเปมือนเห็ดซึ่งโผล่ขึ้นมาจากดิน และนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเปมือนโค ซึ่งเทียมเกวียนแล้ว จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเกิดมา ก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบอยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว

 

---ดู ก่อนสุทัตตะ เมื่อรากยังมั่นคง ต้นไม้แม้จะถูกตัดแล้วมันก็สามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกันเมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหาสุสัยขึ้นเสียจากดวงจิต ความทุกข์ก็เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ

 

---สะ ทัตตะเอย น้ำตาของสัตว์ผู้ต้องร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถม ในขณะที่ทองเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารนี้ มีจำนวนมากเหลือคณา สุดที่จะกล่าวได้ว่า มีประมาณเท่านั้นเท่านี้ กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีดลนั้นเล่า หากนำมากองรวมๆ กันมิให้กระจักกระจาย คงสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้ ไม่มีชองว่างเลยแม้แต่สักนิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยกองกระดูกแห่งสัตว์ผู้ตายแล้วตายเล่า เป็ฯที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก ทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์ เหยียบย่ำไปบนกองกระดูก เขานอนบนกองกระดูก นั่งบนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น

 

---ดู ก่อนสุทัตตะ ไม่ว่าภพไหนๆ ล้วนแต่มีลักษณะเหมือนกองเพลิงทั้งสิ้น สัตว์ทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในกองเพลิง คือทุกข์ เหมือนเต่าอันเขาโยนลงไปแล้วในอกงไฟใหญ่ฉะนั้น


---เพราะ ฉะนั้นการเวียนว่ายในภูมิวิถีทั้งหลายจึงเป็นความทุกข์ การจะพ้นจากการเวียนว่าตายเกิดในโลกีย์ภูมิได้ก็ต่อเมื่อได้เข้าสู่แดน นิพพานอันเป๊นสันติสุขที่แท้จริงเท่านั้น.





.......................................................................





ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 20 กันยายน 2558



ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท28/10/2024
ผู้เข้าชม7,741,611
เปิดเพจ11,908,561
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view