โลหะเนื้อสัมฤทธิ์
---คงมีหลายท่านที่ชื่นชอบพระเครื่องหรือวัตถุมงคลต่างๆที่มีส่วนผสมของโลหะหลายชนิดและมีชื่อเรียกเฉพาะ เช่น เนื้อสำริดหรือสัมฤทธิ์ เนื้อสัตตโลหะ เนื้อนวโลหะ เป็นต้น
---ในการ ทำ พระเครื่องและวัตถุมงคลนั้น ในสมัยโบราณได้มีการเล่นแร่แปรธาตุกัน แต่ละสำนักซึ่งส่วนใหญ่สามารถแบ่งหรือแจกแจงมวลสารโลหะที่ใช้ทำพระเครื่อง ได้ดังนี้
---เนื้อนวโลหะ ประกอบไปด้วย โลหะ 9 อย่างได้แก่ ทองคำ เงิน ทองแดง จ้าวน้ำเงิน เหล็กละลายตัว ชิน ตะกั่วน้ำนม ปรอท สังกะสี
---เนื้อ สัตตโลหะประกอบด้วย ทองคำ ทองแดง จ้าวน้ำเงิน เหล็ก ตะกั่ว ปรอท
---โลหะ สัมฤทธิ์โบราณ ประกอบไปด้วยธาตุบริสุทธิ์ตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไปโดยมี แร่ทองคำและเงินเป็นหลัก ถ้าไม่มีจะไม่ถือว่าเป็นสัมฤทธิ์ และที่เป็นหลักอีกอย่างคือทองแดง ซึ่งจะใช้มากเพื่อให้ได้ปริมาณ
---เนื้อ สำริดหรือสัมฤทธิ์ ประกอบด้วยตระกูลของสัมฤทธิ์ที่ถูกต้องตามสูตรโบราณมีอยู่ 5 ตระกูล คือ สัมฤทธิ์ผล สัมฤทธิ์โชค สัมฤทธิ์ศักดิ์ สัมฤทธิ์คุณ และสัมฤทธิ์เดช รวมเป็นสัมฤทธิ์ 5 ตระกูล อันมีความพิสดารดังต่อไปนี้
---1.สัมฤทธิ์ผล คือสัมฤทธิ์แดง หรือตริยโลหะ มีมงคลความหมายถึง พระรัตนตรัยเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อสาม ผสมด้วยโลหะธาตุ 3 ชนิด คือ ทองแดง เป็นส่วนใหญ่และเจือด้วยเงินกับทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะแดงคล้ายนาก แต่มีผิวเจือด้วยวรรณะคล้ำๆ คล้ายสีมะขามเปียก โบราณถือว่าเป็นมงคลวัตถุ อำนวยผลนานาประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเมตตามหานิยม พระพุทธรูปสมัยอู่ทองโดยเฉพาะพระพุทธรูปอู่ทองหน้าแก่มักสร้างด้วยเนื้อนี้
---2.สัมฤทธิ์โชค คือสัมฤทธิ์เหลือง หรือปัญจโลหะ เป็นโบราณนิยามหมายถึงเบญจขันธ์ (ขันธ์ 5) คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อห้า ได้แก่ ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี เงิน ทองคำ มีวรรณะเหลืองคล้ายเนื้อกลองมโหระทึก หรือขันลงหิน มีแววนกยูงภายในเนื้อ เป็นสัมฤทธิ์ที่ให้คุณหนักไปทางด้านลาภผล กับความสำเร็จ พระพุทธรูปสกุลช่างสุโขทัยบางยุคและพระเชียงแสน พระชัยวัฒน์ของสมเด็จพระสังฆราชแพ บางรุ่น และพระกริ่งพระชัยวัฒน์ของท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์บางรุ่นก็สร้างด้วยเนื้อนี้
---3.สัมฤทธิ์ศักดิ์ คือสัมฤทธิ์ขาว หรือสัตตโลหะ เป็นมงคลนามหมายถึง โพชฌงค์ 7 คือ องค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี 7 ประการ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา สัมฤทธิ์ศักดิ์เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเจ็ด ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว เงิน และทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะหม่นคล้ำน้อยๆ แต่มีแวววรรณะขาวผสมผสานอยู่ นับถือกันว่าอำนวยผลในด้านอำนาจ มหาอุด คงกระพัน แคล้วคลาด
---4.สัมฤทธิ์คุณ คือสัมฤทธิ์เขียว หรือนวโลหะ หมายถึงนัยของธรรมอันสูงสุดในพระศาสนา อันได้แก่ นวโลกุตรธรรม อันมี มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 สัมฤทธิ์คุณเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดช ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว ชิน จ้าวน้ำเงิน เงิน และทองคำ แต่สัมฤทธิ์ตระกูลนี้แก่ส่วนผสมของเนื้อเงินมากกว่าธรรมดา ฉะนั้น เนื้อภายในจึงมีวรรณะสีจำปาอ่อนหรือนากอ่อน แต่ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะถูกไอเหงื่อ จะมีวรรณะคล้ำเจือเขียวเตยหม่นแกมเหลืองอ่อนคล้ำมีแววขาวโดยตลอดเนื้อ สัมฤทธิ์ชนิดนี้อำนวยคุณวิเศษเช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดชทุกประการ
---5.สัมฤทธิ์เดช คือสัมฤทธิ์ดำ หรือนวโลหะ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์คุณ แต่มีสัดส่วนการผสมได้เกณฑ์ถูกต้องตามมูลสูตรมากที่สุด ดังนั้นภายในจึงมีวรรณะจำปาแก่ หรือสีนากแก่ ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะต้องไอเหงื่อ จะดำสนิท ประหนึ่งนิลดำ เรียกกันว่า "สัมฤทธิ์เนื้อกลับ" โบราณถือว่าสัมฤทธิ์นวโลหะทั้ง 2 ประเภทนี้ เป็นสัมฤทธิ์ที่สมบูรณ์ที่สุด หรือเป็นยอดของสัมฤทธิ์ อำนวยผลในด้านมหาอุตม์อันสูงส่ง คืออำนาจตะบะเดชะ มหานิยม ลาภผล ความสำเร็จ คงกระพัน แคล้วคลาด ทุกประการ สูตรผสมเนื้อสัมฤทธิ์เดช หรือนวโลหะ ที่เป็นตำรับของสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว ยุคกรุงศรีอยุธยา ตกทอดมาอยู่กับ สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ พระพุฒาจารย์มา ครั้งยังเป็นพระมงคลทิพยะมุนี วัดจักรวรรดิฯ และสมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ ครั้งยังเป็นพระเทพโมลีตามลำดับ เกณฑ์อัตราส่วนผสมของโลหะทั้ง 9 ชนิด มีดังนี้
---1)ชิน หนัก 1 บาท
---2)จ้าวน้ำเงิน หนัก 2 บาท
---3)เหล็กละลายตัว หนัก 3 บาท
---4)ตะกั่วเถื่อน หนัก 4 บาท
---5)ปรอท หนัก 5 บาท
---6)สังกะสี หนัก 6 บาท
---7)บริสุทธิ์ (ทองแดงเถื่อน) หนัก 7 บาท
---8)เงิน หนัก 8 บาท
---9)ทองคำ หนัก 9 บาท
---เนื้อ ทอง สัมฤทธิ์เดชนี้ เราจะเห็นได้ว่า ส่วนผสมใช้ทองคำมากกว่าโลหะอื่นๆ ซึ่งหนักถึง 9 บาท จึงจะได้น้ำหนักของเนื้อสัมฤทธิ์เดชเพียง 45 บาทเท่านั้น ซึ่งก็จะสร้างเป็นองค์พระไม่ได้มากนัก ในปัจจุบันจึงไม่มีใครกล้าทำเนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ซึ่งเป็นนวโลหะจริงๆ ตามสูตรโบราณเนื่องจากจะสิ้นเปลืองมาก
---การสร้างพระเครื่องและเหรียญ ใน ปัจจุบันนี้ได้ทำให้คนเข้าใจผิดกันมาก โดยเรียกโลหะผสมชนิดเนื้ออ่อนๆ ชนิดหนึ่งว่าเป็นเนื้อนวโลหะ และเรียกโลหะผสมชนิดเนื้อกลับว่า เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นการตรงกันข้าม เพราะคำว่านวโลหะ หมายถึงเนื้อทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้าตามแบบโบราณเท่านั้น
---ครับเรื่องของ เนื้อทองสัมฤทธิ์ก็มีเท่าที่เล่ามานี้แหละครับ ส่วนเนื้อโลหะอื่นๆ ที่นำมาสร้างพระเครื่องก็ยังมีอีกมาก เช่นเนื้อชิน เนื้อเมฆพัด เนื้อเมฆสิทธิ์ และเนื้ออัลปาก้าเป็นต้น.
*การตรวจสอบพระพุทธรูปบูชาเนื้อสัมฤทธิ์เก่าหรือใหม่
---การที่จะเป็นนักสะสมพระพุทธรูปเทวรูปพระเครื่องพระบูชาในสมัยนี้นั้น ต้องลงทุนมาก ต้องศึกษาหาความรู้ว่าพระเก่าหรือพระใหม่เป็นเช่นไร เสี่ยงต่อการถูกต้มตุ๋นหลอกลวงเป็นอย่างมาก นักเลงนักสะสมพระเครื่องพระบูชามือใหม่เป็นจำนวนมากที่ยังไม่เข้าใจ ในวิธีตรวจสอบดูพระเครื่องพระบูชาที่เป็นของเก่าของกรุ ว่าของเก่าแท้แน่นอนนั้นเป็นประการใด
---ทั้งนี้เพราะนักเล่นพระมือใหม่ยังไม่ค่อยสนใจศึกษาหาความรู้ หรือขอดูพระเก่าของแท้จากผู้รู้ให้กะจ่างแจ้งเสียก่อน ส่วนมากมือพระใหม่พอเข้าสู่วงการพระมีผู้รู้บ้างไม้รู้บ้างชักจูงแนะนำไปใน ทางที่ผิด เข้ารกเข้าป่าไปก็มี เช่นให้เล่นพระตามใจชอบ ไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอนไม่มีพี่เลี้ยงหรือเทรนเนอร์ที่ดีมีความรู้ ขอให้ชอบเป็นเช่า หาได้ทราบไม่ว่าของที่เช่านั้น เป็นพระใหม่หรือพระเก่า ในวงการพระเขานิยมหรือไม่ เชื่อแต่ลิ้นลมลวงเอาหูฟังประวัติอันเลื่อนลอยอ่อนหวานของผู้ชาย สรุปแล้วเอาหูเล่นพระเป็นใหญ่อย่างนี้ ผู้เล่นพระร้อยทั้งร้อยเล่นพระแต่หนุ่มจนแก่ก็ไม่ได้ดีเพราะหลงผิด เสียเงินเสียทองเปล่า บางรายอาจถูกต้มจนหมดตัวก็มี
---ขอให้ท่านจงระวังจงเป็นผู้มีเหตุผลเล่นพระตามสากลนิยมพระอย่างใด ครูบาอาจารย์ผู้เล่นมาก่อนว่าเป็นพระชั้นดีก็ต้องเชื่อเขา เช่นพระเครื่องชุดเบญจภาคีอันประกอบด้วย พระสมเด็จโต พระนางพญา พระรอด พระทุ่งเศรษฐี พระผงสุพรรณ อันเป็นยอดพระเครื่องชั้นสูงหรือพระบูชาสมัยสูง เช่นทวารวดี ศรีวิชัย ขอม ลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา อย่างนี้ถ้าเป็นพระแก่แท้ก็เป็นของหายากราคาสูง จึงควรจะได้แสวงหาเช่ามาบูชา ก็จะเกิดโชคดีมีศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว พระเก่าแท้ให้ความศักดิ์สิทธิ์แก่ผู้กราบไหว้เคารพบูชาอย่างแท้จริง พระเก่าไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องพระบูชาอย่างแท้จริง
---พระเก่าไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องพระบูชาสร้างด้วยเนื้อหินศิลา สัมฤทธิ์ ชิน ตะกั่ว ดิน ผง ว่านฯ ต้องมีความเก่า คือมีคราบ มีสนิม มีรอยสึกกร่อน แอ่ง รูพรุนปรายเข็ม ริ้วระแหงแตกร้าวเหี่ยวย่น ผิวเข้ม เนื้อแห้งสนิทพื้นผิวของ เนื้อพระไม่ตึงเรียบ เนื้อไม่มันวาว ไม่กะด้าง ถ้าใช้มานานถูกเสียดสีเนื้อพระจะเข้มขึ้นแลมันใส ลูบดูทั่วองค์พระจะไม่มีขอบคมเลย ดมดูจะไม่มีกลิ่น เอาลิ้นแตะดูจะไม่ดูดลิ้นอย่างนี้เป็นต้น
---หลักการพิจารณาตรวจสอบพระพุทธรูปบูชาเนื้อสัมฤทธิ์เก่าหรือใหม่ เป็นของแท้ของเทียมหรือของปลอมดังจะได้เรียนต่อไปนี้ ขอท่านผู้อ่านโปรดพิจารณาทุกตัวอักษร และตีความหมายไปด้วย แล้วท่านจะเข้าใจในการดูพระแท้พระปลอม การที่จะตรวจสอบว่าเป็นพระเก่าพระใหม่โดยการเขียนเป็นตัวอักษรให้เข้าใจได้ แน่ชัดนั้นยากนัก และแต่ละหัวข้อให้ถามตนเองว่าพระที่สร้างแบบนี้ทำปลอมได้ไหม
---๑.พระเก่าเราดูรูปแบบว่าพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยใดเป็นสมัยลพบุรี เชียงแสน อู่ทอง สุโขทัย อยุธยา ถูกต้องหรือไม่เป็นฝีมือช่างราษฎร์ (สร้างไม่สวยงาม) หรือฝีมือช่างหลวง (สวยงาม)
---๒.พระเก่าต้องมีคราบมีสนิม มีรอยสึกกร่อน แอ่งรูพรุนปรายเข็ม รอยชำรุดแตกร้าวเนื้อแห้งสนิทผิวเข้ม เป็นไปตามธรรมชาติอย่างที่ว่าสนิมอยู่ในเนื้อ
---๓.พระเก่าแท้เห็นแล้วได้ไว้เป็นเจ้าของมีความซึ้งตา ซึ้งใจ เนื้อผิวของพระเนียนสนิท
---๔.พระเก่าเอามือจับลูบดูทั่วองค์พระทุกแห่ง จะไม่มีขอบคมติดมือเลย
---๕.ถ้าตรงไหนมีเนื้อในของพระสึกกร่อนจนเห็นเนื้อโลหะ เนื้อโลหะสัมฤทธิ์ตรงนั้นจะมองเห็นสีแดงปนเหลือง หรือค่อนข้างแดง หมองหม่น คล้ำ สีซีด ไม่มันวาว ไม่เป็นเหลืองเหมือนทองเหลืองล้วนๆ
---๖.พระเก่าผิวเนื้อจะมันใส แห้งสนิท ของทำเทียมเลียนแบบผิวเนื้อพระจะมันวาวเช่นดำมันวาวหรือแดงน้ำตาลไหม้มันวาว พระของใหม่เนื้อจะกะด้าง ไม่งามติดตา หรือให้ช่างรมดำเอา
---๗.พระเก่าถ้าเป็นพระนั่งเคาะดูที่ฐานนั่งจะมีเสียงดังแปะๆ ถ้าเป็นพระใหม่จะมีเสียงดังหนักแน่นกังวาล ก็เพราะเนื้อพระยังใหม่กินตัวกับอากาศไม่นานพอ
---๘.พระเก่าเนื้อแห้งสนิท ผิวเนื้อของพระไม่เรียบตึง เนื้อพระเก่าจะมีรอยย่นเหี่ยวแอ่งรู พรุน สึกกร่อนสวนมากมีรอยชำรุดแตกร้าวใช้แว่นขยายกำลังสูงส่องจะมองเห็นชัดเจน
---๙.พระเก่ามีรูสนิมขุม หรือขุมสนิมจะเกิดจากด้านในมาด้านนอก ปากสนิมขุดจะเล็กด้านในกลวง สนิมที่ทำเทียมใช้น้ำกรดราดกัดเนื้อพระปากสนิมจะกว้างด้านในเล็ก สนิมจะกัดกินเนื้อพระสม่ำเสมอ พระเก่าสนิมขุมจะเป็นแอ่งขรุขระสูงๆ ต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอ
---๑๐.ดินหุ่นด้านในใต้ฐานของพระ พระเก่าดินหุ่นมักจะมีค่อนข้างหนา แข็ง แห้งสนิทถ้าเอานิ้วมือแตะดูดินหุ่นจะติดมือ เพียงเล็กน้อย หรืออาจจะไม่ติดมือเลย
---๑๑.ขอบโลหะพระนั่งด้านล่าง คือตรงฐานที่เราตั้งพระนั่ง พระเก่าแท้ขอบพระด้านล่างจะมีผิวสนิมเหมือนกับผิวสนิมขององค์พระไม่มีรอบ ตะไบ ขอบด้านล่างนี้ผู้ปลอมหรือทำใหม่ทาน้ำยาเคมีไม่ติดแน่นจึงทำให้ผิวขอบพระ นั่งด้านล่างนี้แตกต่างจากองค์พระไม่มากก็น้อย
---๑๒.เม็ดพระศกก้นหอยขององค์พระเก่าแท้ ผู้สร้างคนโบราณได้ปั้นเม็ดพระศกของพระด้วยมือทุกๆ เม็ดพระศก ฉะนั้นเม็ดพระศกอาจจะมีเล็กใหม่แตกต่างกันเล็กน้อย แถวเรียงเม็ดพระศกอาจจะบิดเบี้ยวเล็กน้อยก็ได้ แต่เม็ดพระศกของพระทำเทียมเลียนแบบ หรือ พระใหม่จะมีรอยขีดเป็นเส้นโคงไปตามแนวพระนลาตหรือพระเศียรของพระ แล้ววางเรียงเม็ดพระศกเป็นระเบียบเรียบร้อย
---๑๓.พระใหม่เม็ดพระศกด้านหน้าตรงพระนลาตจะยกขอบสูงกว่าพื้นผิวพระนลาตจนเห็นชัด หรือบางทีก็เห็นเป็นเส้น เป็นแอ่งชัดเจน พระเก่าแท้เม็ดพระศกด้านหน้าจะอยู่ในระดับเดียวกับผิวพระนลาต ไม่มีรอยขีดและเป็นไปตามธรรมชาติ พระบูชาถ้าเป็นพระสมัยสูงอายุเกินกว่า ๘๐๐ ปีขึ้นไป เช่นพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ฐานเขียงไม่มีบัว เม็ดพระศกของพระจะแตกบี้เห็นได้ชัดเจน
---๑๔.พระเก่าผิวเนื้อ ผิวสนิมจะมองดูเห็นมีสีอ่อนแก่ได้ชัดเจน ไม่ใช่ผิวสนิมเนื้อของพระมองดูเป็นสีเดียวโล้นๆ ซึ่งเป็นผิวสนิมของพระใหม่
---๑๕.พระเก่าดมดูจะไม่มีกลิ่นฉุน เมื่อดมดูจะรู้สึกเฉยๆ หรือเมื่อเอาลิ้นแตะเนื้อพระดูจะไม่ดูลิ้น เนื้อพระใหม่เอาลิ้นแตะดูจะดูดลิ้นเพราะในเนื้อพระน้ำยาเคมียังระเหยไปไม่ หมด
---๑๖.พระบูชาที่เอาเนื้อพระเก่าที่แตกหักชำรุด หรือไม่สวยงาม มาเทสร้างใหม่ให้เป็นพระสมัยเก่าที่นิยมสูง มีราคาแพงเช่นพระพุทธรูปเชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง ลพบุรี นี้นั้นขอให้สังเกตุให้ดี ผิวสนิมเนื้อของพระที่เทใหม่จะไม่มันใส แต่มีความเก่า เนื้อพระนี้จะมองดูด้านๆ และเนื้อโลหะไม่เข้ากันสนิท คือดำๆ ด่างๆ ผิวหยาบ ทำกินหุ่นไม่เหมือนของเก่าหรือบางทีก็ไม่มีดินหุ่น เอามือจับลูบดูอาจมีขอบคมอยู่บ้าง
---๑๗.เคล็ดลับหรือตำหนิพระเก่าแท้พระบูชาสมัยเชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง ลพบุรี ที่ผู้รู้กำหนดไว้บอกว่า พระที่มีลักษณะต่อไปนี้เป็นพระเก่าที่คณาจารย์ หรือช่างโบราณสร้างขึ้นได้ลักษณะถูกต้องแท้จริง ย่อมประกอบไปด้วยสิ่งดังต่อไปนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างคือ
---ก.ขอบหรือจีบชายจีวร ที่พาดผ่านพระอุระของพระจากด้านหน้าวก โค้งไปด้านหลังจะมีจีบเป็น ๒ จีบ
---ข.เหนือคิ้วขององค์พระจะมีขีดเป็นขีดเล็กๆ โค้งไปตามคิ้วอย่างสวยงาม
---ค.พระสังฆาฏิ ของพระด้านหลังจะไม่ถึงที่นั่ง คือปลายสังฆาฏิด้านหลังพระถึงที่นั่ง คือปลายสังฆาฏิด้านหลังพระ จะไปหยุดอยู่แค่สะโพก และพระบูชาที่ไม่มีตำหนิดังกล่าวนี้ที่เป็นของเก่าแท้แน่นอน ก็มีมากมายเช่นกัน และพระใหม่พระทำเทียมเลียนแบบ อาจจะมีตำหนิดังกล่าวนี้ได้เช่นเดียวกัน จึงถือเอาตำหนินี้เป็นแน่นอนไม่ได้ ทำไมเซียนพระจึงเพียงแต่มองดูพระพุทธรูป โดยยังไม่ได้จับต้องก็รู้ว่าพระนั้นเป็นพระเก่า หรือพระใหม่ได้ถูกต้อง อย่างนี้ก็ไม่ใช้เรื่องแปลกปลาดอันใดเพราะเขาดูและยึดถือตำหนิดังกล่าวนี้ จึงบอกได้ถูกต้อง
---วัสดุที่โบราณาจารย์ นิยมเอามาสร้างเป็น พระพุทธรูปบูชาอย่างแพร่หลายได้แก่โลหะ ทองคำ นาค เงิน ทองเหลือง ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ลงหิน เมื่อผสมกัน แล้วเรียกว่าสัฤทธิ์นี้ เฉพาะแร่ทองคำ เงินและทองแดง เป็นธาตุแท้ นอกนั้นเป็นโลหะผสม เนื้อทองคำเหลืองอร่ามสวยงามมีราคาสูงไม่กลายสภาพเป็นอย่างอื่น เมื่อผสมกับแร่ธาตุอื่นจะทำให้แร่ธาตุอื่น จะทำให้ แร่ธาตุนั้นผิวกลับดำ ถ้าธาตุนั้นเก่าก็จะทำให้มองเห็นความเก่าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เนื้อทองแดงเมื่อผสมกับแร่ธาตุอื่น จะทำให้แร่ธาตุนั้นเปลี่ยนไป เช่นทองแดงผสมสังกะสีจะกลายเป็นทองเหลืองเนื้อสัมฤทธิ์ตามความหมายของนัก เล่นพระ หมายถึงโลหะผสมผิวกลับดำหมองคล้ำย่อมมีผิวเนื้อแตกต่างกัน ทั้งนี้แล้วแต่ส่วนผสม เช่นถ้าส่วนผสมแก่เงินผิวโลหะนั้นจะกลับดำ ถ้าโลหะนั้นมีทองคำผสมด้วยแม้จะไม่มากนักก็ทำให้โลหะนั้น มีความมันในสวยงามขึ้น โลหะที่ผสมเป็นเนื้อสัมฤทธิ์สร้างพระบูชา นิยมเรียกชื่อต่างกันตามผสม เช่น ปัญจโลหะ, และนวโลหะ
*ปัญจโลหะ ได้แก่ส่วนผสมโหละ ๕ อย่างดังต่อไปนี้คือ
---๑.ดีบุก หนัก ๑ บาท
---๒.ปรอท หนัก ๒ บาท
---๓.ทองแดง หนัก ๓ บาท
---๔.เงินหนัก ๕ บาท
---๕.ทองคำ หนัก ๕ บาท
*สัตตะโลหะได้แก่ส่วนผสมโลหะ ๗ อย่างดังต่อไปนี้
---๑.ดีบุก หนัก ๑ บาท
---๒.สังกะสี หนัก ๒ บาท
---๓.เหล็กละลายตัว หนัก ๓ บาท
---๔.ปรอท หนัก ๔ บาท
---๕.ทองแดง หนัก ๕ บาท
---๖.เงิน หนัก ๖ บาท
---๗.ทองคำ หนัก ๗ บาท
*นวะโลหะได้แก่ผสมโลหะ ๙ อย่างดังต่อไปนี้
---๑.ชิน หนัก ๑ บาท
---๒.เจ้าน้ำเงิน หนัก ๒ บาท
---๓.เหล็กละลายตัว หนัก ๓ บาท
---๔.บริสุทธิ์ หนัก ๔ บาท
---๕.ปรอท หนัก ๕ บาท
---๖.สังกะสี หนัก ๖ บาท
---๗.ทองแดง หนัก ๗ บาท
---๘.เงิน หนัก ๘ บาท
---๙.ทองคำ หนัก ๙ บาท
---พระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ ที่เห็นปรากฏเป็นส่วนมาก็มี เนื้อสัมฤทธิ์ดำ เนื้อสัมฤทธิ์เขียว เนื้อสัมฤทธิ์แดง เนื้อสัมฤทธิ์ดังกล่าวนี้ ถ้ามีส่วนผสมของทองคำจะทำให้สัมฤทธิ์นั้นมันใสสวยงามยิ่งขึ้น
---สัมฤทธิ์ดำ มีส่วนผสมของแร่เงินมาก
---สัมฤทธิ์เขียว มีส่วนผสมของทองเหลืองมาก
---สัมฤทธิ์ แดงน้ำตาลไหม้ มีส่วนผสมของแร่ทองแดงมาก
---เนื้อพระผิวสนิมสีของพระเก่ามีสีอ่อนแก่ แตกต่างกัน และสนิมของพระก็แตกต่างกัน ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระเก่าบางองค์ฝังอยู่ในดินฝันอยู่ในถ้ำ บางองค์เก็บรักษาไว้ในถ้ำ ในปราสาท ในโบสถ์ วิหาร ศาลาเปรียญหรือเก็บไว้ในบ้าน พระเก่าที่ฝังอยู่ในดินในกรุผิวสนิมของพระจะหนา เหี่ยวย่นที่เก็บไว้ในบ้านเคหะสถาน โบสถ์วิหาร ผิวสนิมจะบางสวยงามเนียนสนิท
---พระสัมฤทธิ์ เนื้อมันวาว เรามองดูผิวพระจะมันวาว มันละเลื่อม ผิวเข้ม ความมันวาวจะฉาบอยู่บนพื้นผิวของพระ ความมันวาวนี้อาจจะเกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติถ้าเป็นพระเก่าสร้างมานานเกินกว่า ๖๐ ปี ถึง ๒๐๐,๓๐๐ ปี หรือเกิดจากการรมดำ ถ้าเป็นพระใหม่ฉะนั้นตามทัศนะของข้าพเจ้าผู้เขียนเห็นว่าพระเนื้อสัมฤทธิ์ มันวาว มีทั้งที่เป็นพระเก่าที่สร้างเลียนแบบ และที่เป็นพระสร้างขึ้นใหม่โดยทาสีรมดำเอา ขอให้หัวข้อที่กล่าวมาแล้ว ๑๗ ข้อตรวจสอบพิจารณาก็จะทราบว่าเป็นพระใหม่หรือพระเก่า(พระที่เลียนแบบพระสมัยต่างๆ เช่นสมัยเชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง นั้นได้สร้างกันมานานแล้ว อย่างที่นักเลงพระบอกว่า พระองค์นี้เก่าอยู่แต่ไม่ถึงสมัย ความนิยมคุณค่าราคาก็จัดว่าเก่ามีราคาพอสมควร) พระสัมฤทธิ์เนื้อมันใส จัดเป็นเนื้อเก่าแท้ ความมันใสเกิดจากพระสร้างมานานเนื้อพระกินตัว กับอากาศถูกความร้อนเย็นนานเข้าเนื้อพระแห้งสนิท เกิดคราบสนิมมีความสึกร่อนตามธรรมชาติ ความแห้งไล่ความชื้นในเนื้อพระออกไปทำให้พระแห้ง เกิดความมันใส ความมันใสนี้ดูด้วยตาจะอยู่ในระหว่างความมันวาวและความกะด้าง
---ที่สุดนี้ขอให้ศึกษาได้โปรดพิจารณาด้วยดี ถ้าอ่านช้าๆ พินิจพิเคราะห์ตัวอักษรด้วยดี จะช่วยให้ท่านดูพระบูชาเป็น ป้องกันคนอื่นจะมาแหกตาได้ ที่กล่าวมานี้ก็ด้วยเจตนาบริสุทธิ์เจตนาดีแก่ทุกท่านที่เป็นนักนิยมพระ จะว่าเรื่องเชยสิ้นดีเอามะพร้าวมาขายสวนก็ยอม สะสมพระมานานมีความรู้ประสพการณ์ มาอย่างไรก็เอามาเล่าบอกกล่าวให้กันฟัง และโปรดอย่าได้ถือเอาความคิดเห็นนี้เป็นข้อยุติ ขอให้ถือว่าข้อเขียนนี้เป็นทัศนะของนักสะสมคนหนึ่งเท่านั้น ถ้าหากมีอะไรผิดพลาดหรือขาดตกบกพร่องขอได้โปรดอภัยด้วย ขอยุติเพียงเท่านี้ สวัสดี.
...............................................................................
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
รวบรวมโดย...แสงธรรม
อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 25 กันยายน 2558
เนื้อสัตโหะหรือสำริดศักด์ไม่ประกอบด้วยดีบุคนะครับพี่แต่ประกอบด้วยตระกั่วครับหนัก 1บาทครับ
ส่วนเนื้อปัญจะโลหะไม่ประกอบด้วยดีบุคนะกับปรอทนะครับแต่ประกอบด้วยตระกั่วและสังกะสีครับสวนทอง เงิน ทองแดงถูกแล้วครับให้ขอมูลให้ถูกต้องด้วยครับเดียวเพื่อนสมาชิกสับสนครับ