/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

เรื่องสรัทธา คือ ความเชื่อต่างๆ

เรื่องสรัทธา คือ ความเชื่อต่างๆ

ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนามีสี่อย่าง คือ

(กดลิงค์-บน)








---กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการ จะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น


(กดลิงค์-บน)


---วิปากสัทธา เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว


---กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน


---ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้


*๕.ธรรมะที่เกี่ยวข้อง


---ศรัทธา หรือ สัทธาเป็นองค์ประกอบในหลายๆหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่


  • สมชีวิธรรม ๔ (สมสัทธา สมสีลา สมจาคา สมปัญญา)


(กดลิงค์-บน)


*หมายเหตุจะเห็นว่าส่วนใหญ่ จะขึ้นด้วยศรัทธา และมีปัญญากำกับอยู่ด้วย

*สัทธาเจตสิก


---ในคัมภีร์พระอภิธรรมของพระพุทธศาสนา มีการกล่าวถึงสัทธา ในลักษณะที่เป็นเจตสิก (คือ ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด) เรียกว่า สัทธาเจตสิก มีลักษณะดังนี้ คือ


(กดลิงค์-บน)


---มีความเชื่อในกุศลธรรม เป็นลักษณะ


---มีความเลื่อมใส เป็นกิจ


---มีความไม่ขุ่นมัว เป็นผล


---มีวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ เป็นเหตุใกล้


---สัทธานี้จัดเป็นธรรมเบื้องต้น ในอันที่จะทำให้บุคคล ได้ประกอบคุณงามความดี เป็นบุญกุศลขึ้นมา และสัทธาที่จะเกิดขึ้นได้นั้น ย่อมต้องอาศัยวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ ได้แก่ พระรัตนตรัย ผลของกรรม เป็นต้น สัทธานั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อมทำให้เกิดความผ่องใส ไม่ขุ่นมัว สามารถดำเนินไปจนเข้าถึงปีติได้


*เหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธา ได้แก่


---รูปปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะเห็นรูปสมบัติสวยงาม


---ลูขปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะเห็นความประพฤติเรียบร้อยเคร่งในธรรมวินัย


---โฆสฺปปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะได้ฟังเสียงอันไพเราะ


---ธมฺมปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะได้สดับฟังธรรมของผู้ที่ฉลาดในการแสดง


*หลักธรรมของศาสนาต่าง ๆ ของโลก


---ศาสนามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลในสังคม เพราะศาสนาทุกศาสนามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทำความดีละเว้นความชั่ว ศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อคนในสังคม  องค์ประกอบของศาสนา


---1.ศาสดา คือ  ผู้ก่อตั้งศาสนา


---2.คัมภีร์  คือ  หลักคำสอนเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยา


---3.นักบวช คือ ผู้สืบทอดคำสอน


---4.พิธีกรรม คือ การปฏิบัติในการทำพิธีทางศาสนา


---5.ศาสนสถาน คือ สถานที่ควรเคารพบูชาและใช้ประกอบพิธีทางศาสนา


*ศาสนาอิสลาม


---ไม่มีนักบวช แต่มีศาสดา มีคัมภีร์ มีศาสนสถาน และพิธีกรรม นับเป็นศาสนาเช่นกัน  ความสำคัญของศาสนา


---1.เป็นพื้นฐานของกฎศีลธรรมของสังคม


---2.เป็นแหล่งกำเนิดจริยธรรม


---3.เป็นแหล่งที่ทำให้เกิดศิลปวัฒนธรรม และประเพณี


---4.เป็นกลไกของรัฐในการควบคุมสังคม


---5.เป็นบรรทัดฐานของสังคมที่ใช้ในการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปในแนวเดียวกัน


*ประโยชน์ของศาสนา


---1.ช่วยให้สมาชิกของสังคมสงบสุข


---2.ทำให้ผู้นับถือเป็นคนดี มีศีลธรรม


---3.เป็นบ่อเกิดของศิลปวัฒนธรรม


---4.เป็นที่พึ่งทางจิตใจของสมาชิกในสังคม


---5.เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตเพื่อให้เกิดความสุข


*ศาสนาที่สำคัญของโลก*1.ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู*ศาสนาพราหมณ์


---แหล่งกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นศาสนาดั้งเดิมของชนเผ่าอารยัน มีความเชื่อเรื่องพระเจ้าหลายองค์ โดยเฉพาะตรีมูรติ (พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ) ต่อมาวิวัฒนาการเป็นศาสนาฮินดู เทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์


---เทพเจ้าสูงสุด คือ พระปรมาตมัน


---ความเชื่อเกี่ยวกับตรีมูรติ คือ พระพรหม คือ ผู้สร้าง พระวิษณุ(พระนารายณ์) คือ ผู้คุ้มครอง  และพระอิศวร(พระศิวะ) คือ ผู้ทำลาย


---คัมภีร์พระเวท มีอยู่ 3 คัมภีร์ ถือว่าเป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ต่อมาเพิ่มอาถรรพเวทเข้าไป ได้แก่  ฤคเวท (บทสวดสรรเสริญเทพเจ้า)


---ยชุรเวท(คู่มือพราหมณ์ในการทำพิธีบูชายัญ)


---สามเวท (ใช้สวดขับกล่อมเทพเจ้า)



---อาถรรพเวท (เป็นมนต์คาถาทางไสยศาสตร์) 


*ศาสนาฮินดู


---ความเชื่อศาสนาฮินดูที่แตกต่างไปจากศาสนาพราหมณ์ ได้แก่


---เชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอนันตะ คือเวียนว่ายตายเกิดไม่สิ้นสุดจนกว่าจะหลุดพ้นโมกษะ


---ให้คนที่เกิดในตระกูลพราหมณ์ กษัตริย์ ไวศยะ ปฏิบัติตามหลักอาศรม 4 อย่างเคร่งครัด


---สันติสุขจะเกิดขึ้นได้ต้องมีพราหมณ์ คัมภีร์พระเวท วรรณะ 4ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์วรรณไวศยะ(แพทย์) และวรรณะศูทร


*นิกายในศาสนาฮินดู


---1.นิกายพรหม นับถือพระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุด


---2.นิกายไวษณพ (ลัทธิอวตาร) นับถือพระวิษณ


---3.นิกายไศวะ นับถือพระศิวะ มีศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์


---4.นิกายศากติ นับถือเทพเจ้าที่เป็นสตรี


*หลักธรรมของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู


*1. หลักธรรม 10 ประการ


---1.ธฤติ คือ ความพอใจ          6.อินทรียนิครหะ คือ การสำรวมอินทรีย์(ร่างกาย)


---2.กษมา คือ ความอดทน          7.ธี คือ ความรู้ (ปัญญา)


---3.ทมะ คือ ความข่มใจ          8.วิทยา คือ ความรู้ (ปรัชญา)


---4.อัสเตยะ คือ การไม่กระทำเยี่ยงโจร        9.สัตยะ คือ ความซื่อสัตย์


---5.เศาจะ คือ ความบริสุทธิ์          10.อโกธะ คือ ความไม่โกรธ


*2.หลักอาศรม 4


---1.พรหมจารี          คือ          เป็นวัยศึกษาเล่าเรียน


---2.คฤหัสถ์          คือ          เป็นวัยครองเรือน


---3.วานปรัสถ์          คือ          เป็นวัยออกไปอยู่ป่า


---4.สันยาสี          คือ          เป็นวัยสุดท้ายของชีวิต ออกบวชเป็นสันยาสี บำเพ็ญเพียรเพื่อความหลุดพ้น


*3.หลักปรมาตมัน และโมกษะ


---1.หลักปรมาตมัน มีความเชื่อว่า ปรมาตมัน หมายถึง พลังธรรมชาติ เป็นอมตะไม่มีเบื้องต้นและสิ้นสุด  ส่วนวิญญาณย่อยเรียกว่า อาตมัน สามารถไปรวมกับปรมาตมันได้เมื่อบรรลุโมกษะ


---2.หลักโมกษะ เป็นหลักปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งชีวิต ด้วยการนำอาตมันของตนเข้าสู่ปรมาตมัน


*4.หลักปรัชญาภควัทคีตา ได้แก่


---1.กรรมโยคะ การทำความดีโดยไม่หวังผลตอบแทน


---2.ชยานโยคะ การปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญหา ความรู้แจ้ง


---3.ภักติโยคะ ความรัก ความภักดีอุทิศตนต่อพระเจ้าเพื่อนำไปสู่การหลุดพ้น


*5. หลักทรรศนะหก ได้แก่


---1.สางขยะ ทรรศนะเกี่ยวกับชีวิต


---2.โยคะ ทรรศนะเกี่ยวกับการปฏิบัติโดยสำรวมอินทรีย์ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์


---3.นยายะ ทรรศนะเกี่ยวกับความรู้


---4.ไวเศษิกะ ทรรศนะเกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่จริงชั่วนิรันดร 9 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ กาละเทศะ อาตมัน มนะ


---5.มางสา ทรรศนะเกี่ยวกับปรัชญาน่าเชื่อถือ


---6.เวทานตะ ทรรศนะเกี่ยวกับอุปนิษัท(อุปนิษัท คือ คัมภีร์ในส่วนสุดท้ายของพระเวท เป็นคัมภีร์ที่เป็นหลักปรัชญาลึกซึ้ง)


*พิธีกรรมที่สำคัญของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู


---1.พิธีศราทธ์ คือ พิธีทำบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว


---2.พิธีประจำบ้าน ได้แก่


---พิธีอุปนยัน คือ พิธีเริ่มการศึกษา ถ้าเป็นหญิงยกเว้น


---พิธีวิวาหะ คือ พิธีแต่งงาน


---3.ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับวรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพทศย์ ศูทร  แต่ละวรรณะมีการดำเนินชีวิตที่ต่างกันจึงต้อง ปฏิบัติตามวรรณะของตน เช่น การแต่งงาน การแต่งกาย เป็นต้น


---4.พิธีบูชาเทพเจ้า แต่ละวรรณะจะมีการปฏิบัติต่างกันในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานศิวะราตรี(พิธีลอยบาป)  งานบูชาเจ้าแม่ลักษมี (เทวีแห่งสมบัติและความงาม) เป็นต้น


*2.ศาสนาพุทธ


---ศาสนาพุทธมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ประเภทอเทวนิยม (ไม่นับถือพระเจ้า) มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา  คัมภีร์ของศาสนาพุทธ คือ พระไตรปิฎก หมายถึงตำราที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า แบ่งออกเป็น 3 คัมภีร์ คือ


---1.พระวินัยปิฎก ว่าด้วยศีลหรือวินัยของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา


---2.พระสุตตันตปิฎก (พระสูตร) ว่าด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวก รวมทั้งชาดกต่าง ๆ


---3.พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยหลักธรรมล้วน ๆ


*นิกายสำคัญของศาสนาพุทธ


---1.นิกายเถรวาท หรือหินยาน


---ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงพระธรรมวินัย ประเทศที่นับถือ ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ลาว กัมพูชา


---2.นิกายอาจริยวาท หรือมหายาน


---ดัดแปลงพระธรรมวินัยได้ ประเทศที่นับถือ ได้แก่ จีน ทิเบต ญี่ปุ่น เวียดนาม เกาหลี


*หลักคำสอนของศาสนาพุทธ


---1.อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ


---ทุกข์   คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ


---สมุทัย   คือ เหตุของความเป็นทุกข์ ได้แก่ ตัณหา


---นิโรธ   คือ ความดับทุกข์ หรือนิพพาน


---มรรค   คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความดับทุกข์ หมายถึง อริยมรรค 8 ประกอบด้วย


---1.สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ                              2.สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ


---3.สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ                          4.สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำชอบ


---5.สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ                    6.สัมมาวายามะ คือ ความพยายามชอบ


---7.สัมมาสติ คือ การตั้งสติชอบ                              8.สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจชอบ


---อริยมรรค 8 เมื่อสรุปรวมแล้วเรียกว่า ไตรสิกขา อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา


---2.ขันธ์ 5 หรือเบญจขันธ์ หมายถึง องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย และส่วนที่เป็นจิตใจ ได้แก่


---1.รูปขันธ์ คือ ร่างกายและพฤติกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ


---2.วิญญาณขันธ์ คือ ความรู้อารมณ์ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ


---3.เวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึก ซึ่งเป็นผลมาจากสุขเวทนา ความสุขทางกายและใจ , ทุกขเวทนา คือ ทุกข์ทางกายและใจ  ,อุเบกขาเวทนา คือ ความไม่ทุกข์ไม่สุขทางกายและใจ


---4.สัญญาขันธ์ คือ การกำหนดได้ 6 อย่างจากวิญญาณและเวทนา คือ รูป รส กลิ่น เสียง


----5.สังขารขันธ์ คือ ความคิด แรงจูงใจ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว เป็นผลมาจากวิญญาณและเวทนา


*3.ไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะทั่วไปของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลก ได้แก่


---1.อนิจจตา คือ ความไม่เที่ยง


---2.ทุกขตา คือ ความเป็นทุกข์


---3.อนัตตา คือ ความไม่ใช่ตัวตน


*3.ศาสนาคริสต์


---ศาสนาคริสต์กำเนิดในดินแดนปาเลสไตน์ หรืออิสราเอลในปัจจุบัน ศาสดาคือพระเยซู  ซึ่งเป็นบุตรของโยเซพและมาเรีย เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดวิวัฒนาการมาจากศาสนายูดาย จึงมีพระเจ้าหรือที่เรียกว่า พระยะโฮวาห์ คัมภีร์ของศาสนาคริสต์ คือ คัมภีร์ไบเบิล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ


---พระคัมภีร์เก่า  มีสาระเกี่ยวกับพระเจ้าสร้างโลก ซึ่งประกอบด้วย บทเพลง บทสวด และสุภาษิต


---พระคัมภีร์ใหม่  เป็นคัมภีร์ที่มีสาระเกี่ยวกับประวัติและคำสอนของพระเยซู การเผยแผ่ศาสนาของสาวก  จดหมายเหตุ และวิวรณ์ บั้นปลายชีวิตของมนุษยชาติ


*นิกายที่สำคัญของศาสนาคริสต์


---1.นิกายโรมันคาทอลิก เป็นนิกายที่นับถือและปฏิบัติตามคำสอนของพระเยซู มีพิธีกรรมที่เคร่งครัด  มีสันตะปาปาเป็นผู้นำศาสนาสูงสุด ประเทศที่นับถือ ได้แก่ ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี สเปน โปรตุเกส ฟิลิปปินส์     ผู้ที่นับถือเรียกตนเองว่า คริสตัง


---2.นิกายออร์โธดอกซ์ เป็นนิกายที่แยกจากนิกายโรมันคาทอลิก ด้วยเหตุผลทางการเมืองและวัฒนธรรม    ประเทศที่นับถือ ได้แก่ กรีซ โรมาเนีย บัลแกเรีย สหภาพโซเวียต และประเทศในยุโรปตะวันออกบางประเทศ


---3.นิกายโปรแตสแตนต์ เป็นนิกายที่แยกมาจากนิกายโรมันคาทอลิก ผุ้ก่อตั้งคือ มาติน ลูเธอร์  พิธีกรรมที่สำคัญคือ ศีลล้างบาป และศีลมหาสนิท ผู้ที่นับถือนิกายนี้เรียกว่า คริสเตียน


*๕หลักคำสอนของศาสนาคริสต์


---1.หลักคำสอน เรื่องตรีเอกานุภาพ คือ การนับถือพระเจ้าองค์เดียว แบ่งเป็น 3 ภาค คือ


---พระบิดา หมายถึง พระเจ้า


---พระบุตร หมายถึง พระเยซู


---พระจิต หมายถึง วิญญาณบริสุทธิ์ในจิตใจของชาวคริสต์ที่มีศรัทธา


---2.หลักคำสอนเรื่องความรัก ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งความรัก สอนให้รักพระเจ้า   รักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตัวเอง


---3.คำสอนเรื่องบัญญัติ 10 ประการ ได้แก่


---จงนับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ พระยะโฮวาห์


---อย่าออกนามพระเจ้าโดยไม่สมเหตุ


---ถือวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์


---จงนับถือบิดามารดา


---อย่าฆ่าคน


---อย่าผิดประเวณี


---อย่าลักทรัพย์


---อย่าใส่ความนินทาว่าร้ายผู้อื่น


---อย่าคิดมิชอบ


---อย่าโลภในสิ่งของผู้อื่น


---4.อาณาจักรพระเจ้า หมายถึง อาณาจักรแห่งจิตใจที่มีพระเจ้าเป็นเป้าหมาย


*๕พิธีกรรมที่สำคัญของคริสต์ศาสนา


---1.พิธีศีลจุ่ม กระทำแก่ทารกเมื่อเริ่มเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน โดยใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์เทลงบนศีรษะเพื่อล้างบาป


---2.พิธีศีลล้างบาป เป็นการยืนยันว่าตนยอมรับนับถือศาสนาคริสต์จริง


---3.พิธีศีลมหาสนิท เป็นการรับประทานขนมปัง   และดื่มเหล้าองุ่นเพื่อระลึกถึงพราะเจ้าที่ทรงสละพระวรกายเพื่อมนุษย์จะได้หลุดพ้นจากบาป


---4.พิธีศีลสมรส กระทำแก่คู่บ่าวสาวก่อนการจดทะเบียนสมรส


---5.พิธีสารภาพบาป ต้องไปกระทำต่อหน้าบาทหลวงเพื่อสารภาพบาป


---6.พิธีเจิมครั้งสุดท้าย กระทำแก่ผู้ป่วย


---7.พิธีเข้าบวช เป็นการบวชบุคคลเป็นบาทหลวงในคริสต์ศาสนา


*4.ศาสนาอิสลาม


---ศาสนาอิสลามกำเนิดที่นครมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย นับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ พระอัลเลาะห์   ศาสดาของศาสนาคือ พระนบีมุฮัมหมัด ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเรียกตนเองว่า มุสลิม


*คัมภีร์ของศาสนาอิสลาม


---ศาสนาอิสลามมีคัมภีร์อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้แก่มนุษย์


*นิกายที่สำคัญของศาสนาอิสลาม


---1.นิกายซุนนี จะปฏิบัติเคร่งครัดในคัมภีร์อัลกุรอานและคำสอนของศาสดาที่สุด ใช้หมวกสีขาวเป็นเครื่องหมาย


---2.นิกายชีอะห์ ยกย่องอาลี ใช้หมวกสีแดงเป็นเครื่องหมาย


---3.นิกายวาฮะบีห์ นับถือพระอัลเลาะห์เพียงองค์เดียว ไม่มีพิธีกรรมใด ๆ นอกเหนือจากพระคัมภีร์


*หลักคำสอนของศาสนาอิสลาม


*1.หลักศรัทธา 6 ประการ


---ศรัทธาในพระอัลเลาะห์เพียงองค์เดียว


---ศรัทธาในบรรดามลาอีกะห์ คือ เทวทูต 


---ศรัทธาในพระคัมภีร์


---ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต


---ศรัทธาในวันพิพากษา


---ศรัทธาในกฎกำหนดสภาวการณ์


*2.หลักปฏิบัติ 5 ประการ


---1.การปฏิญาณตน ยอมรับว่าพระอัลเลาะห์เป็นพระเจ้าองค์เดียว


---2.การละหมาด หรือ นมาซ วันละ 5 ครั้ง


---3.การถือศีลอด หรือ อัศศิยาม หมายถึง การละหรืองดเว้นบริโภคอาหาร


---4.การบริจาคซะกาต หมายถึง การบริจาคทานหรือบริจาคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความสุจริตแก่ผู้ที่ควรรับซะกาต


---5.การประกอบพิธีฮัจญ์ ณ วิหารกะบะห์ ที่เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย


*ความสอดคล้องของหลักคำสอนทั้ง 4 ศาสนา ได้แก่


---1.การทำความดี ละเว้นความชั่ว


---2.การแสดงความรักความเมตตา และเสียสละ


---3.การเสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์


---4.การพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น ขยันหมั่นเพียร


---5.สอนให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ไม่เบียดเบียนกัน ฯ





..........................................................................







ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 25 กันยายน 2558



ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท04/08/2023
ผู้เข้าชม6,580,933
เปิดเพจ10,319,909
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

ติดต่อเรา-

view