/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

ประเพณีกับวัฒนธรรมไทย

ประเพณีกับวัฒนธรรมไทย

 วัฒนธรรมและประเพณีไทย







---การที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นสังคมขึ้นมาย่อมต้องมีความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกของกลุ่มมีระเบียบแบบแผน  ที่ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มให้  อยู่ในขอบเขตที่  จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข สิ่งที่เป็นเครื่องมือ ในการควบคุมพฤติกรรมของกลุ่มคนนี้เราเรียกว่า "วัฒนธรรม" ดังนั้น  วัฒนธรรมจึงเปรียบเสมือนอาภรณ์ห่อหุ้มร่างกายตกแต่งคน  ให้น่าดูชม วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องควบคู่กับคนเสมอไป 


---"วัฒนธรรมมีความหมายครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง มนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ใช้ในการปฏิบัติ การจัดระเบียบตลอดจนระบบความเชื่อ ค่านิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการควบคุมและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ"


---"วัฒนธรรมคือความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ หรือลักษณะประจำชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในสังคม ซึ่งไม่เพียงแต่จะหมายถึงความสำเร็จในด้านศิลปกรรมหรือมารยาททางสังคมเท่านั้น  กล่าวคือ ชนทุกกลุ่มต้องมีวัฒนธรรม ดังนั้น เมื่อมีความแตกต่างระหว่างชนแต่ละกลุ่ม ก็ย่อมมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมนั่นเอง เช่น ชาวนาจีน กับชาวนาในสหรัฐอเมริกา ย่อมมีความแตกต่างกัน


---"วัฒนธรรมคือสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงหรือผลิตสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตและส่วนรวม วัฒนธรรมคือวิถีแห่งชีวิตของมนุษย์ในส่วนร่วมที่ถ่ายทอดกันได้ เรียนกันได้ เอาอย่างกันได้ วัฒนธรรมจึงเป็นผลผลิตของส่วนร่วม  ที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนสมัยก่อน สืบต่อกันมาเป็นประเพณี วัฒนธรรมจึงเป็นทั้งความคิดเห็นหรือการกระทำของมนุษย์ในส่วนร่วมที่เป็นลักษณะเดียวกัน และสำแดงให้ปรากฏเป็นภาษา ความเชื่อ ระเบียบประเพณี


---พระราชบัญญัติ วัฒนธรรมแห่งชาติพุทธศักราช 2485 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2486 ได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมไว้ดังนี้


---วัฒนธรรม คือ ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน


---วัฒนธรรมจึงเป็นลักษณะพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ ทั้งบุคคลและสังคมที่ได้วิวัฒนาการต่อเนื่องมาอย่างมีแบบแผน แต่อย่างไรก็ดีมนุษย์นั้นไม่ได้เกาะกลุ่มอยู่เฉพาะในสังคมของตนเอง ได้มีความสัมพันธ์ติดต่อกับสังคมต่างๆ ซึ่งอาจอยู่ใกล้ชิดมีพรมแดนติดต่อกัน หรือยู่ปะปนในสถานที่เดียวกันหรือ การที่ชนชาติหนึ่งตกอยู่ใต้การปกครองของชนชาติหนึ่ง มนุษย์เป็นผู้รู้จักเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ จึง นำเอาวัฒนธรรมที่เห็นจากได้สัมพันธ์ติดต่อมาใช้โดยอาจรับมาเพิ่มเติมเป็น วัฒนธรรมของตนเองโดยตรงหรือนำเอามาดัดแปลงแก้ไขให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพ วัฒนธรรมที่มีอยู่เดิม


---ในปัจจุบันนี้จึงไม่มีประเทศชาติใดที่มีวัฒนธรรมบริสุทธิ์อย่างแท้จริง แต่จะมีวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานมาจากความรู้ ประสบการณ์ที่สังคมตกทอดมาโดยเฉพาะของสังคมนั้น และจากวัฒนธรรมแหล่งอื่นที่เข้ามาผสมปะปนอยู่ และวัฒนธรรมไทยก็มีแนวทางเช่นนี้ 


*ความสำคัญของวัฒนธรรม

 
---วัฒนธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในความเป็นชาติ ชาติใดที่ไร้เสียซึ่งวัฒนธรรมอันเป็นของตนเองแล้ว ชาตินั้นจะคงความเป็นชาติอยู่ไม่ได้ ชาติที่ไร้วัฒนธรรม แม้จะเป็นผู้พิชิตในการสงคราม แต่ในที่สุดก็จะเป็นผู้ถูกพิชิตในด้านวัฒนธรรม ซึ่งนับว่าเป็นการถูกพิชิตอย่างราบคาบและสิ้นเชิง ทั้งนี้เพราะผู้ที่ถูกพิชิตในทางวัฒนธรรมนั้นจะไม่รู้ตัวเลยว่าตนได้ถูกพิชิต เช่น พวกตาดที่พิชิตจีนได้ และตั้งราชวงศ์หงวนขึ้นปกครองจีน แต่ในที่สุดถูกชาวจีนซึ่งมีวัฒนธรรมสูงกว่ากลืนจนเป็นชาวจีนไปหมดสิ้น ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า วัฒนธรรมมีความสำคัญดังนี้


---วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ชี้แสดงให้เห็นความแตกต่างของบุคคล กลุ่มคน หรือชุมชน


---เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าตนมีความแตกต่างจากสัตว์


---ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่เรามองเห็น การแปลความหมายของสิ่งที่เรามองเห็นนั้นขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของกลุ่มชน ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรม เช่น ชาวเกาะซามัวมองเห็นดวงจันทร์ว่ามีหญิงกำลังทอผ้า ชาวออสเตรเลียเห็นเป็นตาแมวใหญ่กำลังมองหาเหยื่อ ชาวไทยมองเห็นเหมือนรูปกระต่าย


---วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดปัจจัย 4 เช่น เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย การรักษาโรค


---วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดการแสดงความรู้สึกทางอารมณ์ และการควบคุมอารมณ์ เช่น ผู้ชายไทยจะไม่ปล่อยให้น้ำตาไหลต่อหน้าสาธารณะชนเมื่อเสียใจ


---เป็นตัวกำหนดการกระทำบางอย่าง ในชุมชนว่าเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งการกระทำบางอย่างในสังคมหนึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเหมาะสมแต่ไม่เป็นที่ยอมรับในอีกสังคมหนึ่ง



---จะเห็นได้ว่าผู้สร้างวัฒนธรรมคือมนุษย์ และสังคมเกิดขึ้นก็เพราะ มนุษย์ วัฒนธรรมกับสังคมจึงเป็นสิ่งคู่กัน โดยแต่ละสังคมย่อมมีวัฒนธรรมและหากสังคมมีขนาดใหญ่หรือมีความซับซ้อน มากเพียงใด ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมักจะมีมากขึ้นเพียงใดนั้นวัฒนธรรมต่าง ๆ ของแต่ละสังคมอาจเหมือนหรือต่างกันสืบเนื่องมาจากความแตกต่างทางด้านความเชื่อ เชื้อชาติ ศาสนาและถิ่นที่อยู่ เป็นต้น


  *ลักษณะของวัฒนธรรม

 

---เพื่อที่จะให้เข้าใจถึงความหมายของคำว่า "วัฒนธรรม" ได้อย่างลึกซึ้ง จึงขออธิบายถึงลักษณะของวัฒนธรรม ซึ่งอาจแยกอธิบายได้ดังต่อไปนี้ 


---วัฒนธรรมเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ ตรงที่มีการรู้จักคิด มีการเรียนรู้ จัดระเบียบชีวิตให้เจริญ อยู่ดีกินดี มีความสุขสะดวกสบาย รู้จักแก้ไขปัญหา ซึ่งแตกต่างไปจากสัตว์ที่เกิดการเรียนรู้โดยอาศัยความจำเท่านั้น


---วัฒนธรรมเป็นมรดกของสังคม   เนื่องจากมีการถ่ายทอดการเรียนรู้ จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนรุ่นหนึ่ง ทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม โดยไม่ขาดช่วงระยะเวลา และ มนุษย์ใช้ภาษาในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ภาษาจึงเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ถ่ายทอดวัฒนธรรมนั่นเอง


---วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิต  หรือเป็นแบแผนของการดำเนินชีวิตของ มนุษย์   มนุษย์เกิดในสังคมใดก็จะเรียนรู้และซึมซับในวัฒนธรรมของสังคมที่ตนเองอาศัยอยู่ ดังนั้น วัฒนธรรมในแต่ละสังคมจึงแตกต่างกัน


---วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่คงที่ มนุษย์มีการคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ และ ปรับปรุงของเดิมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อความเหมาะสม และความอยู่ รอดของสังคม เช่น สังคมไทยสมัยก่อนผู้หญิงจะทำงานบ้าน ผู้ชายทำงานนอกบ้าน เพื่อหาเลี้ยง ครอบครัว  แต่ปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้หญิงต้องออกไปทำงานนอกบ้าน เพื่อหา รายได้มาจุนเจือครอบครัว บทบาทของผู้หญิงในสังคมไทยจึงเปลี่ยนแปลงไป


*หน้าที่ของวัฒนธรรม


---วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน ซึ่งมีลักษณะแตกต่าง กันไปในแต่ละสังคม เช่น วัฒนธรรมอิสลามอนุญาตให้ชาย (ที่มีความสามารถเลี้ยงดูและ ให้ความ ยุติธรรมแก่ภรรยา) มีภรรยาได้มากกว่า 1 คน โดยไม่เกิด 4 คน แต่ห้ามสมสู่ ระหว่าง เพศเดียว กัน อย่างเด็ดขาด ในขณะที่ศาสนาอื่นอนุญาตให้ชายมีภรรยาได้เพียง 1 คน แต่ไม่มีบัญญัติห้าม ความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน ฉะนั้นรูปแบบของสถาบันครอบครัวจึงอาจแตกต่างกันไป


---วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์  พฤติกรรมของคน จะเป็นเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมนั้น ๆ เช่น วัฒนธรรมในการพบปะทักทายของ ไทย ใช้ในการสวัสดีของชาวตะวันตกทั่วไปใช้ในการสัมผัสมือ ของชาวทิเบตใช้การแลบลิ้น ของชาว มุสลิมใช้การกล่าวสลาม เป็นต้น 


---วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ควบคุมสังคม สร้างความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ให้แก่สังคม เพราะในวัฒนธรรมจะมีทั้งความศรัทธา  ความเชื่อ ค่านิยม บรรทัดฐาน เป็นต้น ตลอดจน ผลตอบแทนในการปฏิบัติและบทลงโทษเมื่อฝ่าฝืน


---ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ถ้าหากเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรมดีแล้ว จะทำให้ สามารถเข้าใจพฤติกรรมต่าง ๆ ของคนในแต่ละสังคมได้อย่างถูกต้อง


*ที่มาของวัฒนธรรมไทย

 
---วัฒนธรรมไทยมีที่มาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้


---สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากสังคมไทยมีลักษณะทางด้านภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มและอุดมสมบูรณ์ด้วยแม่น้ำลำคลอง คนไทยได้ใช้น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ในการเกษตรกรรมและการอาบ กิน เพราะฉะนั้นเมื่อถึงเวลาหน้าน้ำ คือ เพ็ญเดือน 11 และเพ็ญ เดือน 12 ซึ่งอยู่ในห้วงเวลาปลายเดือนตุลาคมและปลายเดือนพฤศจิกายน อันเป็นระยะเวลา ที่ น้ำไหลหลากมาจากทางภาคเหนือของประเทศ คนไทยจึงจัดทำกระทงพร้อม ด้วยธูปเทียนไปลอย ในแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษแม่คงคา และขอพรจากแม่คงคา เพราะได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ทำให้เกิด "ประเพณีลอยกระทง"   นอกจากนั้นยังมีประเพณีอื่น ๆ  อีกในส่วนที่เกี่ยวกับ แม่น้ำลำคลอง  เช่น     "ประเพณีแข่งเรือ"


---ระบบการเกษตรกรรม สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม (agrarian society) กล่าวคือ ประชากรร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า คนไทยส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตผูกพันกับระบบการเกษตรกรรม และระบบการเกษตรกรรมนี้เอง ได้เป็น ที่มาของวัฒนธรรมไทยหลายประการ เช่น ประเพณีขอฝน ประเพณีลงแขก และการละเล่น เต้นกำรำเคียว เป็นต้น

 

---ค่านิยม (Values) กล่าวได้ว่า "ค่านิยม" มีความเกี่ยวพันกับ วัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด และ "ค่านิยม" บางอย่างได้กลายมาเป็น "แกน" ของวัฒนธรรมไทยกล่าวคือ วิถีชีวิตของคนไทยโดยส่วนรวมมีเอกลักษณ์ซึ่งแสดงออกถึงอิสรภาพและเสรีภาพ


---การเผยแพร่ทางวัฒนธรรม (Cultural diffusion) วัฒนธรรมทาง หนึ่ง ย่อม แตกต่างไปจากวัฒนธรรมทางสังคมอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมมิได้เกิดขึ้นมาใน ภาชนะ ที่ถูกผนึกตราบเท่าที่มนุษย์ เช่น นักท่องเที่ยว พ่อค้า ทหาร หมอสอนศาสนา และผู้อพยพยังคง ย้ายถิ่นที่อยู่จากแห่งหนึ่งไปยังแห่งอื่น ๆ เขาเหล่านั้นมักนำวัฒนธรรมของพวกเขาติดตัว ไปด้วย เสมอ ซึ่งถือได้ว่า เป็นการเผยแพร่ทางวัฒนธรรม เป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วและกว้างขวาง ประจักษ์ พยานในเรื่องนี้จะเห็นได้ว่าน้ำอัดลมชื่อต่าง ๆ มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก วัฒนธรรมของสังคมอื่น ซึ่งได้เผยแพร่เข้ามาในสังคมไทยก็คือ


*ศาสนาพราหมณ์ 

 
---ได้เผยแพร่เข้ามาในสังคมไทย โดยผ่าน ทางเขมร อินโดนีเซีย และมลายู อันเป็นที่มาของประเพณีต่าง ๆ ซึ่งได้รับการปฏิบัติกันอยู่ในสังคมไทย เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีอาบน้ำในพิธีการต่าง ๆ ได้แก่ อาบน้ำในพิธีปลงผมไฟ อาบน้ำ ในพิธีโกนจุก การอาบน้ำในพิธีการแต่งงาน และการอาบน้ำศพ เป็นต้น


*พุทธศาสนา 


---ได้เผยแพร่เข้ามาในสังคมไทย โดยผ่านทาง ประเทศ จีน พม่า และลังกา พุทธศาสนาได้เป็นศาสนาประจำชาติไทย ซึ่งก่อให้เกิดประเพณีมากมาย หรือ อาจกล่าวได้ว่าพุทธศาสนาผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่เกิดจนตาย  ประเพณีที่สำคัญ ๆ ได้แก่ การก่อพระเจดีย์ทราย การทอดกฐิน และการบวชนาค เป็นต้น


 *วัฒนธรรมตะวันตก 


---ที่มาของวัฒนธรรมไทยอีกแหล่งหนึ่งก็คือ วัฒนธรรมตะวันตกซึ่งได้หลั่งไหลเข้ามาในสังคมไทย อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความสะดวก รวดเร็วของการติดต่อสื่อสารคมนาคมและสื่อมวลชน วัฒนธรรมตะวันตกที่ได้เผยแพร่เข้ามา ก็ได้แก่ มรรยาทในการสังคม เช่น การสัมผัสมือ (shake hand) การกีฬา เช่น รักบี้ ฟุตบอล และการแต่งกายแบบสากล อันได้แก่ ผูกเน็คไท สวมเสื้อนอก เป็นต้น


*เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย 


*ศาสนา


---ศาสนาเป็นสถาบันที่สำคัญควบคู่กับสังคมมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่ว่า สังคมของชนชาติใด หรือภาษาใด เพราะศาสนาเป็นสิ่งที่มากับชีวิตมนุษย์ทุกคน และมีความ สัมพันธ์  ต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากศาสนา เป็นสื่อระหว่าง มนุษย์กับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ ฉะนั้นศาสนาจึงเป็นที่รวมของความ เคารพนับถือสูงสุดของมนุษย์เป็นที่พึ่งทางด้านจิตใจ และเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ เข้าถึงสิ่งสูงสุดตามอุดมการณ์หรือความเชื่อถือนั้น ๆ และศาสนาเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการสร้าง สรรค์วัฒนธรรมด้านอื่น ๆ แทบทุกด้าน เช่น วัฒนธรรมทางการเมืองการปกครองเศรษฐกิจ ศิลปกรรม วรรณกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ 


*พุทธศาสนากับชีวิตประจำวันของคนไทย


---คนไทยมีความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานานนับพันปีเศษมาแล้ว พุทธ ศาสนิกชนทั้งหลายมีความรู้สึกเคารพและศรัทธาในพุทธศาสนาฝังอยู่ในสายเลือดของคนไทยมา ตั้งแต่เกิดจนตาย พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่จำเป็นต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก เพราะศาสนาพุทธ ได้ผูกมัดจิตใจคนไทยทั้งชาติให้เป็นคนรักสันติ รักอิสระเสรี มีนิสัยโอบอ้อมอารี  มีความเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน พุทธศาสนาได้ฝังรากลงในจิตใจของ คนไทยทั้งใน อดีตและปัจจุบัน


---คนไทยจึงได้แสดงออกทางศิลปกรรมต่าง ๆ เช่น จิตรกรรมมักจะเป็นเรื่องราว เกี่ยวกับชาดกต่าง ๆ ในพุทธประวัติด้านสถาปัตยกรรมก็มีการสร้างวัดวาอารามต่าง ๆ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ เป็นต้น ส่วนดนตรีไทยก็ให้ความเยือกเย็นตามแนวทางสันติของพุทธศาสนา ด้วยอิทธิพลของ หลักธรรมในพระพุทธศาสนาทำให้จิตใจของคนไทยแสดงออกมาในลักษณะที่เยือกเย็นมีความเกื้อกูลปรองดองกัน ให้การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และทำให้คนไทยพอใจในการดำรงชีวิต อย่าง สงบสุขมาจนกระทั่งทุกวันนี้


*หลักคำสอนของพุทธศาสนา


---คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คือ "พระธรรม" ซึ่งพระพุทธองค์ทรง มุ่งสอน สำหรับบุคคลทุกประเภททั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ การสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มุ่งผล ในทางปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี      หลักคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อาจจำแนกออกเป็น  2 ระดับ ดังนี้


*โลกุตรธรรม

 
---โลกุตรธรรมเป็นธรรมชั้นสูงที่พระพุทธเจ้า ทรงสอนปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก คือ "อริยสัจสี่" หรือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค


---1)ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ อันเกิดจาก การเกิด การแก่ การเจ็บ และการตาย เช่น การพลัดพรากจากคนรัก ความไม่สมหวัง ความคับแค้น ใจต่าง ๆ การเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น ที่ทุกชีวิตทุกคนในสังคมต้องประสบ


---2)สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 ประการคือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา


---กามตัณหา คือ ความอยากได้ในสิ่งที่น่ารักใคร่


---ภวตัณหา คือ ความอยากมีอยากเห็น


---วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น


---3)นิโรธ คือ ความดับทุกข์หรือการดับตัณหาและ ความ ทะเยอทะยานต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไป


---4)มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรค 8 หรือมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) ได้แก่ ปัญญาชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ ทำความเพียรชอบ ระลึกชอบ และตั้งใจชอบ

 

*โลกิยธรรม


---โลกียธรรมเป็นธรรมสำหรับปุถุชนชาวโลก ทั่วไป มีดังนี้


---เบญจศีลและเบญจธรรม 


*เบญจศีล


---1.เว้นจากการฆ่าสัตว์
 


---2.เว้นจากการลักทรัพย์

 
---3.เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

 
---4.เว้นจากการพูดเท็จ

 
---5.เว้นจากการดื่มสุราเมรัย


*เบญจธรรม


---1.มีเมตตากรุณา

 
---2.เลี้ยงชีพชอบในทางที่ถูกต้อง

 
---3.มีความสำรวมระวังในกาม

 
---4.พูดแต่คำสัตย์จริง

 
---5.มีสติระวังรักษาตนไว้เสมอ


*พรหมวิหาร

 
---คือ ธรรมประจำใจของผู้ประเสริฐ หรือ ผู้มีจิตใจในอันดีงามประดุจดังพระพรหม มีดังนี้


---เมตตา ได้แก่ ความรัก ความปรารถนาดี ให้ผู้อื่น มีความสุข


---กรุณา ได้แก่ ความสงสาร อยากช่วยเหลือผู้อื่น ๆ ให้พ้นทุกข์


---มุทิตา ได้แก่ พลอยชื่นชมยินดีเมื่อเห็น ผู้อื่นมี ความ สุข


---อุเบกขา ได้แก่ ความวางใจเป็นกลาง วางตนและ ปฏิบัติไปตามความเที่ยง


*สังคหวัตถุ

 
---คือ การสงเคราะห์หรือ ธรรมแห่งการ ยึด เหนี่ยวบุคคลให้เกิดความสามัคคีมี 4 ประการ คือ


---ทาน คือ การให้ การเสียสละ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือ แบ่งปันซึ่งกันและกันด้วยสิ่งของหรือแนะนำให้ความรู้ เป็นต้น


---ปิยวาจา ได้แก่ วาจาที่ไพเราะอ่อนหวาน ดังนี้.








..............................................................................






ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

 อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 23 กันยายน 2558


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« September 2024»
SMTWTFS
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930     

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท02/06/2024
ผู้เข้าชม7,565,719
เปิดเพจ11,716,732
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view