/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

แก้กรรม

แก้กรรม

การแก้กรรม







*คำแนะนำ 


---ในการแก้กรรมนี้ ไม่ได้ส่งเสริมให้ท่านไปทำกรรมชั่วแล้วให้มาแก้กรรม หรือล้างกรรม ทีหลัง  แต่แนะนำสำหรับผู้ที่ทำกรรมไม่ดีมาด้วยความประมาท พลั้งเผลอ รู้เท่าไม่ถึงการณ์    ยกตัวอย่าง  ท่านองคุลิมาล  เมื่อก่อนทำด้วยความประมาท  ด้วยความไม่รู้ว่าสิ่งที่กระทำนั้นเป็นบาปกรรม 


*วิธีที่ดีที่สุด  


---1.ทำความเห็นให้ถูกต้อง  หรือเรียกว่า  สัมมาทิฏฐิ เพราะเมื่อมีสัมมาทิฏฐิแล้ว ย่อมกำจัดความเห็นผิดทั้งหลายได้  


---2.มีกัมมสัทธา เชื่อในเรื่องกรรม 


---3.วิปากสัทธา เชื่อในการให้ผลของกรรม


---4.กัมมัสสกตาสัทธา  เชื่อความที่มีกรรมเป็นของตน  แล้วกลับมาบำเพ็ญความดี  หรือบุญตามหลักที่ควรเป็น  คือให้ทาน  รักษาศีล  เจริญภาวนา


---ในการทำความดีนี้ ถึงจะมุ่งหวังการแก้กรรมเป็นเหตุ  แต่ก็ไม่ควรกังวลว่า  แก้ได้หรือไม่ได้ พึงทำใจอยู่เสมอว่า เรามีการกระทำเป็นของตน  


---อนึ่ง การให้ผลของกรรม  เป็นเรื่องอจินไตย ใคร ๆ ไม่ควรคิดมาก  ไม่ควรกังวลมาก  ให้ทำดีที่สุด  เมื่อทำดีมากๆ แล้ว กรรมไม่ดีต่าง ๆ ก็อาจจะไม่มีโอกาสให้ผล หรือตามไม่ทัน หรือกลายเป็นอโหสิกรรมไป ต่อไปนี้ จะนำวิธีแก้กรรม ที่ท่านผู้ที่ผ่านการศึกษาได้เสนอแนะไว้  เห็นว่าเป็นประโยชน์ เพราะเกี่ยวข้องกับการทำความดีทั้งนั้น 


*แนวทางสำหรับการแก้ไขวิบากกรรมให้เบาบางลงไป



*คำแนะนำในการแก้กรรม



---สำหรับท่านที่ผิดพลาดไปแล้ว  ก็อยาก  ขอแนะนำ   หนทางแก้ไข วิบากกรรมเหล่านั้น  ให้บรรเทาลงไปหรือหมดไปในที่สุด  ใช้ได้กับกรรม ทุกประเภท มีข้อแนะนำดังนี้



---1.ทำบุญอุทิศส่วนกุศล  ให้แก่เจ้ากรรมนายเวร  ที่กำลังติดตามให้ผลเราอยู่ทุกรูปแบบ   เพื่อให้ดวงวิญญาณนั้น  เห็นว่า   เรามีความตั้งใจจริงและสำนึกในผลกรรมที่ได้กระทำลงไป เช่น  การทำบุญใส่บาตร,  ถวายสังฆทาน,  ทอดผ้าป่า,  ทอดกฐิน,  ถวายพระพุทธรูป,  ถวายผ้าไตร, ไถ่ชีวิตสัตว์ ฯลฯ    แล้วตั้งใจกรวดน้ำอุทิศ  ส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวรที่อยู่ในตัวของเราเท่านั้น   แต่ท่านต้องเข้าใจเสียก่อนว่านี่เป็นเพียงทานกุศล เป็นกุศลเบื้องต้น  ที่ยังหยาบอยู่ซึ่งอาจจะไม่พอเพียงสำหรับการไถ่โทษฑัณฑ์ ที่ได้กระทำผิดไว้กับเจ้ากรรมนายเวรตนนั้นก็ได้



---2.การบวชพราหมณ์หรือการบวชพระ การถือศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 ตามเพศภาวะ ส่วนจะเป็นการบวชกี่วัน  ย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล   เมื่อบวชแล้วควรสวดมนต์ไหว้พระ ทำวัตรเช้า-เย็น เจริญสมาธิภาวนาให้มาก   เพราะเป็นกุศลที่ละเอียดสูงกว่าการให้ทานข้างต้น  


---เพราะการบวชชีพราหมณ์หรือการถือศีล 8   เป็นระดับของบุญที่สูงกว่าการให้ทาน   นอกจากจะมีโอกาสทำวัตรเช้าเย็น  ก็ยังได้นั่งสมาธิแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลที่เป็นทิพย์ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรอีกด้วย หรือ ถ้าเป็นกรรมหนักและเป็นผู้ชายก็อาจบวชพระ  เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรก็ยิ่งดีมาก



---3.เจริญสมาธิภาวนา แม้เราจะไม่มีเวลาไปบวชถือศีลที่วัดก็ตาม   เราก็ควรจะทำบ้านให้เป็นวัด   ด้วยการสวดมนต์และเจริญสมาธิภาวนาให้เป็นนิจ   เพราะบุญจากการเจริญสมาธิภาวนา เป็นกุศลที่ละเอียดมากและสูงที่สุด  ซึ่งเป็นที่ปรารถนาของทุกดวงจิตดวงวิญญาณ   เพราะผู้มีกายทิพย์หรือกายละเอียดย่อมอยากได้บุญที่ละเอียดเช่นกัน



---อีกประการหนึ่ง จะเป็นการคลายขันธ์หรือปรับปรุงธาตุขันธ์ให้ผ่อนคลาย  ระงับเบญจขันธ์อันประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ กรรมเล็ก กรรมน้อย  จะถูกขับผ่อนคลายออกจากขันธ์ได้บางส่วน ทำให้ดีขึ้นและเกิดปิติสุขตามมา  พยายามให้จิตแน่วแน่มั่นคง  จนจิตดิ่งวูบจนเกิดความสงบและสุขในใจ แล้วแผ่เมตตาให้ดวงจิตดวงวิญญาณนั้น  มาอนุโมทนาและให้เป็นอโหสิกรรมต่อกัน



---เพราะองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้กล่าวว่า หากเราทำจิตให้นิ่งสงบได้เพียงช้างกระดิกหู  งูแลบลิ้น ย่อมสามารถปิดอบายภูมิได้   คือ  ทำความดีหนีความชั่ว  ดังนั้น  แม้ไม่อาจจะไปบวชชีพราหมณ์ได้ ก็อยู่ปฏิบัติเอาเองที่บ้านก็ได้  แต่ขอให้ทำจริงเท่านั้น (ข้อ ที่ว่าปิดอบายภูมิได้นั้น หมายถึงชั่วขณะที่จิตสงบนิ่งเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าปิดได้ตลอดกาล หมายความว่าถ้าตายในขณะที่จิตสงบเป็นกุศล ก็ย่อมมีโอกาสที่จะได้ไปสู่สุคติ  หรือมีสุคติเป็นที่หวัง  ที่ปิดอบายภูมิได้เด็ดขาด คือพระโสดาบันขึ้นไปเท่านั้น  พระมหาอำพร  อนุตฺตโร)  



---4.การขออโหสิกรรม หรือ การให้อภัยทาน ในบรรดาทานทั้งหลายอันประกอบด้วย วัตถุทาน ธรรมทานและอภัยทาน ถือว่าอภัยทานเป็นทานในระดับปรมัตถทานบารมี  หากมีการให้อโหสิกรรมซึ่งกันและกัน กรรมนั้นย่อมเป็นโมฆะ หลุดพ้นจากบ่วงกรรมนั้นทันที ดังนั้น หากเจ้ากรรมนายเวรใดปรากฏตนต่อหน้าในขณะนั้น ก็พึงประกาศขออโหสิกรรมกันทันที หากแม้ว่าอีกฝ่ายไม่ยอม กรรมนั้นก็ย่อมดำเนินการส่งผลต่อไป สุดแท้แต่ลักษณะแห่งกรรมที่กระทำกันมา



---ดังนั้น ทุกครั้งที่ทำบุญแล้วให้กรวดน้ำแผ่เมตตา ระบุถึงเจ้ากรรมนายเวรที่อยู่ในตัวข้าพเจ้า หรือ ที่ติดตามข้าพเจ้า ให้มาอนุโมทนาในส่วนบุญส่วนกุศลที่ข้าพเจ้าอุทิศให้นี้ และกรรมอันใดที่ได้กระทำไปโดย เจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอให้เป็นอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อเป็นการแสดงความตั้งใจที่จะอุทิศให้แก่เขาจริง ๆ และด้วยความสำนึกผิด



---5.ขอร้องไกล่เกลี่ย  เมื่อทำทุกอย่างที่แนะนำแล้ว เหตุการณ์รอบ ๆ ตัว หรือ สุขภาพการเจ็บป่วยไม่ดีขึ้น ก็ต้องหาคนกลางช่วยไกล่เกลี่ยให้ ดังนั้น   พระสงฆ์  ผู้ทรงศีล จึงเป็นทางออกที่ดี เพราะท่านเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และมีศีล 227 ย่อมมีวิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยให้ เพราะเราเป็นจำเลย แต่วิญญาณที่อาฆาตเป็นโจทก์



---ดังนั้น  ถึงแม้เราจะพยามสร้างบุญสร้างกุศลทุกรูปแบบแล้ว  เจ้ากรรมนายเวรอาจจะยังไม่ยอมก็ได้ เพราะความโกรธยังมีอยู่  จึงไม่ยอมฟังเสียงร้องขอของเรา จึงจำเป็นต้องอาศัยคนกลางที่เป็นที่เคารพนับถือหรือเกรงใจกันไกล่เกลี่ยให้ โดยอาศัยจิตสำนึกในบาปบุญที่ได้กระทำมา และสร้างกุศลอยู่เสมอเป็นสำคัญ ประกอบด้วยพระสงฆ์ที่มีบุญฤทธิ์และเมตตาจิตที่แผ่เมตตาโปรดสัตว์ผู้ทุกข์ยากทั้งหลาย   ให้เกิดปัญญาดวงตาเห็นธรรม  จนยอมละวางและให้อโหสิกรรมต่อกัน



---ท่านทั้งหลายอ่านมาถึงตรงนี้ คงจะมีคำถามมากมายว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่า เจ้ากรรมนายเวรยอมอโหสิกรรมให้ ถ้าท่านอยากทราบคำตอบสุดท้ายตรงนี้ ก็ต้องติดตามเรื่องราวต่าง ๆ ทุกตัวอักษร แล้วท่านจะได้รับคำตอบที่ชัดเจน เป็นรูปธรรมที่ท่านสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง แล้วจะเข้าใจเรื่องราวของ "กรรม"   ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อาจทำให้ท่านเกิดความรู้สึกกลัว "กรรม"  กว่าที่เคยกลัวมาว่า  "เจ้ากรรมนายเวร"  ไม่ใช่แค่คำพูดที่ไว้หลอกคนให้กลัว แต่เป็นเรื่องจริง ๆ ที่ยังไม่เคยได้รับคำอธิบายให้ชัดเจนจากที่ไหนมาก่อนเท่านั้น



*เจ้ากรรมนายเวร


---ก็คือ ดวงจิตดวงวิญญาณที่มีความอาฆาตพยาบาทกันมาแต่อดีตถึงปัจจุบัน จะมากหรือน้อยก็ย่อมขึ้นอยู่กับ บุพกรรม ของแต่ละคน บางดวงจิตดวงวิญญาณหากมาจุติเป็นมนุษย์เหมือนกัน ก็จะคอยจองล้างจองผลาญ  หาทางทำลายเรา ในทุกโอกาสทุกสถานที่ในรูปแบบต่าง ๆ กัน ต่างกรรมต่างวาระ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ชีวิตของเราแปรเปลี่ยนไป หมุนเวียนกันไป ดีบ้าง  แย่บ้าง สุดแท้แต่กรรมดีหรือกรรมชั่วจะส่งผล



---ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาท เราจึงควรสั่งสมบุญไว้ หมั่นให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา เอาบุญเป็นตัวนำ เพื่อถ่วงดุลความชั่วให้ส่งผลช้าหรือไม่สามารถให้ผลได้ทัน   เพราะน้ำหนักบุญมากกว่าน้ำหนักบาป   นั่นเอง


 

*กรรมดี ตัดกรรมชั่ว


---กรรมชั่วที่ เราทำด้วยเจตนา  ทางกาย  ทางวาจา หรือทางใจก็ตาม ถึงเราจะไม่สามารถลบล้างได้ แต่เราสามารถทำกรรมดี  ทำดีให้มากๆ หรือดีอันยิ่งใหญ่  เพื่อไม่ให้กรรมชั่วบางชนิดมีโอกาสให้ผล  หรืออาจจะเข้าไปตัดรอนกรรมชั่วนั้นลงได้โดยเด็ดขาด ( อุปฆาตกกรรม) หรือเข้าไปลดกรรมชั่วนั้นให้มีโอกาสให้ผลน้อยลง เบาบางลง (อุปปีฬกกรรม) 


---อีกทั้งกรรมดีที่เราทำนั้น  ก็จะไปสนับสนุนกรรมดีที่เรามีอยู่  ให้มีโอกาสให้ผลเต็มที่ (อุปัตถัมภกรรม)   เหมือนดังพระบรมราโชวาทในลักษณะที่ว่า  "เราไม่สามารถทำทุกคนให้เป็น คนดีได้ทั้งหมด แต่เราต้องสนับสนุนคนดี  ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง  เพื่อป้องกันคนไม่ดี  ไม่ให้มีอำนาจ  ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้ " 


---ฉะนั้น เราไม่สามารถล้างกรรมชั่วได้ทั้งหมด  แต่เราสามารถทำกรรมดี    เพื่อให้กรรมดีมีอำนาจมากกว่ากรรมชั่ว  ไม่ให้กรรมชั่วมีอำนาจมากกว่า หรือไม่ให้กรรมชั่วมีโอกาสให้ผลได้  เมื่อเราทำกรรมดีมากๆ ดีอย่างที่สุด  ดีอย่างยิ่งใหญ่ กรรมดีที่เราทำนั่นแหล่ะ จะเข้าไปตัดรอน เข้าไปเบียดเบียนกรรมชั่ว ไม่ให้กรรมชั่วมีโอกาสให้ผลได้  


---ตัวอย่างในสมัยพุทธกาล ก็อย่างเช่น  ท่านองคุลิมาล  ฆ่าคนมาเป็นร้อยเป็นพันคน แต่ทำกรรมดีอันยิ่งใหญ่คือ  อรหันตมรรค อรหันตผล ซึ่งกรรมชั่วที่จะนำไปสู่อบายภูมิเป็นอันไม่มี  กลายเป็นอโหสิกรรมไป (กรรมที่ไม่มีโอกาสให้ผล หรือให้ผลไม่ทัน หรือกรรมที่ผ่านพ้นไปแล้ว) เพียงมีแต่เศษกรรมเล็กๆ น้อยเท่านั้น แต่นั่น!  การทำความดี นั่นแหล่ะ ดีที่สุด  

 

*กรรมลิขิต


---เมื่อเราได้ศึกษา  ถึงขบวนการแห่งกรรมในเบื้องต้นแล้ว  ก็คงพอจะเข้าใจว่า อะไร ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเราก็เป็นมาจาก "วิบากแห่งกรรม" นั่นเอง


---ดังนั้น  ชะตาชีวิตของคนเราจึงขึ้นอยู่กับ  "กรรมลิขิต"  แต่ชะตาชีวิตของคนเรานั้น  สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้   หาใช่สิ่งตายตัวแต่อย่างใดไม่ มันย่อมเป็นไปตามดุลยภาพแห่งการกระทำและแรงปฏิกิริยาของผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำ  ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง นั่นคือ  มันสามารถแก้ไขให้ดีขึ้นหรือเลวร้ายลงกว่าเดิมก็ได้ ชะตาชีวิตของคนเราจึงขึ้นอยู่กับ  "กรรมเก่าและกรรมใหม่"


---การที่เราจะแก้ไขปัญหาชะตาชีวิตของตนเอง   จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้   ด้วยการพัฒนาและปรับปรุง       ค้นคว้าหาวิถีทางที่ถูกต้อง ไม่ใช่เพียงหาทาง  สะเดาะเคราะห์  ต่อชะตา  ตัดกรรม โดยไม่พึ่งพาตนเอง เพราะถึงเราจะมีเงินทองก็คงจะซื้อบุญหรือกรรมไม่ได้แน่นอน


---แต่ถ้ารู้จักพิจารณาถึงสาเหตุหรือองค์ประกอบดังกล่าวมาแล้วข้างต้น  ว่าตนเองมีเวรกรรมใดผูกพันอยู่ ก็จะสามารถลดแรงกรรมเหล่านั้นได้โดยไม่ยาก  ความเชื่อในเรื่องกรรม  หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึง  ความศรัทธาของชาวพุทธไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง 4 ประการด้วยกัน



---1.ตถาคตโพธิสัทธา   เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือ  เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้จริง เป็นผู้ประกอบด้วยพระปัญญาธิคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ



---2.กัมมสัทธา  เชื่อเรื่องกรรม  คือ  เชื่อว่ากรรมมีจริง


---3.วิปากสัทธา  เชื่อเรื่องผลของกรรม คือ  เชื่อว่ากรรมที่บุคคลทำ  ไม่ว่าดีหรือชั่ว  ย่อมให้ผลเสมอ


---4.กัมมัสสกตาสัทธา   เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตนเอง คือ  เชื่อว่าผลที่เราได้รับ เป็นผลแห่งการกระทำของเราเอง ซึ่งอาจจะเป็นกรรมที่ทำในปัจจุบันชาติหรืออดีตชาติ

 

*ความเชื่อหรือความศรัทธาในพระพุทธศาสนาทั้ง 4 ประการ


---เป็นความเชื่อในเรื่องของกรรมเสีย 3 อย่าง ดังนั้น  จะเห็นได้ว่า  "กฏแห่งกรรม"   จึงเป็นหลักคำสอนที่สำคัญยิ่งในทางพระพุทธศาสนา  ที่ชาวพุทธทุกคนไม่ควรมองข้าม เพราะผู้ที่เชื่อกฏแห่งกรรมย่อมได้เปรียบกว่าคนที่ไม่เชื่อในเรื่องกฏแห่งกรรม ย่อมสามารถทำใจได้ในทุกเหตุการณ์ ไม่ว่าชีวิตจะทุกข์ยากลำบาก ผิดหวัง  ขมขื่น โรคภัยไข้เจ็บจะมาเบียดเบียน   ถือว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวรในอดีตมาเบียดเบียน ไม่ตีโพยตีพายโวยวาย  เรียกร้องหาความยุติธรรม

 

*กรรมให้ผลตามกาล


---1.ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม          กรรมให้ผลในชาตินี้


---2.อุปปัชชเวทนียกรรม          กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า


---3.อปราปรเวทนียกรรม          กรรมให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป


---4.อโหสิกรรม          กรรมที่เลิกให้ผล หรือยุติการให้ผลต่อไป


*กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่


---1.ชนกกรรมกรรมที่แต่งมาดีหรือชั่ว


---2.อุปถัมภกรรมกรรมที่สนับสนุนคือถ้ากรรมเดิมหรือชนกกรรมแต่งดีก็ส่งให้ดียิ่งขั้นไปถ้าชั่วก็ส่งให้ชั่วยิ่งขึ้น


---3.อุปปีฬกกรรมกรรมบีบคั้นหรือขัดขวางกรรมเดิม คอยเบียดเบียนชนกกรรม  เช่นเดิมแต่งมาดี เบี่ยงเบนให้ชั่ว เดิมแต่ง มาชั่วก็เบี่ยงเบนให้ดี


---4.อุปฆาตกกรรม  กรรมตัดรอน เป็นกรรมที่พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เช่นเดิมชนกกรรมแต่งไว้ดีเลิศ กลับที่เดียวเป็นขอทาน หรือตายทันที หรือของเดิมแต่งไว้เลว ก็กลับทีเดียวเป็นมหาเศรษฐีไปเลย

 

*กลไกแห่งกรรม


---เมื่อเราได้ศึกษาในกลไกแห่งกรรม  จนพอจะเข้าใจแล้วว่า อำนาจแห่งกรรมสามารถจะส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่  การก่อเกิดภพชาติของคนเราได้  ถ้ากรรมดีให้ผลก็แล้วไป แต่ถ้าวิบากกรรมให้ผลที่ไม่ดีต่อเราแล้ว  เราจะมีหนทางใด  ในการเบี่ยงเบนวิบากกรรมที่ไม่ดีออกไปให้พ้นตนได้


---นั่นก็คือ  เราต้องรู้เหตุเบื้องต้นเสียก่อนว่า   เรากำลังตกอยู่ในเหตุการณ์ที่ผิดปกติ  โดยอาศัยสิ่งที่เราเรียกว่า  "ลางบอกเหตุ"   หรือ  "สัญญาณบอกเหตุล่วงหน้า"   เพื่อจะได้หาหนทางหรือกุศโลบายที่แยบยลในการที่จะเข้าไปแก้ไขสิ่งที่เลวร้ายให้กลับกลายเป็นดีได้ ดังนั้น  สิ่งที่เป็นลางบอกเหตุดังกล่าว  จึงพออนุมานให้เป็นหนทางในการสังเกตุและพิจารณาได้ดังต่อไปนี้



---เจ็บป่วยผิดปกติแม้จะหาแพทย์แผนปัจจุบันหรือแผนโบราณแล้วก็ตาม อาการดังกล่าวก็ยังไม่ดีขึ้น หรือแพทย์ไม่สามารถหาสาเหตุความผิดปกติได้ นอกจากจ่ายยาให้กินเท่านั้น เช่น เจ็บหลัง เจ็บเอว เจ็บไหล่ ปวดในช่องท้อง หรือแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เนื้องอก เป็นต้น


---ถึงแม้กรรมจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย  ธาตุขันธ์ความเป็นมนุษย์ จนเกิดเวทนาอย่างแรงกล้า เราก็ต้องทำความเข้าใจว่า  ส่วนหนึ่งเป็นไปตามสภาวะธรรมชาติ แต่บางส่วนก็เป็นไปตามวิบากกรรม



---จิตใจผิดปกติ  แม้จะหาจิตแพทย์หรือบำบัดในโรงพยาบาลก็ยังไม่ดีขึ้น เช่น ปวดศรีษะรุนแรง เบลอ    พูดจาเพ้อเจ้อ   ชีวิตวุ่นวายผิดปกติ  มีปัญหาในเรื่องการทำมาหากิน   ปัญหาครอบครัว   ปัญหาการเงิน      การค้า   เครียดผิดปกติ 



*พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า สิ่งที่เป็นอจินไตยมีอยู่ 4 ประการด้วยกันคือ


---1.วิสัยของพระพุทธเจ้า


---2.ความคิดเรื่องการสร้างโลก


---3.วิสัยของผู้มีฤทธิ์


---4.กฏแห่งกรรม


*คำว่า  "อจินไตย"  แปลว่า  ไม่ควรคิด  แต่ไม่ได้หมายความว่า  ไม่ให้คิด


---ซึ่งเท่ากับเป็นการปิดกั้นไม่ให้ใช้ปัญญา  ความจริงแล้ว  พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้คิดด้วยหลักของตรรกศาสตร์   เนื่องจากการคิดแบบนี้  เป็นการคิดแบบอนุมาน คือ คาดคะเน  ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความผิดพลาดได้ง่าย   เพราะอาศัยพื้นฐานความรู้ที่เกิดจากอายตนะภายนอก  ที่เป็นประสาทสัมผัส คือ ตาเห็น หูได้ยิน    เป็นต้น


---แต่ความเป็นจริงแล้ว เรื่องราวในโลกนี้เป็นความจริง  ทั้งที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยประสาทสัมผัส และที่อยู่นอกเหนือประสาทสัมผัส  เช่น เรื่องราวในเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์และกฎแห่งกรรม ที่เป็นความจริงที่ไม่อาจสามารถพิสูจน์ได้เพียงประสาทสัมผัสเท่านั้น  แต่จะต้องมีความรู้ที่นอกเหนือพิเศษ  จากประสาทสัมผัสธรรมดา คือ อภิญญาด้วย จึงจะสามารถพิสูจน์ได้


---คำว่า "อภิญญา"  แปลว่า   ความรู้ยิ่งยวด   มี 6 อย่างด้วยกัน คือ  อิทธิวิธี,  ทิพยโสต,  เจโตปริยญาณ บุพเพนิวาสานุสติญาณ,  ทิพพจักขุ,  และอาสวักขยญาณ



---ดังนั้นแม้ว่า "กรรม"  จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายหรือธาตุขันธ์ในความเป็นมนุษย์  จนเกิดเวทนาอย่างแรงกล้า   เราก็ต้องอดทนและต้องเข้าใจว่า   สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


---แต่ไม่ได้หมายความว่า   เราจะงอมืองอเท้ารอรับ "ชะตากรรม"  แต่เพียงอย่างเดียว จนกลายเป็นคน  สิ้นคิด  ไม่หาหนทางแก้ไขชีวิตของตนให้ดีขึ้น   ถ้าเป็นเช่นนั้น  ท่านก็คงเสียที ที่เกิดมาเป็นมนุษย์  ที่เป็นสัตว์อันประเสริฐ เสียแล้ว  


---ดังนั้น  ถึงแม้จะมองไม่เห็นทางก็ไม่ได้หมายความว่า   เราจะยอมจำนนต่อกรรมนั้นเอาง่าย ๆ  เราจะต้องพยายามหาหนทางแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นให้ได้   วิธีการเบื้องต้นง่าย ๆ ก็คือ  การสร้างกรรมใหม่เพื่อเบี่ยงเบนกรรมเก่าที่กำลังให้ผลให้อ่อนตัวลงไป


---ถ้าวันหนึ่งวันใดชีวิตของเราต้องผกผันตกต่ำ   ด้อยโอกาสในวาสนาบารมี  จะได้ไม่เกิดท้อใจ  จนย่อหย่อนในการดำเนินชีวิต   ปล่อยชีวิตให้ระหกระเหินตกต่ำ  โดยไม่คิดสู้  ยิ่งมีวิบากกรรมมาก  ทุกข์ทรมานมาก  ก็ยิ่งต้องดิ้นรนให้มาก   หาทางสร้างคุณงามความดี  ชดเชยให้แก่เจ้ากรรมนายเวรเหล่านั้น  เพราะถ้าเป็นกรรมที่เบาบางก็อาจหายไปได้   ถ้าเป็นกรรมหนักก็จะบรรเทาเบาบางลงไป

 

*กรรม คือ การกระทำ

         

---กรรม คือ  การกระทำ ทำดีก็เป็นกรรม    ทำชั่วก็เป็นกรรม

 

---ทำดี  เรียกว่า  "กุศลกรรม"    ทำชั่ว  เรียกว่า  "อกุศลกรรม"


---บางคนบอกว่า  ไม่เชื่อ เรื่องกรรม  บอกว่าอยู่ที่ตัวเราเอง  อยู่ที่การทำของเราเอง ตอบอย่างนี้ ชัดเจนเลยว่า  ไม่เข้าใจเรื่องกรรม ก็การกระทำของคุณนั่นแหล่ะเป็นกรรม  กรรมไม่ใช่สิ่งชั่วร้ายฝ่ายเดียว  หรือไม่ใช่ผลร้ายฝ่ายเดียว  ไม่ใช่ผลของอดีตฝ่ายเดียว 


*ถึงปัจจุบันที่ทำอยู่  ก็เป็นกรรมหรือการกระทำ 


---ทำทางกาย จะดีหรือชั่ว เรียกว่า  "กายกรรม"  (ถ้าทำดี เป็นกุศลกรรม ที่เกิดขึ้นทางกาย ถ้าทำชั่ว     เป็นอกุศลกรรม ที่เกิดขึ้นทางกาย) 


---ทำทางจาวา  เช่น โกหก  ด่าคนอื่น หรือสวดมนต์ไหว้พระ  เป็น  "วจีกรรม"  


---ทำทางใจ เช่น พยาบาทคนอื่น อิจฉาคนอื่น  หรือมีเมตตาต่อคนอื่น  เป็นมโนกรรม


*สรุปก็คือ  กรรมที่ทำมี  3  ประเภท คือ ดี  กับ ชั่ว และ ไม่ดีไม่ชั่ว (กุสลาธมฺมา อกุสลาธมฺมา  อพฺยากตาธมฺมา)



---เกิดขึ้น 3 ทาง คือ  กาย วาจา ใจ  เมื่อเป็นเช่นนี้  จะปฏิเสธการกระทำ (กรรม) ของตนเชียวหรือ   (ในกรรม 12 ที่แบ่งตามประเภทต่าง ๆ ก็สรุปลงในนี้เหมือนกัน คือฝ่ายดี กับฝ่ายชั่ว)ฯ





......................................................................






ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

 (แก้ไขแล้ว ป.)

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 25 กันยายน 2558


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« September 2024»
SMTWTFS
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930     

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท02/06/2024
ผู้เข้าชม7,565,596
เปิดเพจ11,716,598
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view