/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

เว่ยหล่าง

เว่ยหล่าง

ภาพปก หนังสือ (พระ) สูตรของเว่ยหล่าง 







---แปลจากภาษาจีนเป็นภาษาอังกฤษโดย  มร.ว่อง มู ล่ำ แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย (ในภาคต้น)


---โดย พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ในภาพเว่ยหล่างกำลังฉีกตำราทิ้งกระจุยกระจาย  สื่อปริศนาธรรมพุทธศาสนานิกายเซ็น ว่ามิให้ยึดติดกับตำรา)


---ณ ประเทศจีน ในขณะที่สังฆปริณายกองค์ที่ ๕ กำลังเผยแผ่ศาสนาอยู่ มีเด็กหนุ่ม กำพร้าพ่อคนหนึ่งชื่อ "เว่ยหล่าง"  (หรือฮุยเล้ง หรือ ฮุยเหน็ง ญี่ปุ่นเรียก อีโน หรือเยโน ค.ศ.๖๓๘-๗๑๓)  มีอาชีพตัดฟืนขาย  เลี้ยงมารดาผู้ชราที่ตำบลชุนเชา มณฑลกวางตุ้ง ภาคใต้ของจีน


---เว่ยหล่างได้ยินอุบาสกคนหนึ่งสวด วัชรปารมิตาสูตร (The Perfection of Wisdom Sutras) ซึ่งหมายถึง พระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องความสมบูรณ์ของปัญญา ในทางภาคภาษาจีนนั้นใช้คำว่า 大般若波羅蜜經 (ต้าป้อเร่อปอหลอมี่จิง) หรือ 般若經 (ป้อเร่อจิง) หรือ 摩訶般若波羅蜜經 (หม้อฮ้อป้อเร่อปอหลอมี่จิง)


---大   (ต้า)  หรือ   摩訶  (หม้อฮ้อ)   =   ความยิ่งใหญ่ ไร้ขอบเขต


---般若   (ป้อเร่อ)   =   ปรัชญา/ปัญญา 


---波羅  (ปอหลอ)   =  ปารํ (ปารัง) ฝั่ง หรือ ปาระ ให้สำเร็จแก่การงาน,  อรรถาธิบายว่า คือการข้ามไป สู่ฝั่งแห่งพระนิพานได้สำเร็จ


---羅蜜  (หลอมี่)    =   มิตา อันมิมีที่สิ้นสุด หรืออาจจะคำว่า ปอหลอ มารวมกับ หลอมี่ ก็ได้เป็น    波 羅蜜  (ปอหลอมี่)  =  ปารมีตา/ปารมี/ปารม/ปรม(ะ)/บรม/บารมี ซึ่งทางภาษาบาลี  กล่าวว่า ชื่อว่า ปารมี มีความหมายว่า  ปรม(ะ) เพราะเป็นผู้รักษาและทำให้เต็ม 


---經  (จิง)  =  การเรียนขานชื่อหนังสือด้วยความเคารพ  ในที่นี้คือ "พระสูตร"  คัมภีร์ต่างๆ ของพระพุทธศาสนา  แปลตามตัวอักษรจีน  มีความหมายแปลว่า "เส้นดาย"  ซึ่งตรงกับภาษาบาลีที่เรียกว่า "สุตฺต" (สูตร) , (สุจ คติยํ+ต) ซึ่งแปลว่า  เส้นด้าย เช่นเดียวกัน อรรถาธิบายว่า ร้อยรัดรวบรวมไว้ซึ่งพุทธวจนะ


---ว่ยหล่าง   ได้ยินอุบาสกคนหนึ่งสวด  "วัชรปารมิตาสูตร"  พอ      ได้ยินเท่านั้น ก็เกิดขนลุกชูชัน เกิดศรัทธาอยากจะศึกษาธรรมะเหลือเกิน แต่ติดขัดที่ไม่มีใครดูแลมารดา จึงรออยู่พักหนึ่งจนในที่สุดมีผู้ให้เงิน ๑๐ ตำลึง เพื่อมอบให้มารดาใช้สอยขณะเขาไม่อยู่


---เว่ยหล่างจึงเดินทางไปเมืองวองมุย ใช้เวลาเดินทางถึง ๑ เดือน พอไปถึงก็เข้าไปนมัสการ  "ท่านหวางยั่น"   พระสังฆปริณายกองค์ที่ ๕ เพื่อขอเรียนธรรมะด้วย


---"เธอมาจากไหน" ท่านอาจารย์ถาม


---"มาจากปักษ์ใต้ครับ"


---"คนทางใต้เป็นคนป่าคนดง จะหวังเป็นพุทธะได้อย่างไร"


---"คนอาจจะมาจากภาคเหนือภาคใต้ แต่พุทธภาวะไม่มีเหนือไม่มี


---ใต้ มิใช่หรือครับ" เด็กหนุ่มย้อน


---ท่านสังฆปริณายก   รู้ทันทีว่าเด็กหนุ่มบ้านอกคนนี้ ได้รู้สัจธรรมระดับหนึ่งแล้ว แต่เพื่อมิให้เป็นภัยแก่เขา จึงแสร้งดุให้เขาเงียบเสียง แล้วให้ไปช่วยทำงานในครัว


---วันหนึ่ง ท่านอาจารย์เรียกประชุมศิษย์ทั้งหมด ให้แต่ละคนเขียน "โศลก" บรรยายธรรมคนละบทเพื่อทดสอบภูมิธรรม "ชินเชา (ชินชิ่ว)" หัวหน้าศิษย์ เป็นผู้ที่ใคร ๆ ยกย่องว่าเป็นผู้เข้าใจธรรมะอย่างลึกซึ้งกว่าคนอื่น และมีหวังจะได้รับมอบบาตรและจีวรจากท่านอาจารย์แน่ ๆ ได้แต่งโศลกบทหนึ่ง เขียนไว้ที่ผนังว่า


"กาย คือต้นโพธิ์   ใจ คือกระจกเงาใส   จงหมั่นเช็ดถูเป็นนิตย์    อย่าปล่อยให้ฝุ่นละอองจับ"


---ท่านอาจารย์ อ่านโศลกของชินเชาแล้ว ชมเชยต่อหน้าศิษย์ทั้งหลายว่า  เป็นผู้เข้าใจธรรมอย่างลึกซึ้ง (แต่ตอนกลางคืนเรียกเธอเข้าไปพบตามลำพังบอกว่าชินเชา "ยังไม่ถึง" ให้พยายามต่อไป) เว่ยหล่างได้ฟังโศลกของหัวหน้าศิษย์แล้ว มีความรู้สึกเป็นส่วนตัวว่า   ผู้แต่งโศลกยังเข้าใจไม่ลึกซึ้ง จึงแต่งโศลกแก้ เสร็จแล้ววานให้เพื่อนช่วยเขียนให้ เพราะเว่ยหล่างอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ โศลกบทนั้นมีความว่า


"เดิมที ไม่มีต้นโพธิ์   ไม่มีกระจกเงาใส  เมื่อทุกอย่างว่างเปล่าตั้งแต่ต้น    ฝุ่นละอองจะลงจับอะไร"


---ท่านอาจารย์รู้ทันทีว่า   ผู้เขียนโศลกเป็นผู้เข้าถึงสัจธรรมสูงสุดแล้ว จึงถาม "ใครเป็นคนแต่ง"  พอทราบว่า  เว่ยหล่างเด็กบ้านนอกแต่ง จึงสั่งให้ลบทิ้ง พร้อมดุด่าต่อหน้าศิษย์อื่นๆ ว่า หนังสือยังอ่านไม่ออกสะเออะจะมาเขียนโศลก แต่พอคล้อยหลังศิษย์อื่น ท่านอาจารย์เรียก เว่ยหล่างเข้าพบมอบบาตรและจีวรให้ (มอบตำแหน่ง) แล้วสั่งให้รีบหนีไปกลางดึก


---โศลกของเว่ยหล่าง ซึ่งสอดคล้องกับ วัชรปารมิตาสูตร (มหายาน) ที่ว่า


"เดิมที ไม่มีต้นโพธิ์   ไม่มีกระจกเงาใส  เมื่อทุกอย่างว่างเปล่าตั้งแต่ต้น   ฝุ่นละอองจะลงจับอะไร"


---นั้นตรงกับบทสวด ทำวัตรเช้า ที่ชื่อ สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐะ (เถรวาท) ความว่า


---อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต, มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ, ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง, โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา, อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง, สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา, เสยยะถีทัง, รูปูปาทานักขันโธ, เวทะนูปาทานักขันโธ, สัญญูปาทานักขันโธ, สังขารูปาทานักขันโธ, วิญญาณูปาทานักขันโธ, เยสัง ปะริญญายะ, ธะระมาโน โส ภะคะวา, เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ, เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ,


---" รูปัง อะนิจจัง, เวทะนา อะนิจจา, สัญญา อะนิจจา, สังขารา อะนิจจา, วิญญาณัง อะนิจจา, รูปัง อะนัตตา, เวทะนา อนัตตา, สัญญา อะนัตตา, สังขารา อะนัตตา, วิญญาณัง อะนัตตา, สัพเพ สังขารา อะนิจจา, สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ, "


---เต มะยัง โอติณณามะหะ ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ทุกโขติณณา ทุกขะปะเรตา, อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ, จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง,สัทธา อะคารัสมา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา, ตัสมิง ภะคะวะติ พรัหมะจะริยัง จะรามะ, ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา, ตังโน พรัหมะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตูติฯ


---ต่อไปนี้เป็นคำแปลของ "สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐะ" 


---พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์ เป็นเครื่องสงบกิเลส เป็นไปเพื่อปรินิพพาน เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้รู้อย่างนี้ว่า 


---แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์, แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์, แม้ความตายก็เป็นทุกข์,  แม้ความโศก,  ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย, ความไม่สบายใจ,  ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,  ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,  มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั้นก็เป็นทุกข์


---ว่าโดยย่อ  อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ


---ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ  "รูป" 


---ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ "เวทนา"


---ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ "สัญญา"


---ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ  "สังขาร" 


---ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ  "วิญญาณ"


---เพื่อให้สาวก กำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลายเช่นนี้เป็นส่วนมาก อนึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลายส่วนมาก มีส่วนในการจำแนกอย่างนี้ว่า


"รูป ไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง"


"รูปไม่ใช่ตัวตน เวทนาไม่ใช่ตัวตน สัญญาไม่ใช่ตัวตน สังขารไม่ใช่ตัวตน วิญญาณไม่ใช่ตัวตน"


"สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนดังนี้" 


---พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว โดยความเกิด โดยความแก่และความตาย โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย  เป็นผู้ถูกความทุกข์  หยั่งเอาแล้ว เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้  จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้   


---เราทั้งหลาย  ผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้นเป็นสรณะ ถึงพระธรรมด้วย ถึงพระสงฆ์ด้วย จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตามสติกำลัง ขอให้ความปฏิบัตินั้นๆ ของเราทั้งหลาย จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นเทอญ


*ดังนั้น โศลกของเว่ยหล่างที่ว่า


"เดิมที ไม่มีต้นโพธิ์   ไม่มีกระจกเงาใส  เมื่อทุกอย่างว่างเปล่าตั้งแต่ต้น    ฝุ่นละอองจะลงจับอะไร"


*จึงตรงกับ สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐะ วรรคที่ว่า  


"รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง"


"รูปไม่ใช่ตัวตน เวทนาไม่ใช่ตัวตน สัญญาไม่ใช่ตัวตน สังขารไม่ใช่ตัวตน วิญญาณไม่ใช่ตัวตน"


"สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนดังนี้"  (ภาวะนิพพาน  "เที่ยง" แต่ไม่ใช่ตัวตน)


*ในลิลิตพระลอ กวีกล่าวไว้ว่า 


---๒๑๕ สิ่งใดในโลกล้วน          อนิจจัง


---คงแต่บาปบุญยัง          เที่ยงแท้


---คือเงาติดตัวตรัง          ตรึงแน่น อยู่นา


---ตามแต่บุญบาปแล้ว          ก่อเกื้อรักษา ฯ


---ทุกสิ่งอย่างในโลกนี้          ล้วนไม่เที่ยงแท้จีรัง (ตามหลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)


---แต่บุญและบาปนั้น          ยังคงเป็นสิ่งที่เที่ยง (แท้จีรัง แต่ไม่ใช่ตัวตน)


---บุญและบาปนั้น          เสมือนกับเงาที่ติดตามเจ้าของเงา  ไปทุกหนทุกแห่ง   (ติดตรา ตรึงใจ จนเหนียวแน่นอย่างเนิ่นนาน)


---ผลบุญผลบาปที่ได้ทำไว้          ย่อมส่งผล ตามที่บุคคลนั้นๆ ก่อร่างสร้างบุญ หรือ บาป นั้นๆ


*คำชี้แจง เกี่ยวกับการศึกษาสูตรเว่ยหล่าง 


---พุทธทาสภิกขุ โมกขพลาราม ไชยา ๓๑ มีนาคม ๒๔๙๖ 


---เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีเรื่องจะต้องทราบกันเสียก่อนในเบื้องต้น อยู่ ๒ ข้อ


---ข้อแรก  หนังสือเล่มนี้จะไม่เป็นที่เข้าใจได้ สำหรับผู้อ่านที่ยังไม่เคยศึกษาทางพุทธศาสนามาก่อนเลย มันไม่ใช่หนังสือเล่มแรกสำหรับผู้ริเริ่มการศึกษาพุทธศาสนา อย่างน้อยที่สุดผู้ที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้ แม้จะไม่เคยเรียนเคยอ่านหนังสือ ของฝ่ายมหายานมาบ้างแล้ว ก็ควรจะได้ศึกษาหลักแห่งพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมาบ้างพอสมควร จนถึงกับจับใจความได้อย่างใดอย่างหนึ่งว่า พุทธศาสนาที่ตนศึกษาแล้วนั้นมีหลักการอย่างไร หรือวิธีปฏิบัติอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ได้โดยเฉพาะ


---และอีกทางหนึ่งสำหรับ   ผู้ที่เคยศึกษาแต่ฝ่ายเถรวาท  มาอย่างเคร่งครัด และยังแถมยึดถือทิฏฐิ อย่างใดอย่างหนึ่งไว้เหนียวแน่นแล้วนั้น  อาจจะมองเห็นไปว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ผิดหลักพระพุทธศาสนาเป็น มิจฉาทิฏฐิ หรือเป็นสิ่งที่น่าอันตรายเป็นอย่างยิ่งไปก็ได้


---ทั้งนี้เพราะเหตุที่ หลักคิด และแนวปฏิบัติ เดินกันคนละแนว เหมือนการเดินของคนที่เดินตามทางใหญ่ที่อ้อมค้อม กับคนที่เดินทางลัด หรือถึงกับดำดินไปผุดขึ้นในที่ที่ตนต้องการจะไปให้ถึงเสียเลย ฉันใดก็ฉันนั้น


---ข้อสอง   ผู้ที่อ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยความสนใจ ควรทราบไว้เสียก่อนว่า   หลักนิกายเซ็นและโดยเฉพาะของพระสังฆปรินายกชื่อ" เว่ยหล่าง"  นี้ นอกจากจะเป็นวิธีการที่ลัด สั้นที่สุดแล้ว ยังเป็นวิธีปฏิบัติที่อิงหลักธรรมชาติทางจิตใจของคนทั่วไปด้วย แม้ที่ไม่รู้หนังสือ หรือไม่เข้าใจพิธีรีตองต่างๆ จึงเป็นเหตุให้ลัทธินี้ถูกขนานนามว่า "ลัทธิพุทธศาสนาที่อยู่นอกพระไตรปิฏก" หรืออะไรอื่นทำนองนี้อีกมากมาย


---ที่จริงผู้ที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้  ควรจะได้รับการชักชวนให้ลืมอะไรต่างๆ  ที่เคยยึดถือไว้แต่ก่อนให้หมดสิ้นเสียก่อน  จึงจะเป็นการง่ายในการอ่านให้เข้าใจโดยเฉพาะก็คือให้ลืมพระไตรปิฏกลืมระเบียบพิธีต่าง ๆ ทางศาสนาลืมความคิดดิ่ง ๆ ด้านเดียว  ที่ตนเคยยึดถือกระทั่งลืมความเป็นพุทธบริษัทของตนเสีย  คงเอาไว้แต่ใจล้วนๆของมนุษย์ ซึ่งไม่จำกัดว่าชาติใดภาษาใด หรือถือศาสนาไหนเป็นใจ ซึ่งกำลังทำการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ว่า  ทำอย่างไรจิตของมนุษย์ทุกคน ในลักษณะที่เป็นสากลนี้จักหลุดพ้นจากความบีบคั้น  หุ้มห่อพัวพันได้โดยสิ้นเชิงเท่านั้น  การทำเช่นนี้จักเป็นประโยชน์อย่างสูงแก่ผู้อ่าน


---ในการที่จะได้ทราบอย่างชัดแจ้ง  ถึงความแตกต่างระหว่างพุทธศาสนาในขอบเขต ของคัมภีร์ กับพุทธศาสนาซึ่งอยู่เหนือคัมภีร์  พุทธศาสนาที่อิงอยู่กับพิธีรีตองต่างๆ ทั้งหลาย กับพุทธศาสนาที่เป็นอิสระตามธรรมชาติและเดินตามหลักธรรมชาติ ; พุทธศาสนาที่ให้เชื่อก่อนทำ กับพุทธศาสนาที่ให้ลองทำก่อนเชื่อ ; พุทธศาสนาในฐานะที่เป็นวรรณคดี กับพุทธศาสนาประยุกต์


---และโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างพุทธศาสนาที่ใช้ได้แต่กับคนบางคนกับพุทธศาสนาที่อาจใช้ให้สำเร็จ ประโยชน์  ได้แก่ บุคคลทุกคนแม้ที่ไม่รู้หนังสือ ขอเพียงแต่ให้มีสติปัญญาตามปรกติสามัญมนุษย์เท่านั้น (ได้ฟังและรู้เรื่อง)


---ผู้ที่ได้ทราบเช่นนี้แล้ว  จะได้รับพุทธศาสนา  ชนิดที่ปฏิบัติได้จริง ตามกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ มาปฏิบัติอย่างเหลือเฟือ ที่บ้าน, ที่ทำงาน และที่ไหนๆ และลัดดิ่ง ไปสู่สิ่งที่จะให้เกิดความอิ่ม, ความพอ ได้โดยเร็ว  ถ้า มิฉะนั้นแล้ว  เขาก็จะเป็นตัวหนอนที่มัวแต่กัดแทะหนังสือ หรือเป็นนักก่อการทะเลาะวิวาทตามทางปรัชญา    ไปตามเดิมแต่อย่างเดียว


---ผู้อ่านจะสังเกตุเห็นได้เองเมื่ออ่านในตอนแรกๆ ว่า หนังสือเรื่องนี้ไม่ใช่หนังสือที่บรรจุไว้ด้วยข้อความง่ายๆ หรืออ่านเข้าใจได้ง่ายๆ เพราะเหตุว่า เรื่องการทำใจให้หลุดพ้นจากทุกข์จริงๆ นั้น ไม่ใช่ของง่ายเลย แต่เป็นสิ่งที่น่าแปลกประหลาดอย่างยิ่งว่า ถ้าอ่านไปจนเข้าใจแล้ว จะพบว่าทั้งที่มันเข้าใจได้ยากมาก ก็ยังอาจเป็นที่เข้าใจได้


---แม้แต่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือหรือไม่เคยศึกษาพระไตรปิฏกมาก่อนอยู่นั่นเอง และทั้งไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากสิ่งที่มนุษย์ควรรู้และอาจรู้ได้โดยไม่เหลือวิสัย  ข้อความทุกข้อ  ชี้บทเรียนไปที่ตัวชีวิตนั่นเอง และได้ถือเอาความพลิกแพลงแห่งกลไก ในตัวชีวิตโดยเฉพาะคือ "จิต"ซึ่งเป็นโจทย์เลขหรือปัญหาที่ต้องตีให้แตกกระจายไป และจบสิ้นกันเพียงเท่านั้น คือ เท่าที่จำเป็นจริงๆ ไม่มีปัญญาเหลือเฟือชนิดที่ตีปัญหาโลกแตก ที่ชอบถกเถียงกันในหมู่บุคคล ที่อ้างตัวว่าเป็นพุทธบริษัทอันเคร่งครัดเท่านั้นเลย


---อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้  มิได้เป็นหนังสือในลักษณะตำราธรรมะโดยตรง  เป็นเพียงบันทึก  เรื่องราวต่างๆ ที่เป็นประวัติและคำสอนของเจ้าลัทธิท่านหนึ่งเท่านั้น ; เราไม่อาจจับเอาหลักธรรมะต่างๆ   ที่จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย จนสะดวกแก่การศึกษาไว้ก่อนแล้วโดยง่ายเลย ผู้ศึกษาจะต้องเลือกเก็บใจความ    ที่เป็นหลักธรรมต่าง ๆ  เอาจากเรื่องราว  ที่เป็นประวัติหรือบันทึกเหตุการณ์เหล่านั้น  จากข้อความที่เข้าใจได้ยาก ๆ นั้นแหละ ผู้ศึกษาจะต้องทำการขุดเพชรในหินด้วยตนเอง


---หนังสือเล่มนี้ แม้จะเป็นหนังสือของทางฝ่ายมหายานก็จริง แต่หาใช่มหายาน ชนิดที่ชาวไทยเราเคยได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง หรือเข้าใจกันอยู่โดยมาก ไม่มหายานที่เราเคยได้เห็น ได้ยิน ได้ฟังกันอยู่เป็นปรกตินั้น ก็เป็นชนิดที่เกี่ยวเนื่องติดแน่นกันอยู่กับพระไตรปิฏกและพิธีรีตองต่างๆ และไหลเลื่อนไปในทางเป็นของขลังและของศักดิ์สิทธิ์เหมือนกัน


---ส่วนใจความในหนังสือเล่มนี้  เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับสิ่งของเหล่านั้น คงเป็นไปแต่ในทางปฏิบัติธรรม ของทางใจ โดยอาศัยปัญญาเป็นใหญ่ หรือที่เราเรียก กันว่า "วิปัสสนา" ธุระล้วนๆ และทั้งเป็นแบบหนึ่งของตนเองซึ่งไม่ซ้ำใคร เพราะมุ่งหมายจะให้เป็นวิธีลัดสั้นที่สุด ดังกล่าวแล้ว


---เพราะฉะนั้น ผู้ที่เคยตั้งข้อรังเกียจต่อฝ่ายมหายาน และมีความยึดมั่นมาก จนถึงกับพอเอ่ยชื่อว่า "มหายาน" แล้วก็ส่ายหน้าดูถูกเหยียดหยาม ไม่อยากฟังเอาเสียทีเดียวนั้น ควรทำในใจเสียใหม่ ในการที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้ ซึ่งจะทำให้ท่านเกิดความรู้สึกอันตรงกันข้ามจากที่แล้วๆ มาและเกิดความคิดใหม่ขึ้นมาแทนว่า การตั้งข้อรังเกียจเดิมๆ ของตนนั้นมันมากและโง่เกินไป...


---เมื่อกล่าวโดยหลักกว้างๆ แล้วลัทธิของเว่ยหล่างนี้ เป็นวิธีลัดที่พุ่งแรงบทหนึ่ง อย่างน่าพิศวง ถ้าจะชี้ให้เห็นกันง่ายๆ ว่า ลัทธินี้มีหลักหรือวิธีการอย่างใดแล้ว ก็ต้องชี้ไปในทางที่จะวางหลักสั้นๆ ว่า  ก็เมื่อปุถุชนคนธรรมดาสามัญ ทั่วไป ย่อมเป็นผู้ที่กำลังมีความเห็นหรือความเข้าใจที่ผิดจากความจริง เป็นปกติอยู่แล้ว สิ่งที่ตรงกันข้ามจากที่คนธรรมดาสามัญคิดเห็นหรือเข้าใจนั่นแหละ เป็นความเห็นที่ถูก


---เพราะฉะนั้น เว่ยหล่างจึงได้วางหลักให้คิดชนิดที่เรียกว่า "กลับหน้าเป็นหลัง" เอาทีเดียว ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้อื่นกล่าวว่า "จงพยายามชำระใจให้สะอาดเถิด" เว่ยหล่างกลับกล่าวเสียว่า "ใจของคนทุกคนสะอาดอยู่แล้ว จะไปชำระมันทำไมอีก สิ่งที่ไม่สะอาดนั้นไม่ใช่ใจ จะไปยุ่งกับใจมันทำไม"


---หรือถ้าจะกล่าวให้ถูกยิ่งขึ้นไปกว่านั้นก็กล่าวว่า เว่ยหล่างถือว่า ใจมันไม่มีตัว ไม่มีตน แล้วจะไปชำระอะไรให้แก่ใคร การที่จะไปเห็นว่าใจเป็นใจและไม่สะอาดนั้น เป็นอวิชชาของผู้นั้นเองต่างหาก ดังนี้เป็นต้น


---โกอานหรือปริศนาธรรมที่ลัทธินี้ วางไว้ให้ขบคิด ก็ล้วนแต่ทำให้คนสามัญทั่วไปงงงวย เพราะแต่ละข้อมีหลักให้คิด เพื่อให้เห็นสิ่งตรงกันข้าม จากที่คนธรรมดาคิดกันอยู่ หรือเห็นๆ กันอยู่ ตัวอย่างเช่น 


---ถ้าหากว่ากามีสีดำ นกยางก็ต้องมีสีดำด้วย หรือถ้าเห็นว่านกยางมีสีขาว กาก็ต้องขาวด้วย และถ้าให้ถูกยิ่งไปกว่านั้น ก็คือ นกยางนั่นแหละสีดำ กานั่นแหละสีขาว สังสารวัฏกับนิพพานเป็นของสิ่งเดียวกัน ที่ที่เย็นที่สุดนั้นคือที่ท่ามกลางกองเพลิงแห่งเตาหลอมเหล็ก เป็นต้น


---ถ้าใครมองเห็นความจริง ของแบบเว่ยหล่าง  เหล่านี้ก็ย่อมแสดงอยู่ในตัว  ว่าเขาได้เห็นสิ่งต่างๆ จนลึกถึงขั้นที่มันตรงกันข้ามจากที่คนสามัญทั่วไปเขามองเห็นกันอยู่ เป็นปรกติ ฉะนั้น สำหรับการสรุปใจความของลัทธินี้อย่างสั้นๆ ที่สุดก็สรุปได้ว่า  "พยายามคิด จนเห็นตรงกันข้ามจากความคิดของคนที่ยังมี อวิชชาห่อหุ้มแล้ว ก็เป็นอันนับได้ว่า ได้เข้าถึงความจริงที่สุดแล้ว"  และวิธีการแห่งลัทธินี้ได้วางรูปปริศนาให้คิด ชนิดที่ผิดตรงกันข้ามไปเสียตั้งแต่เริ่มแรกทีเดียว


---ใครคิดออก ก็แปลว่าคนนั้นผ่านไปได้ หรืออย่างน้อยที่สุด  ก็เป็นวิธีที่จะทำให้ผ่านไปได้โดยเร็วที่สุด  นั่นเอง คิดให้ตรงข้ามจากสามัญสัตว์ทั่วไปเถิด ก็จะเข้าถึงความคิดของพระอริยเจ้าขึ้นมาเอง ฉะนั้น นิกายนี้จึงเรียกตัวเองว่า "นิกายฉับพลัน" ซึ่งหมายถึงว่า "จะทำให้ผู้ปฏิบัติตามวิธีลัดนี้  ให้บรรลุธรรมได้อย่างฉับพลันโดยไม่มี พิธีรีตอง"


---ส่วนปาฐกถาอีก 3 เรื่อง ของนายแพทย์ ตันม่อเซี้ยง ซึ่งพิมพ์ไว้ต่อท้ายเรื่องสูตรเว่ยหล่างนั้นเล่า  ก็เป็นข้อความที่จะให้ผู้อ่านได้เข้าใจในวิธีการปฏิบัติของ "นิกายฉับพลัน" ได้เป็นอย่างดี จากข้อความทั้งหมดนั้น ผู้ศึกษาจะได้ความรู้ที่แน่นอนข้อหนึ่งว่า 


---วิธีการที่ "ฉับพลัน"นั้น   ย่อมขึ้นอยู่แก่ความช่วยเหลือของอาจารย์ หรือผู้ควบคุมที่สามารถจริงๆ เป็นส่วนใหญ่ เพราะตามธรรมดาแล้ว "การเขี่ยให้ถูกจุด"นั่นแหละ เป็นความสำเร็จที่ฉับพลันเหนือความสำเร็จทั้งปวง ถ้ามีความจำเป็นถึงขนาดที่จะต้องให้ตัวเองเป็นอาจารย์ตัวเองแล้ว ขอจงได้พยายามศึกษาและจับใจความสำคัญแห่งข้อความนั้นๆ ให้ได้จริงๆ ทุกๆ คนเถิด


---ธรรมะนั้นไม่มีอะไรมากไปกว่า เรื่องของคนเราๆ ทุกๆ คน เพราะมัวไปยกขึ้นให้สูง เป็นเรื่องคัมภีร์หรือของศักดิ์สิทธิ์ไปเสียท่าเดียว ก็เลยกลายเป็นเรื่องพ้นวิสัยของคนทั่วไป เว่ยหล่าง  มีความมุ่งหมายให้ธรรมะนั้น กลับมาเป็นเรื่องของคนธรรมดาสามัญ แม้ที่ไม่รู้หนังสือ เพื่อประโยชน์แก่คนตามความหมายของคำว่า "มหายาน" หวังว่าผู้ที่คิดกรุ่นอยู่ในใจเสมอว่า "ตนเป็นคนฉลาด เพราะรู้หนังสือดีนั้น จัดได้ทำตนให้เป็นบุคคลที่ ไม่เสียเปรียบผู้ที่ไม่รู้หนังสือได้คนหนึ่งเป็นแน่"


*ปล. เนื้อหาใน (พระ) สูตรของเว่ยหล่าง ยังมีอีกมาก


---ที่นำมาลงนี้เป็นเพียงประวัติ ในเบื้องต้นของท่าน เว่ยหล่าง  สำหรับผู้ที่ผู้สนใจ สามารถสั่งซื้อที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป หรืออาจหยิบยืมจากห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดของมหาวิทยาลัย ก็ได้ฯ






......................................................................






ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

 รวบรวมโดย...แสงธรรม

 (แก้ไขแล้ว ป.)

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 25 กันยายน 2558


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท04/08/2023
ผู้เข้าชม6,580,802
เปิดเพจ10,319,757
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

ติดต่อเรา-

view