/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

ตำนานเขาไกรลาศ=คลิป

ตำนานเขาไกรลาศ=คลิป

คำว่า หิมพานต์ บางแห่งเขียน หิมวันต์







---บในหนังสือวรรณคดีจำนวนมาก เช่น ไตรภูมิกถา มหาชาติเวสสันดร เวสสันดรชาดก กากีคำกลอน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า “ชื่อป่าหนาวแถบเหนือ อินเดีย” ซึ่งคงจะหมายถึงป่าแถบภูเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นภูเขาที่มียอดสูงสุดในโลก เป็นภูเขาอยู่ในดินแดนอินเดียและเนปาลติดต่อกัน ผู้ไปเยือนประเทศเนปาลมักจะถือโอกาสไปเยือนภูเขาหิมา ลัย ซึ่งมีหิมะปกคลุมอยู่ตลอดปีงดงามมาก



*ไตรภูมิกถา อธิบายลักษณะ ป่าหิมพานต์ ชมพูทวีปเก็บความได้ว่า



---“แผ่นดินชมพูทวีปนั้น มีปริมาณได้ ๑๐,๐๐๐ โยชน์ ทั้งด้านยาวและด้านกว้าง แยกออกเป็นที่อยู่อาศัยของหมู่มนุษย์ ๓,๐๐๐ โยชน์ เป็นป่าเขาพระหิมพานต์ ๓,๐๐๐ โยชน์ เป็นทะเล ๔,๐๐๐ โยชน์ ภูเขาหิมพานต์นั้นสูงประมาณ ๕๐๐ โยชน์ กว้างใหญ่ ๓,๐๐๐ โยชน์ มียอดเขา ๘๔,๐๐๐ ยอด ที่เชิงเขาหิมพานต์นั้น มีต้นหว้าใหญ่ต้นหนึ่งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำชื่อว่า สีทานที ต้นหว้านั้นมีขนาดใหญ่โอบรอบได้ ๑๔ โยชน์ ตั้งแต่พื้นดินขึ้นไปถึงค่าคบสูงได้ ๕๐ โยชน์ ตั้งแต่ค่าคบขึ้นไปถึงยอดได้ ๕๐ โยชน์ และตั้งแต่ปลายค่าคบด้านทิศตะวันออกมาถึงทิศตะวันตก มีระยะไกลถึง ๑,๐๐๐โยชน์ ตั้งแต่ปลายค่าคบด้านทิศเหนือจดทิศใต้ไกลถึง ๘๐๐,๐๐๐วา ปริมาณปลายค่าคบโดยรอบปริมณฑลได้ ๒,๔๐๐,๐๐๐ วา ดอกของต้นหว้านั้น มีลักษณะงาม มีกลิ่นหอมยิ่งนักและมีผลใหญ่...มีรสหวานอร่อยเหมือน น้ำผึ้ง...ยางของผลหว้านั้น เมื่อร่วงหล่นลงกลายเป็นทองคำสุกชื่อว่า ชมพูนุท...



---ถัดจากป่าไม้หว้า มีป่าไม้มะขามป้อม มีรสอร่อยถัดไปมีป่าสมอ ซึ่งมีรสหวานปานน้ำผึ้ง ถัดป่าสมอไปมีแม่น้ำ ๗ สาย ถัดไปมีป่าไม้นารีผล ซึ่งมีลักษณะทรวดทรงงดงามยิ่งนัก เปรียบปานสาวรุ่นอายุได้ ๑๖ ปี เมื่อชายหนุ่มทั้งหลายได้มาพบเห็นก็มีใจเสน่หา ลุ่มหลงรักใคร่ ถัดออกไปมีแม่น้ำสมุทร และมีป่าไม้ ๖ ป่า คือ ป่ากุรภะ ป่าโกรภะ ป่ามหาพิเทหะ ป่าตะปันทละ ป่าโสโมโล และป่าไชยเยศ ป่าไม้เหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยบำเพ็ญบุญของผู้ทรงธร รมทั้งหลาย...ป่าไม้ นั้นมีเนื้อทรายจามรีอยู่มากมาย พวกเขาเอาหางจามรีมามุงเรือนกันอยู่อาศัย พวกเขาอยู่ในที่นั้นโดยไม่ต้องทำไร่ไถนาหาเลี้ยงชีพ ข้าวสาลีและถั่วก็งอกขึ้นเอง และมีรสหวานอร่อยปานน้ำผึ้ง




---กิเลน กระหนกลายไทยสัตว์หิมพานต์    มีลำตัวและหางเป็นสิงห์ ศีรษะกีบและเกล็ดเป็นกิเลน ลำตัวสีน้ำเงิน เกล็ดสีม่วง

 

---อัปสรสีห์ กระหนกลายไทยนางฟ้าถือดอกบัว   ท่อนบนเป็นนางฟ้า ท่อนล่างเป็นราชสีห์ ตัวสีเหลือง

 

---วารีกุญชร กระหนกลายไทย   ลำตัวเป็นช้าง กลางหลัง ใต้ท้อง และขามีครีบแบบปลา ครีบและหางสีเขียว ตัวสีม่วง

 

---กุมภนิมิต กระหนกลายไทย    ท่อนบนเป็นเทวดา ท่อนล่างเป็นจระเข้เทวดา ตัวสีขาว


---ถัดป่านั้นไป มีป่าไม้มะขวิด พรรณไม้ต่างๆ ที่มีในป่าหิมพานต์นั้น กินหวานมีรสอร่อยทุกๆ อย่างในป่าหิมพานต์ มีสระใหญ่ ๗ สระ คือ สระอโนดาต สระกัณณ มุณฑะ สระรถการะ สระฉัททันต์ สระกุณาละ สระมัณฑากิณี และสระสีหปปาตะ สระใหญ่ทั้ง ๗ นี้เท่ากัน ความกว้างลึกและมณฑลรอบเท่ากัน คือ กว้าง ๔๓๒,๐๐๐ วา ลึก ๔๓๒,๐๐๐ วา มณฑลรอบ ๑,๒๙๖,๐๐๐ วา สระอโนดาต มีเขา ๕ เทือกล้อมรอบ คือ เขาสุทัสสนะ เขาจิตรกูฏ เขากาฬักูฏ เขาคันธมาทน์ และเขไกรลาส...ณ เขาคันธมาทน์ นั้น


---มีถ้ำเป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ประตูถ้ำแก้ว มีต้นไม้ต้นหนึ่งชื่อ มัญชุสกะ สูงได้โยชน์หนึ่งใหญ่ได้โยชน์หนึ่ง มีดอกบานสะพรั่งทั้งในน้ำและบนบก ข้างหน้าต้นไม้นั้นมีศาลาแก้วหลังหนึ่ง เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าไปอยู่ในถ้ำนั้นเมื่อใด มีลมอันหนึ่ง ชื่อ สมาหรวาตะ พัดเอาดอกไม้เข้ามาไว้รอบเหนือแท่นแก้ว เป็นเครื่องบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า และเมื่อดอกไม้นั้นเหี่ยว จะมีลมอันหนึ่งชื่อ สัมมัชชนวาตะ มาพัดเอาดอกไม้เหี่ยวเหล่านั้นไปหมด แล้วลมสมาหรวาตะ ก็พัดเอาดอกไม้มาไว้ดังเดิมเพื่อบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าเช่นนั้นทุกครั้ง



---เขาไกรลาสนั้นเป็นเงิน เขาเทือกนี้ใหญ่และสูงเท่ากัน ยื่นไปในสระอโนดาต ด้วยอานุภาพพญานาคราชและฝูงเทวดาที่บันดาลให้ฝนตก ณ สระอโนดาตนั้น ทั้งแม่น้ำใหญ่น้อยที่ไหลมาแต่ห้วยและภูเขา ก็ไหลไปขังอยู่ในสระอโนดาตนั้น...จึงไม่เหือดแห้งสัก ครั้งเดียว วรรณคดีไทยที่กล่าวถึงป่าหิมพานต์ มักจะพรรณนาถึงสัตว์หิมพานต์ไว้ด้วย ดังกล่าวมาข้างต้น ถึงป่าหิมพานต์ บรรดาพรรณไม้ต่างๆ ล้วนแตกต่างไปจากปกติ ดังนั้น สัตว์หิมพานต์ก็ไม่ใช่สัตว์ปกติทั่วไปเช่นกัน จะมีลักษณะแปลกประหลาดไปกว่าสัตว์ในโลกมนุษย์ กวีและจิตรกรประติมากรโบราณ ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์สัตว์พิมพานต์ขึ้นในวรรณคดี หรือในภาพจิตรกรรม ตลอดจนประติมากรรม ที่ประดิษฐานไว้ตามวัดวาอารามหรือปราสาทราชวัง จึงมักจินตนาการและสร้างสรรค์สัตว์หิมพานต์ต่างๆ ไว้อย่างงดงาม ปรากฏตามสมุดไทยโบราณภาพจิตรกรรมหรือปูนปั้นตามวัด
 

---“สัตว์หิมพานต์ หรือสัตว์เขาไกรลาศ" เป็นส่วนหนึ่งของกระหนกลายไทย เป็นจินตนาการที่ช่างพรรณนาสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิ มพานต์ หรือเขาไกรลาศ ถิ่นฐานที่สถิตของผู้มีคุณวิเศษ ดินแดนที่ไกลแสนไกล ยากที่มนุษย์ธรรมดาล่วงไปถึงได้ สัตว์เหล่านั้นได้ชื่อว่าเป็นจอมสัตว์มีศักดินาเป็นใ หญ่บ้าง มีเพศพรรณไม่เหมือนสัตว์ในมนุษยโลกบ้าง และมีการผสมต่างพันธุ์บ้าง ประกอบด้วยเทวดา สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์อากาศ ซึ่งช่างต่างประดิษฐ์พลิกแพลงทรงเครื่องให้สวยงาม เพื่อความเหมาะสมของสภาพป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาศที่ ปรากฏในวรรณคดี ไตรภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง)และ รามเกียรติ์ มีความเชื่อกันว่า สัตว์หิมพานต์แต่ละประเภทต่างมีฤทธิ์เดช อำนาจพิเศษเป็นเลิศในตัวเอง อำนวยผลทางสวัสดิมงคลแก่ผู้ประสบพบเห็น เป็นส่วนใหญ่ด้วย



---“ชาติไทยนิยมทำ สัตว์หิมพานต์ หรือ สัตว์เขาไกรลาศ มาตั้งแต่ต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชพิธีหลวง เช่น พระราชพิธีโสกันต์ งานพระเมรุพระบรมศพ มักประดิษฐ์สัตว์หิมพานต์ประดับเขาไกรลาศ และพระเมรุมาศ ซึ่งเป็นส่วนในการประกอบพิธีด้วย นอกจากนั้น จะปั้นประดับพุทธสถานสำคัญ เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ให้เห็นความอลังการ และความศักดิ์สิทธิ์ของปูชนียสถานนั้นๆ”



---ภาพสัตว์หิมพานต์ ที่สำนักงานสลากกินแบ่งนำมาจัดทำปฏิทินเลื่อน พ.ศ.๒๕๓๖นั้น มีลักษณะเป็นสัตว์หิมพานต์แบบกระหนกลายไทยตามจินตนาก ารของจิตรกรไทย ที่รังสรรค์ภาพด้วยกระหนกลายไทยอย่างงามวิจิตรประณีต แฝงไว้ด้วยพลังแห่งความเชื่อถือในความมหัศจรรย์ของป่ าหิมพานต์ ตามคติโบราณซึ่งยากจะหาได้ในวิถีชีวิตปัจจุบัน



---กระหนกลายไทย เป็นศิลปกรรมที่ศิลปินจินตนาการโดยได้รับอิทธิพลจากเ ปลวไฟ เป็นลักษณะสร้างสรรค์ศิลปกรรม ที่แสดงอัจฉริยภาพของศิลปินผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ มีรูปทรงและเส้นลายงดงามวิจิตร เป็นการผสมผสานธรรมชาติกับศิลปะไว้อย่างกลมกลืน โดยใช้คุณลักษณะและความเคลื่อนไหวของเปลวไฟมาปรุงแต่ ง เป็นความชาญฉลาดในการสร้างสรรค์ศิลปะที่ทรงคุณค่า และเป็นเอกลักษณ์อย่างน่าชื่นชม โดยเฉพาะสามารถใช้ศิลปะกระหนกลายไทย ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้หลากหลายชนิด ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม



---ภาพศิลปะ สัตว์หิมพานต์กระหนกลายไทย จากสมุดไทยในหอสมุดแห่งชาติที่นำมาแสดงเป็นตัวอย่างนี้ แสดงถึงอัจฉริยภาพของศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานด้านจิตร กรรมไว้อย่างงดงามประณีต ดึงดูดความสนใจของผู้ที่มีโอกาสชม และเป็นการเสริมสร้างคุณค่าของวรรณคดีโบราณที่กล่าวถึงสัตว์หิมพานต์ ให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น เป็นมรดกศิลปะอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ที่งดงามล้ำค่ามากอัศจรรย์แห่งธรณีแปรสัณฐาน


---ใครๆ ก็รู้ว่าเทือกเขาหิมาลัยนั้นสุดแสนยิ่งใหญ่ เพราะมียอดเขาเอเวอร์เรสต์ที่สูงที่สุดในโลก ส่วนชื่อก็สุดแสนเหมาะสม เพราะ หิมาลัย = หิมะ + อาลัย (ที่อาศัย) ซึ่งบ่งว่าเทือกเขานี้มีหิมะปกคลุมอยู่ตลอดปี แต่หากรู้เพียงแค่นี้ ก็น่าเสียดายความสำคัญในมิติอื่นๆ เพราะหิมาลัยเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญหลายสาย เช่น คงคา ยมุนา และพรหมบุตร โดยเฉพาะ "คงคาสวรรค์" ตามคติของชาวอินเดียนั้น ได้หล่อเลี้ยงพื้นที่กว่า 300,000 ตารางกิโลเมตร ตามแนวเส้นทางราว 3,000 กิโลเมตร มานานนับพันปีแล้ว


---หิมาลัยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นดินแดนแห่งเทพเจ้าของชาวฮินดู เขาไกรลาส (เขียนว่า ไกลาส ก็ได้) ก็ถือกันว่าเป็นที่สถิตของพระอิศวร ส่วนในทางพุทธศาสนานั้น หิมาลัยเป็นดินแดนต้นกำเนิดของศากยวงศ์ เพราะพระเจ้าโอกกากราช ได้สร้างเมืองที่ป่าไม้สักกะอันเป็นที่อยู่ของกบิลดาบสแห่งเทือกเขาหิมาลัย และสถาปนาราชวงศ์ศากยะขึ้น แม้พระพุทธเจ้าก็ประสูติ ณ ลุมพินีวัน ในเขตหิมาลัย หรือประเทศเนปาลในปัจจุบัน


---หิมาลัยเป็นขุมทรัพย์ทางวิชาการของเหล่านักวิทยาศาสตร์   เพียงแค่ความหลากหลายทางชีวภาพก็น่าตื่นตะลึงแล้ว เพราะหิมาลัยมีระดับความสูงแตกต่างกันทำให้มีสภาพภูมิอากาศหลากหลาย จึงพบพืชกว่า 5,000 ชนิด นก 530 ชนิด แมลง 2,300 ชนิด และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกว่า 190 ชนิด (ข้อมูลใหม่อาจพบมากกว่านี้)  เมื่อราว 40-50 ล้านปีก่อนนั้น แผ่นเปลือกโลกอินเดียชนกับแผ่นยูเรเชีย เกิดเป็น 'รอยย่น' หรือเทือกเขาหิมาลัยขนาดมหึมา แผ่นเปลือกโลกอินเดียนั้นมีทั้งผืนน้ำและพื้นดิน แต่ต่อมาผืนน้ำเหือดแห้งไป และก้นทะเลก็ได้กลายเป็นเทือกเขา ที่มั่นใจว่าภาพนี้น่าจะถูกต้องก็เพราะว่า หากดูภาพจากมุมสูงจะเห็นรอยย่นที่ว่าชัดเจน หากดูเนื้อภูเขา ก็จะพบหินตะกอนซึ่งบ่งบอกว่าที่แห่งนั้นเคยเป็นทะเลมาก่อน แถมยังพบซากฟอสซิลของสัตว์ทะเลดึกดำบรรพ์ที่เรียกว่า แอมโมไนต์ (ammonite) แถวๆ แม่น้ำ Kali Gandaki ในเนปาลอีกด้วย


---ปัจจุบัน เทคโนโลยี GPS  (Global Positioning System) สามารถวัดได้ว่า แผ่นเปลือกโลกอินเดียยังคงเคลื่อนไปทางเหนือด้วยอัตราเร็ว 18 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งทำให้เทือกเขาหิมาลัยสูงขึ้นประมาณ 5 มิลลิเมตรต่อปี แม้จะน้อยนิด แต่ก็วัดได้จริง   มุมมองของนักวิทยาศาสตร์นั้น ฟังแล้วน่าตื่นเต้น แต่คงจะสมดุลยิ่งขึ้น หากได้เห็นความงดงามในมุมมองของศิลปินบ้าง ในวรรณกรรมเรื่อง เมฆทูต มหากวี กาลิทาส (Kalidas) ได้พรรณนาความงามของเทือกเขาหิมาลัยไว้ว่า (ถอดความโดยท่านอาจารย์กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย)


---" ลิ่วละล่องฟ่องฟ้านภากาศ ถึงไกลาสสิขรินทร์ปิ่นสวรรค์  สุกสกาวขาวระยับจับคนันตร์ รับอาคันตุกะชนด้นดำเนิน  อันไกลาสคีรีศรีสิงขร ถิ่นอมรเทพเจ้าภูเขาเขิน  ดังคันฉ่องส่องเงาสกาวเกิน เทพีเพลินส่องโฉมประโลมสุรางค์ "


---หรือ ดังที่อาจารย์อรุณ เฉตตีย์ พรรณนา ไว้ว่า "เทือกเขาหิมาลัยดูประหนึ่งคล้ายสายสังวาลที่ล่ามฟ้าและดินมิให้พรากจากกัน เป็นสายสัมพันธ์จากพื้นพิภพที่ไปบรรจบหมู่เมฆอันสูงสุดลิบสุดสายตา” นั่นเอง


*เรื่องราวของเทพเจ้าฮินดู  


---ตามที่ปรากฎในพระคัมภีร์นับว่าเป็นเรื่องที่แปลก โดยเทพแต่ละองค์ประทับอยู่ ณ ที่ต่างๆกัน เช่น ท้าวจตุโลกบาล นั้นก็ประทับอยู่ ณ สวรรค์ชั้นแรกนามว่า จาตุมหาราชิกา ส่วน พระอินทร์ นั้นพระคัมภีร์กล่าวว่าสถิตอยู่ใน สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยมีที่ประทับที่ ภูเขาพระสุเมร ซึ่งบางทีก็เรียกว่าภูเขาเมรุ (Mt.Meru) อันเป็นชื่อภูเขากลางจักรวาล มี ทะเลสีทันดร ล้อมรอบ อยู่ในระหว่างเขาสัตบริภัณฑ์คือภูเขาทั้ง 7 คือ ภูเขายุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสนะ เนมิธร วินตกะ และอัศกัณ ซึ่งภูเขาเมรุนี้บ้างก็เชื่อว่าคือ ยอดเขาศักกะมารดา หรือ ยอดเขาเอฟเวอเรสต์ ที่รู้จักกันดีนี่เอง


*พระพรหม  


---ในไตรภูมิกล่าวว่า อยู่ใน พรหมโลก ซึ่งมี 16 ชั้น แต่เป็นที่ประทับของพรหมประเภทต่างๆ ที่มีแต่จิตหรือมีรูปด้วย ส่วนพระพรหมนั้นอยู่ต่างหาก ณ พรหมพฤนทา


*พระนารายณ์ หรือ พระวิษณุมหาเทพ  


---นั้นทรงประทับหลับสนิทบนขนดของพระยาอนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทร คือทะเลน้ำนม บ้างก็ว่าทรงไสยาสน์อยู่ ณ สะดือทะเล


*พระศิวะ    


---นั้น ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส บนโลกมนุษย์ของเรานี่เอง จึงจะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ


*เขาไกรลาส นั้นอยู่ ณ ที่ใดกันเล่า


---ภูเขานี้บางทีก็กล่าวว่าเป็นที่อยู่ของ ท้าวกุเวร และเป็นสวรรค์ของพระศิวะ มีลักษณะที่พรรณากันว่า สีขาวอย่างเงินยวง บางทีก็เรียกกันว่าผาเผือกตั้งอยู่บน ภูเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นยอดสูงสุดในตอนใต้ของ ทะเลสาบมานัส อันเป็นเทือกเขาตอนที่กั้นแดนทางเหนือของภารตวรรธ ซึ่งชาวฮินดูนับถือกันมาก ถือกันว่าเป็นที่สถิตแห่งเทพและประชาบดีหรือฤาษีสำคัญๆ  แต่ถ้าไปเปิดแผนที่ดู


---เราจะไม่พบที่ตั้งของเขาไกรลาสเลย ทั้งนี้เพราะว่าภูเขาหิมาลัยนั้นเป็นเทือกเขาที่ใหญ่ที่สุดในโลก และก็มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลกตลอดจนสูงติดอันดับมากมายหลายยอดตั้งแต่ศักกะมารตาหรือเอฟเวอเรสต์ที่สูง 29,028 ฟุต ยอดเขาไกรลาสสูงเป็นลำดับที่ 32 ของโลกคือสูง 22,020 ฟุต และสูงเป็นที่ 19 ในหมู่ยอดเขาในเทือกเขาหิมาลัย


*การที่ชื่อเขาไกรลาสหาไม่ค่อยจะพบก็เพราะว่ามันมีชื่อเป็นทางการว่า 


---กังติ-สู-ชาน (Kangti-ssu-shan) ในปัจจุบันอยู่ในเขต ทิเบต หรืออีกชื่อหนึ่งคือ กัวลา มาน ฮาตา (Gurla mand hata) ตั้งอยู่ในเขต พื้นที่ไกรลาส (Kailasrange) เหนือขึ้นไปจาก ยอดเขานันทาเทวี ราว 100 ไมล์ ซึ่งมีช่องเขาเป็นเส้นทางไปได้จากอินเดีย บางทีเขาลูกนี้เรียกกันว่า ภูเขาเงิน อยู่ทางตะวันตกของธิเบต เพราะภูเขาไกรลาสมิได้มีลักษณะขรุขระหากแต่มนราบยามเมื่อหิมะที่จับขาวโพลน ต้องแสงอาทิตย์ จึงดูประดุจแผ่นเงินหรือหน้าผาสีขาว ซึ่งพวกอารยันนับถือมาตั้งแต่สมัยโบราณว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ มีทะเลสาบ มานัสโรวา (Manasrowar) ซึ่งเป็นที่นับถือ กล่าวกันว่าพระศิวะประทับอยู่ที่นี่มาตั้งแต่ครั้งสร้างโลก ซึ่งชาวอินเดียนับล้านๆ


---คนที่นับถือได้พยายามหาทางที่จะไปให้ถึงเพื่อทำการสักการะบูชาให้ได้ ทั้ง ภูเขาไกรลาส และ ทะเลสาบมานัส ได้ถูกกล่าวถึงในมหากาพย์ รามายณะ และ มหาภารตะ ในรามายนะกล่าวถึงทะเลนี้ว่า "ทะเลสาบมานัสอันศักดิ์สิทธิ์นี้ แม้แต่ใครได้ถูกต้องสัมผัสหรือนำเอามาล้างร่างกายหรือได้อาบน้ำในทะเลสาบนี้ ผู้นั้นจะได้ไปสู่สรวงสวรรค์ และถ้าใครได้ดื่มน้ำในทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์นี้ ก็จะได้ขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ใกล้ที่สถิตของพระศิวะ"


---แต่ก็มีชาวฮินดูบางพวกเชื่อว่าภูเขาลูกนี้คือ ภูเขาพระสุเมรุ อันเป็นแกนของโลกและมีทะเลขวางอยู่ และเป็นที่ประทับของพระศิวะที่ผู้นับถือลัทธิพราหมณ์กล่าวว่า ณ กึ่งกลางทะเลสาบนี้ มี ต้นชมพู่ (Jumbu) ศักดิ์สิทธิ์ที่มนุษย์ไม่อาจมองเห็น ซึ่งมีสายน้ำไหลออกมาจากผลของต้นไม้นี้เกิดเป็นน้ำในทะเลสาบขึ้น เป็นสายน้ำอันมีคุณวิเศษทำให้อายุยืนยาว    สายน้ำในทะเลสาบนี้เองที่ไปเป็น ต้นน้ำคงคา อันศักดิ์สิทธิ์ที่ถ้ำน้ำแข็งใกล้ วิหารคงโคตรี (Gangotri)


---นอกจากนั้นน้ำในแม่น้ำทางตะวันออกคือ แม่น้ำนลินี หลาทินี ปาพนี และแม่น้ำทางด้านตะวันตกคือ แม่น้ำจักษุ แม่น้ำสีดา แม่น้ำสินธุ ก็ล้วนเป็นแม่น้ำที่มีต้นน้ำมาจากที่เดียวกัน ดังนั้นบริเวณที่เป็นทะเลสาบมานัสและภูเขาไกรลาส (ไกลาส)จึงยึดถือกันว่าเป็นบริเวณที่จะต้องไป นมัสการ หรือ ธุดงค์ อันเรียกว่า ไกรลาสยาตรา (Kailasyatra) ซึ่ง พราหมณ์สวามี นาวะนันทะ (Navananda) กล่าวไว้ว่า การธุดงค์ไปจนถึงภูเขาไกรลาสและ เดินประทักษิณ ให้ครบ 39 รอบเป็นการเคารพบูชาอย่างสูงสุด และการเดินทางไปจะต้องเดินทางในเดือนกันยายนหรือตุลาคมเท่านั้น


---แต่ภูเขาไกรลาสและทะเลสาบมานัสนั้นอยู่ไกลหนักหนา ผู้ที่จะทำการไกรลาสยาตราจะต้องเดินทางไปจากอินเดียผ่านเข้าไปทาง ช่องเขาลิปูเลค (Lipu lakh) ซึ่งมีทางเดียวคือต้องเดินทางไปจากอุตระประเทศของอินเดียเข้าไปสู่ธิเบต โดยการไกรลาสยาตรากว่าจะเดินด้วยเท้าไปถึงก็กินเวลาถึง 7 วันจึงจะถึงช่องเขาอันอยู่ในระดับสูง 17,600 ฟุต ช่องเขานี้จะผ่านเข้าไปยังที่อยู่ของ ชาวบูเตีย (Bhutia) ตลอดระยะทาง นักธุดงค์จะต้องท่องคำว่า "ไกรลาสยาตราไกฟาโฮ" ไปตลอดเพื่อให้จอมเทพทรงรับรู้ว่า ณ บัดนี้ขบวนธุดงค์ได้เดินทางมาทำการสักการะแล้ว  


---เมื่อผ่านช่องเขาลิปูเลคไปแล้ว ก็จะเริ่มมองเห็นยอดเขาไกรลาส โดยจะเห็นภูเขาที่มีเมฆหมอกปกคลุม นานๆสักครั้งจึงจะเห็นถนัด จากนั้นนักธุดงค์จะต้องเดินทางผ่าน ช่องเขากัวลา (Gurla pass) ช่องเขานี้บางทีก็เรียกว่า กาฬบรรพต เพราะเป็นภูเขาหินสีดำไม่มีหิมะจับทั่ว จึงมีความน่ากลัว มีเมฆหมอกที่ลอยผ่านช่องเขาพื้นที่สูงๆต่ำๆ ล้วนเต็มไปด้วยหิมะ ทางเดินของพวกไกรลาสยาตรานั้น ตั้งแต่เริ่มพ้นเขตอินเดียก็ต้องลุยไปตามหิมะโดยตลอด เสบียงจะต้องเป็นเฉพาะพืชแห้ง ไม่มีเนื้อสัตว์ บรรทุกหลังลาหรือม้า หรือไม่ก็สะพายเดินฝ่าหิมะอันขาวสล้างกันไป 

 

---เมื่อพ้นช่องเขากัวลาไปแล้ว ทางขวามือถือทะเลสาบ "รัคสาสทาล" (Raksastal) ซึ่งมีพื้นน้ำสีเทาดูเปล่าเปลี่ยวแห้งแล้ง ซึ่งตลอดทางมีภูเขาขวางอยู่ทำให้ต้องเดินเลียบภูเขานี้ไปเมื่อพ้นภูเขาตอน นี้จะเห็นความกระจ่าง เขียวสดใส สะอาด ดูกว้างใหญ่อยู่ตรงหน้านั่นคือทะเลสาบมานัสโรวาอันศักดิ์สิทธิ์คณะธุดงค์จะ เอามือทั้งสองประสานกันไว้เหนือหัว เปล่งเสียงว่า "พูช" (Poosh) อันแปลว่า "ไม่" หมายถึงจะทำร่างกายจิตใจให้ไม่มีอกุศลจิตใดๆ


---บางคนจะลงกราบอย่างปลื้มปิติเต็มกลั้น แต่บางคนจะวิ่งตรงไปยังชายทะเลสาบเพื่อที่จะได้สัมผัสกับน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อไปถึงชายฝั่งจะทำการเคารพโดยใช้หน้าผากจรดพื้นชายฝั่งตรงกันข้ามกับทะเลสาบไปทางใต้ราว 16 ไมล์ ยอดเขาไกรลาสขาวสล้างด้วยหิมะจะแลดูเด่นตระหง่านอยู่  บริเวณริมทะเลสาบจึงมีกองหินอันเปรียบเสมือนสถูป


---ที่ผู้เดินทางมาทำการบูชาสร้างขึ้นอยู่มากมาย พวกไกรลาสยาตราจะนำว่าวที่มีรูปวงล้อออกมาชักขึ้นไปบนท้องฟ้าเป็นการบูชาด้วยครับ  จากนั้นนักธุดงค์จะทำการอันควรบูชาต่างๆ ณ ชายทะเลสาบมานัสโรวา บ้างก็จะพักอยู่ชั่วขณะแล้วก็จะเดินทางต่อผ่านหุบเขาเข้าไปสู่ที่กว้างหรือทะเลทรายอันดำมืด อันมีชื่อว่า รัคสาสทาล (Raksastal) แปลว่าทะเลสาบปีศาจ บริเวณนี้อยู่บนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 14,950 ฟุต ซึ่งนับเป็นทั้งทะเลทรายและทะเลสาบที่สูงที่สุดในโลก ทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์นี้กว้างราว 2 ไมล์


---เมื่อนักธุดงค์ไกรลาสยาตราเดินทางมาถึงเชิงเขาไกรลาส ก็เตรียมพร้อมทำการทักษิณาวรรตรอบภูเขาไกรลาส ซึ่งจะต้องไปพักที่วัดทางพุทธศาสนาชื่อ วัดตารเชน (Tarchen) ซึ่งตั้งอยู่ ณ เชิงเขามีลักษณะเป็นวัดทิเบตเล็กๆ มีเต็นต์ตั้งไว้ให้คณะนักธุดงค์ได้พัก   จากวัดนี้ หัวหน้าไกรลาสยาตราจะกองสัมภาระไว้และเตรียมทำพิธีเดินเวียนรอบภูเขาไกรลาส ซึ่งถ้าเดินได้ครบ 108 รอบจะได้ไปอุบัติใน นิรวนา (Nirvana) บนสรวงสวรรค์ นักแสวงบุญบางคนสามารถเดินรอบเขาไกรลาสซึ่งมีเส้นรอบวงยาว 32 ไมล์ได้ครบหนึ่งรอบในวันเดียว 108 รอบก็เดิน 108 วัน แต่หลายๆคนกว่าจะเดินครบหนึ่งรอบก็ใช้เวลา 2-3 วัน   ในขณะที่เดินจงกรมไป


---รอบภูเขาไกรลาสนั้นก็มีข้อห้ามมากมาย เช่น ห้ามพูดปดหรือนอนลงบนพื้น แต่การทำความเคารพนั้นนอนกราบได้ บางคนเคร่งมากทำความเคารพแบบกราบไปทุกก้าวที่เดิน ดังนั้นการเดินรอบเขาไกรลาสจึงใช้เวลานานมาก  ถ้าจะว่ากันโดยรูปร่างของภูเขาไกรลาสนี้ นักธุดงค์กล่าวว่า นี่คือรูปทรงของ "วิศวะลึงค์" (Vishwalinga) หรือ ศิวลึงค์ของโลก ผู้ที่ได้เห็นเพียงครั้งเดียวจะประสบความสุข แสงสว่างของภูเขาก็คือแสงสว่างของพระเป็นเจ้า บางทีถ้าอากาศดี จากภูเขาไกรลาสมองไปทางทิศตะวันออกจะเห็นเนปาลและบางส่วนของอินเดีย ดังโศลกของ พระโควินทะ (Govinda)ว่า "จากที่นี้ เราจะมองเห็นจักรวาล ซึ่งรับพลังที่แผ่ท่วมท้นไปอย่างเงียบๆ จากทะเลสาบ ศักดิ์สิทธิ์และจากภูเขาไกรลาสอันอ้างว้าง"


---เรื่องราวของ ป่าหิมพานต์ ซึ่งกล่าวกันว่าอยู่ทางทิศเหนือของอินเดีย คือบริเวณภูเขาหิมาลัยนั้น ในไตรภูมิกล่าวว่ามีสระน้ำอยู่ถึง 7 สระ (หมายถึงทะเลสาบ) ซึ่งมี สระวินทุ มานสะ อโนดาต เป็นต้น ได้กล่าวไว้ว่ามานสะเป็นแหล่งน้ำอยู่ที่เขาไกรลาส เป็นที่กำเนิดของหงส์และหงส์จะไปยังสระนี้ทุกปี  มานสะ กับ มานัส คือแห่งเดียวกัน ถึงแม้ที่ราบอันพอจะเป็นทะเลสาบนั้นมีมากมายกว่า 7 แห่ง แต่ที่เขาไกรลาสนั้นก็มีเพียงทะเลสาบมานัสหรือมานสะเท่านั้นที่เป็นทะเลาสาบที่ชาวฮินดูนับถือ  ยังมีชื่อทะเลที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในเรื่องราวที่เกี่ยวกับเทพเจ้าของชาวฮินดู นั่นก็คือชื่อของทะเลสำคัญชื่อว่า "สีทันดร" ที่ปรากฎอยู่ในไตรภูมิ กล่าวว่าทะเลนี้ล้อมรอบเขาพระสุเมรุอยู่ โดยที่เขาสัตบริภัณฑ์ล้อมรอบอยู่อีกทีหนึ่ง


*เขาสัตบริภัณฑ์ คือหมู่เขาทั้ง 7


*ซึ่งกล่าวว่าเป็นภูเขาที่มีรูปเป็นวงกลมล้อมรอบห้วงสมุทรสีทันดรอยู่ถึงเจ็ดชั้น คือ ภูเขายุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัส เนมินธร วินตกะ และ อัสกัณ


---ชื่อของทะเลสีทันดรนี้มีกล่าวถึงอยู่ในวรรณคดี หลายเรื่อง กล่าวถึงลักษณะของน้ำในทะเลสีทันดรว่าใสสะอาด ซึ่งลักษณะของทะเลหรือที่ตั้งดูคล้ายกันกบแชมบาราหรือนิรวนาอันเป็นสวรรค์ ที่อยู่บนพื้นดิน ซึ่งกล่าวว่ามีภูเขาล้อมรอบอยู่ถึงสองชั้น มีทะเลสาบล้อมอาณาจักรทั้ง 8 อันมี รุทระจักริณ เป็นใหญ่ที่สุด ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ล้วนแล้วไปด้วยทอง ใครได้เข้าไปอยู่แล้วไม่ตาย  เรื่องราวของ อาณาจักรแชมบารา (Shambara) หรือบางแห่งเรียกว่า แชมบาฮารา อันมีกล่าวอยู่ในคัมภีร์สำคัญของธิเบตกล่าวว่าอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยนี้เอง


---เรื่องราวของอาณาจักรอันมีน้ำล้อมรอบนี้ เชื่อถือกันมากทั้งในยุโรปและสหรัฐฯ ซึ่งก็ดูตรงกับตำแหน่งของเขาพระสุเมรุ อันกล่าวว่าเป็นที่อยู่หรือที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเป็นภูเขาที่มองไม่เห็น ถ้าเป็นที่พำนักของพระศิวะดังกล่าวกันแล้ว สีทันดรก็คือทะเลที่อยู่โดยรอบของอาณาจักรพระรุทระหรือพระอิศวรศิวะมหาเทพ ซึ่งก็มีอยู่เพียงแห่งเดียวที่เห็นได้และมีอยู่จริง ท่ามกลางภูเขาอันมียอดปกคลุมด้วยหิมะล้อมไว้ คือทะเลสาบมานัสโรวา


---แต่กึ่งกลางของทะเลสาบก็หามีอาณาจักรใดไม่ หรืออาจจะซ่อนอยู่ในอีกมิติหนึ่งก็เป็นได้แต่ก็มีเรื่องเล่าว่า ผู้ที่เดินทางไปนมัสการไกรลาสยาตราได้มีอะไรที่ดลใจให้ปีนขึ้นไปบนเนินเขาสูงสักลูกหนึ่งใกล้ทะเลสาบมานัส ได้ไปเห็นว่ามีที่ๆหนึ่งเต็มไปด้วยผู้คนและกษัตริย์ เมื่อลงมาแล้วก็เล่าให้ผู้อื่นฟัง พอกลับขึ้นไปอีกครั้งก็ไม่ปรากฎภาพนั้น


---"จากการนับถือพระเป็นเจ้านี่แหละครับ จึงได้มีผู้เชื่อว่าถ้าได้ตั้งความเพียร บูชาพระผู้เป็นเจ้าจนพระองค์พอพระทัยแล้ว พระองค์ก็จะเสด็จลงมาประทานพร จึงเกิดมีผู้บำเพ็ญตบะตั้งความเพียร บูชาพระเป็นเจ้ากันขึ้นมากมาย "ฯ





........................................................................





ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 23 กันยายน 2558


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« September 2024»
SMTWTFS
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930     

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท02/06/2024
ผู้เข้าชม7,565,731
เปิดเพจ11,716,744
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view