/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

สร้างวาสนา

สร้างวาสนา

หลักธรรมของนักบริหาร  







---เป็นเวลา  2540  กว่าปีแล้ว  แต่ทุกหลักธรรมยังคงทันสมัยอยู่เสมอ  สามารถนำไปประยุกต์ ใช้เป็นเครื่องดำเนินชีวิตและแนวทางในการบริหารงานได้เป็นอย่างดี  ที่เป็นเช่นนี้  ก็เพราะหลักธรรมดังกล่าว  เป็นความจริง  ที่สามารถพิสูจน์ได้ที่เรียกว่า  “สัจธรรม” ปฏิบัติได้ เห็นผลได้อย่างแท้จริง อยู่ที่เราจะนำหลักธรรมข้อใดมาใช้ให้เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด


---สำหรับนักบริหาร ก็มีหลักธรรมสำหรับยึดถือและปฏิบัติอย่างมากมาย  ซึ่งได้นำเสนอไว้บ้าง  เรื่องที่สำคัญดังต่อไปนี้ 

*พรหมวิหาร  4


---เป็นหลักธรรมของผู้ใหญ่ (ผู้บังคับบัญชา)  ที่ควรถือปฏิบัติเป็นนิตย์ มี 4 ประการ คือ

 

---1.เมตตา          ความรักใคร่  ปราถนาจะให้ผู้อื่นมีความสุข  


---2.กรุณา          ความสงสาร  คิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ 


---3.มุทิตา           ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข


---4.อุเบกขา        วางตนเป็นกลาง  ไม่ดีใจ  ไม่เสียใจ  เมื่อผู้อื่นถึง  วิบัติ  มีทุกข์

 

*อคติ 4   


---อคติ    การกระทำอันทำให้เสียความเที่ยงธรรม  มี 4 ประการ คือ 


---1.ฉันทาคติ      ลำเอียงเพราะรักใคร่


---2.โทสาคติ       ลำเอียงเพราะโกรธ


---3.โมหาคติ       ลำเอียงเพราะเขลา


---4.ภยาคติ        ลำเอียงเพราะกลัว  

 

---อคติ  4  นี้    ผู้บริหาร/ผู้ใหญ่  ไม่ควรประพฤติเพราะเป็นทางแห่งความเสื่อม

 

*สังคหวัตถุ 4


---เป็นหลักธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของกันและกันเห็นเหตุให้ตนเอง  และหมู่คณะ  ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง

 

---1.  ทาน      ให้ปันสิ่งของแก่คนที่ควรให้


---2.  ปิยวาจา      เจรจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน


---3.  อัตถจริยา      ประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์


---4.  สมานนัตตตา     วางตนให้เหมาะสมกับฐานะของตน

 

*อิทธิบาท 4 


---เป็นหลักธรรมถือให้เกิดความสำเร็จ 


---1.  ฉันทะ      ความพึงพอใจในงาน


---2.  วิริยะ       ความขยันหมั่นเพียร 


---3.  จิตตะ      ความมีใจฝักใฝ่เอาใจใส่ในงาน 


---4.  วิมังสา    ไตร่ตรองหาเหตุผล 

 

 *ทศพิธราชธรรม  10  ประการ   

 

---เป็นหลักธรรม  สำหรับพระมหากษัตริย์จะพึงถือปฏิบัติมาแต่โบราณกาล  แต่นักบริหาร  เช่น  สรรพสามิต จังหวัด,  สรรพสามิตอำเภอ  ก็น่าจะนำไปอนุโลมถือปฏิบัติได้


---หลักทศพิธราชธรรม  10  ประการ  มีอยู่ดังนี้


---1.ทาน    คือ   การให้, ปัน  ซึ่งอาจเป็นการให้เพื่อบูชาคุณ หรือให้เพื่อเป็นการอนุเคราะห์


---2.ศีล     ได้แก่    การสำรวมกาย,  วาจา,  ใจ ให้เรียบร้อยสะอาดดีงาม


---3.บริจาค  ได้แก่  การให้ทรัพย์สิ่งของเพื่อเป็นการช่วยเหลือความทุกข์ยากเดือดร้อนของผู้อื่น หรือเป็นการเสียสละเพื่อหวังให้ผู้รับได้รับความสุข 


---4.อาชวะ   ได้แก่   ความมีอัธยาศัยซื่อตรง มั่นในความสุจริตธรรม


---5.มัทวะ   ได้แก่    ความมีอัธยาศัยดีงาม,  ละมุนละไม,   อ่อนโยน,  สุภาพ


---6.ตบะ    ได้แก่    การบำเพ็ญเพียรเพื่อขจัดหรือทำลายอกุศลกรรมให้สิ้นสูญ


---7.อโกรธะ  ได้แก่   ความสามารถระงับหรือขจัดเสียได้ซึ่งความโกรธ


---8.อวิหิงสา  ได้แก่   การไม่เบียดเบียนคนอื่น


---9.ขันติ   ได้แก่   ความอดกลั้นไม่ปล่อยกาย,  วาจา,  ใจ  ตามอารมณ์หรือกิเลสที่เกิดมีขึ้นนั้น


---10.อวิโรธนะ   ได้แก่   การธำรงค์รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม


               

*บารมี 6


---เป็นหลักธรรมอันสำคัญ  ที่จะนิยมมาซึ่งความรักใคร่นับถือ  นับว่าเป็นหลักธรรมที่เหมาะมากสำหรับนักบริหารจะพึงยึดถือ


---ปฎิบัติ  มีอยู่  6  ประการ  


---1.ทาน      การให้เป็นสิ่งที่ควรให้


---2.ศีล        การประพฤติในทางที่ชอบ


---3.ขันติ        ความอดทนอดกลั้น 


---4.วิริยะ       ความขยันหมั่นเพียร 


---5.ฌาน       การเพ่งพิจารณาให้เห็นของจริง 


---6.ปรัชญา    ความมีปัญญารอบรู้ 

                 

*ขันติโสรัจจะ 


---เป็นหลักธรรมอันทำให้บุคคลเป็นผู้งาม  (ธรรมทำให้งาม) 


---1.ขันติ  คือ  ความอดทน  มีลักษณะ 3  ประการ  


---1.1  อดใจทนได้ต่อกำลังแห่งความโกรธแค้น ไม่แสดงอาการ กาย  วาจา  ที่ไม่น่ารักออกมา ให้เป็นที่ปรากฏแก่ผู้อื่น


---1.2   อดใจ ทนได้ ต่อความลำบากตรากตรำ หรือความเหน็ดเหนื่อย 


---2.โสรัจจะ  ความสงบเสงี่ยม  ทำจิตใจให้แช่มชื่นไม่ขุนหมอง

                

*ธรรมโลกบาล   


---เป็นหลักธรรมที่ช่วยคุ้มครองโลก หรือมวลมนุษย์ให้อยู่ความร่มเย็นเป็นสุข  มี  2  ประการคือ 


---1.หิริ    ความละอายในตนเอง 


---2.โอตตัปปะ  ความเกรงกลัวต่อทุกข์  และความเสื่อมแล้ว ไม่กระทำความชั่ว

         

*อธิฐานธรรม 4 


---เป็นหลักธรรมที่ควรตั้งไว้ในจิตใจเป็นนิตย์  เพื่อเป็นเครื่องนิยมนำจิตใจให้เกิดความรอบรู้ความจริง รู้จักเสียสละ  และบังเกิดความสงบ  มี  4  ประการ


---1. ปัญญา          ความรู้ในสิ่งที่ควรรู้  รู้ในวิชา


---2.  สัจจะ          ความจริง คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริงไม่ทำอะไรจับจด


---3. จาคะ          สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแห่งความจริงใจ คือ สละความเกียจคร้าน  หรือความหวาดกลัวต่อความ  ยุ่งยาก  ลำบาก


---4. อุปสมะ          สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อความสงบ  คือ  ยับยั้งใจมิให้ปั่นป่วนต่อความพอใจ รักใคร่และ ความขัดเคือง  เป็นต้น

             

 *คหบดีธรรม 4  


---เป็นหลักธรรมของผู้ครองเรือนพึงยึดถือปฏิบัติ  มี 4 ประการ คือ


---1.ความหมั่น


---2.ความโอบอ้อมอารี


---3.ความไม่ตื่นเต้น มัวเมาในสมบัติ


---4.ความไม่เศร้าโศกเสียใจเมื่อเกิดภัยวิบัติ

          

*ราชสังคหวัตถุ 4 


---เป็นหลักธรรมอันเป็นเครื่องช่วยในการวางนโยบายบริหารบ้านเมืองให้ดำเนินไปด้วยดี  มี 4  ประการ คือ


---1.ลัสเมธัง    ความเป็นผู้ฉลาดปรีชา ในการพิจารณาถึงผลิตผล อันเกิดขึ้นในแผ่นดิน  แล้วพิจารณาผ่อนผัน จัดเก็บเอาแต่บางส่วนแห่งสิ่งนั้น


---2.ปุริสเมธัง     ความเป็นผู้ฉลาดในการดูคน สามารถเลือกแต่งตั้งบุคคล ให้ดำรงตำแหน่งในความถูกต้องและเหมาะสม


---3.สัมมาปาลัง    การบริหารงานให้ต้องใจประชาชน


---4.วาจาเปยยัง    ความเป็นบุคคล มีวาจาไพเราะ รู้จักผ่อนสั้น ผ่อนยาว ตามเหตุการณ์ ตามฐานะและตามความเป็นธรรม

              

 *สติสัมปชัญญะ  


---เป็นหลักธรรมอันอำนวยประโยชน์ แก่ผู้ประพฤติเป็นอันมาก


---1.สติ   คือ  ความระลึกได้ก่อนทำ  ก่อนบูชา  ก่อนคัด  คนมีสติจะไม่เลินเล่อ  เผลอตน


---2.สัมปชัญญะ  คือ  ความรู้ตัวในเวลากำลังทำ  กำลังพูด  กำลังคิด

               

*อกุศลมูล 3   


---อกุศลมูล  คือ  รากเหง้าของความชั่ว  มี 3 ประการ คือ


---1.โลภะ        ความอยากได้


---2.โทสะ       ความคิดประทุษร้ายเขา


---3.โมหะ        ความหลงไม่รู้จริง

  

 *นิวรณ์ 5  


---นิวรณ์  แปลว่า  ธรรมอันกลั้นจิตใจ ไม่ให้บรรลุความดี  มี  5  ประการ


---1.กามฉันท์          พอใจรักใคร่ในอารมณ์  มีพอใจในรูป เป็นต้น


---2.พยาบาท          ปองร้ายผู้อื่น


---3.ถีนมิทธะ          ความที่จิตใจหดหู่และเคลิบเคลิ้ม


---4.อุธัจจะกุกกุจจะ          ความฟุ้งซ่านและรำคาญ


---5.วิจิกิจฉา          ความลังเลไม่ตกลงใจได้  


---ผู้กำจัดหรือบรรเทานิวรณ์ได้  ย่อมได้นิสงส์  5  ประการคือ  

   

 

---1.ไม่ข้องติด อยู่ในกายตนหรือผู้อื่นจนเกินไป


---2.มีจิตประกอบด้วยเมตตา 


---3.มีจิตอาจหาญในการประพฤติความดี

 

---4.มีความพินิจและความอดทน 


---5.ตัดสินใจในทางดีได้แน่นอนและถูกต้อง 

               

*เวสารัชชกรณะ 5   


---เวสารัชชกรณะ  แปลว่า  ธรรมที่ยังความกล้าหาญให้เกิดขึ้นมี  5  ประการ  คือ


---1.ศรัทธา          เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ

 

---2.ศีล                ประพฤติกายวาจาเรียบร้อย


---3.พาหุสัจจะ          ความเป็นผู้ศึกษามาก


---4.วิริยารัมภะ          ตั้งใจทำความพากเพียร


---5.ปัญญา          รอบรู้สิ่งที่ควรรู้

              

*อริยทรัพย์ 7


---1.ศรัทธา          เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ


---2.ศีล          ประพฤติกาย วาจา เรียบร้อย


---3.หิริ          ความละอายต่อบาป ทุจริต


---4.โอตัปปะ          ความสะดุ้งกลัว ต่อบาป ทุจริต


---5.พาหุสัจจะ          ความเป็นคนได้ยิน ได้ฟังมามาก


---6.จาคะ          การให้ปันสิ่งของ แก่คนที่ควรให้


---7.ปัญญา          ความรอบรู้ทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นไท

              

*สัปปุริสธรรม 7  


---เป็นหลักธรรมอันเป็นของคนดี  (ผู้ประพฤติชอบ)  มี  7  ประการ


---1.ธัมมัญญุตา          ความเป็นผู้รู้ว่าเป็นเหตุ


---2.อัตถัญญุตา          ความเป็นผู้รู้จักผล


---3.อัตตัญญุตา          ความเป็นผู้รู้จักตน


---4.มัตตัญญุตา          ความเป็นผู้รู้จักประมาณ


---5.กาลัญญุตา          ความเป็นผู้รู้จัก กาลเวลาอันเหมาะสม


---6.ปุริสัญญุตา          ความเป็นผู้รู้จักสังคม


---7.บุคคลโรปรัชญญุตา          ความเป็นผู้รู้จักคบคน

    

*คุณธรรมของผู้บริหาร 6 


---ผู้บริหาร  นอกจากจะมีคุณวุฒิในทางวิชาการต่าง ๆ แล้ว ยังจำเป็นต้องมีคุณธรรมอีก 6 ประการ


---1.ขมา          มีความอดทนเก่ง


---2.ชาตริยะ          ระวังระไว


---3.อุฎฐานะ          หมั่นขยัน


---4.สังวิภาคะ          เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่


---5.ทยา          เอ็นดู  กรุณา


---6.อิกขนา          หมั่นเอาใจใส่ ตรวจตราหรือติดตาม

                

*ยุติธรรม


---นักบริหารหรือผู้นำ มักจะประสบปัญหาหรือร้องเรียน ขอความเป็นธรรมอยู่เป็นประจำ หลักตัดสินความเพื่อให้เกิดความ “ยุติธรรม”  มี  5  ประการ คือ


---1.สัจจวา          แนะนำด้วยความจริงใจ


---2.บัณฑิตะ          ฉลาดและแนะนำความจริงและความเสื่อม


---3.อสาหะเสนะ          ตัดสินด้วยปัญญาไม่ตัดสินด้วยอารมณ์ผลุนผลัน


---4.เมธาวี   นึกถึงธรรม  (ยุติธรรม)          เป็นใหญ่ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง


---5.ธัมมัฎฐะ          ไม่ริษยาอาฆาต ไม่ต่อเวร

                 

*ธรรมเครื่องให้ก้าวหน้า 7


---นักบริหารในตำแหน่งต่าง ๆ ย่อมหวังความเจริญก้าวหน้า ได้รับการเลื่อนชั้น เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น พระพุทธองค์ทรงตรัส ธรรมเครื่องเจริญยศ (ความก้าวหน้า)  ไว้ 7 ประการ คือ


---1.อุฎฐานะ          หมั่นขยัน


---2.สติ          มีความเฉลียว


---3.สุจิกัมมะ          การงานสะอาด


---4.สัญญตะ          ระวังดี


---5.นิสัมมการี          ใคร่ครวญพิจารณาแล้วจึงทำ


---6.ธัมมชีวี          เลี้ยงชีพโดยธรรม


---7.อัปปมัตตะ          ไม่ประมาท

               

*ไตรสิกขา  


---เพื่อเป็นการสนับสนุน ให้เกิดความตั้งใจดีและมีมือสะอาด  นักบริหารต้องประกอบตน ไว้ในไตรสิกขา ข้อที่ต้องสำเหนียก  3  ประการ คือ


---1.ศีล


---2.สมาธิ


---3.ปัญญา


---ทั้งนี้เพราะ     ศีล       เป็นเครื่องสนับสนุนให้กาย (มือ) สะอาด


---สมาธิ          เป็นเครื่องสนับสนุนให้ใจสงบ


---ปัญญา          เป็นเครื่องทำให้ใจสว่าง  รู้ถูก  รู้ผิด

             

*พระพุทธโอวาท 3


---นักบริหารที่ทำงานได้ผลดี  เนื่องจากได้  ”ตั้งใจดี”  และ  “มือสะอาด”  พระพุทธองค์ ได้วางแนวไว้ 3 ประการ ดังนี้


---1.เว้นจากทุจริต  การประพฤติชั่ว  ทางกาย  วาจา ใจ


---2.ประกอบสุจริต  ประพฤติชอบ  ทางกาย  วาจา  ใจ


---3.ทำใจของตนให้บริสุทธิ์สะอาด  ไม่โลภ  ไม่โกรธ  ไม่หลง 

     

---การนำหลักธรรมที่ประเสริฐมาปฎิบัติ  ย่อมจักนำความเจริญ  ตลอดจนความสุขกาย  สบายใจ  ให้บังเกิดแก่ผู้ประพฤติทั้งสิ้น  สมดังพุทธสุภาษิตที่ว่า




“ ธัมโม  หเว รักขติ  ธัมมจาริง” 


ธรรมะย่อมคุ้มครองรักษาผู้ประพฤติธรรมฯ


.........................................................................






ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

 รวบรวมโดย...แสงธรรม

(แก้ไขแล้ว ป.)

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 26 สิงหาคม 2558


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« September 2024»
SMTWTFS
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930     

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท02/06/2024
ผู้เข้าชม7,565,671
เปิดเพจ11,716,675
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view